แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สะเอะ
1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม
แก้ไขปัญหาโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ เพื่อผลลัพธ์มหัศจรรย์ 1000 วันแรกที่ดีของทารก ปี 2566ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สะเอะ
รพ.สต.บ้านดุซงกูจิ
ฟิตรียะห์แดเบาะ
รพ.สต.บ้านดุซงกูจิ
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
1,000 วันแรกของชีวิต คือ ช่วงเวลาที่นับตั้งแต่การปฏิสนธิและตั้งครรภ์จนกระทั่งคลอด (270 วัน) รวมกับช่วงเวลาตั้งแต่แรกคลอดจนถึงอายุ 2 ปี (730วัน) ช่วง 1,000 วันแรกเป็นรากฐานที่สำคัญของชีวิต เพราะเป็นช่วงเวลาที่มีการพัฒนาทางร่างกาย สมอง อารมณ์และสังคม เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่มีการสร้างเซลล์สมอง เพิ่มเซลล์สมอง และควบคู่ไปกับการสร้างเส้นใยประสาท ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ การได้รับการดูแลที่ดี ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ไปจนถึง อายุ 2 ปี จะทำให้ทารกเจริญเติบโต เป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพสูงในที่สุด การที่จะเริ่มต้นดูแล มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต จำเป็นที่จะต้องเริ่มต้น ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ รวมทั้งระหว่างตั้งครรภ์ ในการให้ความรู้มารดาตั้งครรภ์และครอบครัวในการดูแลสุขภาพ เพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงระหว่างตั้งครรภ์ และป้องกันการเกิด อัตรามารดาและทารกตายแรกคลอด
หนึ่งในกระบวนการสำเร็จของ 1,000 วันแรก แห่งชีวิต คือการที่ มารดาตั้งครรภ์ จะต้องไม่มีภาวะโลหิตจาง ขณะตั้งครรภ์ ภาวะโลหิตจางยังเป็นปัญหาสำคัญในประเทศที่กำลังพัฒนา สารอาหารที่มีความสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง และพบได้บ่อยคือ การขาดธาตุเหล็ก เพราะธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการสังเคราะห์ฮีโมโกบินซึ่งทำหน้าที่จับกับออกซิเจนและส่งให้ทุกเซลล์ในร่างกาย หญิงมีครรภ์ถ้าขาดธาตุเหล็กทำให้กำเนิดทารกน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์และมีผลกระทบถึงพัฒนาการเด็กและสติปัญญาในการเรียนรู้ต่ำ โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญปัญหาหนึ่งของประเทศ กระทรวงสาธารณสุขมีความพยายามที่จะดำเนินการควบคุมป้องกันมาตลอดโดยจัดตั้งระบบเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ เด็กวัยก่อนเรียนและเด็กวัยเรียน จากสถิติพบว่า อัตราการเกิดภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดูซงกูจิ ตำบลสะเอะ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี จากร้อยละ 5.22( 7 คน ) ในปี ๒๕64 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 19.83 ( 24 คน )ในปี ๒๕65 ขึ้นสูงเป็นอันดับ ๑ ของอำเภอกรงปินังโดยซีด2 ก็มีอัตราที่เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน คือร้อยละ 6.98 (3 คน) ในปี 2564เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 29.27 (12คน) ในปี 2565 ซึ่งเป้าหมายกรมอนามัยกำหนดให้ไม่เกินร้อยละ ๑4 จากสถิติที่สูงขึ้นดังกล่าว ส่งผลให้หญิงตั้งครรภ์มีอัตราเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอดได้ง่าย คลอด Low Birth Weigthสติปัญญา การเรียนรู้ของเด็กก็อาจจะเกิดการเรียนรู้ล่าช้า ตามมาด้วย ส่งผลให้ 1,000 วันแรกของทารก มีผลกระทบได้
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดุซงกูจิ ตำบลสะเอะ ได้เล็งเห็นความสำคัญของภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ และการส่งผลกระทบต่อ 1,000 วันแรกของทารก เป็นอย่างมาก จึงได้มีแนวคิดที่จะต้องแก้ไขปัญหาโลหิตจางที่กำลังเกิดขึ้น ในพื้นที่ ให้ได้รับการแก้ไข อย่างเร็วที่สุด
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
๑.เพื่อลดภาวะซีดใกล้คลอดไม่เกินร้อยละ 14
๒.เพื่อพัฒนาความรู้และแนวทางการป้องกันภาวะโลหิตจางของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ
๓.ลดภาวะแทรกซ้อนของหญิงตั้งครรภ์และทารกทั้งขณะตั้งครรภ์และขณะคลอด
๔.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์หรือหญิงวัยเจริญพันธ์มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับภาวะซีดและ
อันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับตนเองและบุตรในครรภ์ได้
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น : 01/01/2023
กำหนดเสร็จ : 31/08/2023
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. ภาวะซีดก่อนคลอดน้อยกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 14
2. เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดครบถ้วนทุกครั้ง คิดเป็นร้อยละ ๙๐
3. หญิงตั้งครรภ์ทุกคนได้รับการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางในครั้งแรกที่มาฝากครรภ์
4. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจเลือดดูภาวะโลหิตจางครั้งที่ ๒ คิดเป็นร้อยละ๙๐
5.หญิงตั้งครรภ์และหญิงวัยเจริญพันธ์มีความรู้ ความเข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับภาวะซีดและอันตรายที่
อาจเกิดขึ้นกับตนเองและบุตรในครรภ์ได้ โดยสามารถทำข้อสอบหลังการอบรมให้ถูกต้องได้ไม่ร้อยกว่าร้อยละ๙๐