กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดอนรัก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสุขภาพดีด้วยการงดเหล้าเข้าพรรษา ประจำปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดอนรัก

กลุ่มประชาชน หมู่ที่ 4 บ้านคลองขุด

1.นายสวัสดิรักษ์ โรจนกุล

2.นางวันเพ็ญพรรณศรี

3.นางญาณิศานพคุณ

4.นางนงลักษณ์ โรจนกุล

5.นางสาวรัญชิดายอดสร้อย

หมู่ที่ 4 บ้านคลองขุด ตำบลดอนรัก อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุรา

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก และองค์การอาหารและการเกษตร พบว่า คนไทยบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เท่ากับ 13.59 ลิตรต่อคนต่อปี จัดเป็นอันดับ 5 ของโลกและมีการใช้เงินประมาณ 2 แสนล้านบาท เพื่อซื้อแอลกอฮอล์มาดื่มกิน ซึ่งพฤติกรรมการดื่มดังกล่าวส่งผลกระทบก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ทั้งในด้านสุขภาพ อุบัติเหตุจราจร คดีอาญา และด้านเศรษฐกิจครอบครัวและชุมชน นับเป็นความจำเป็นอย่างเร่งด่วนสำหรับของสังคมไทยในปัจจุบัน ในการผลักดันโครงการและกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการรณรงค์ ลด ละ เลิก ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะปัญหาที่เกิดจากเครื่องดื่มประเภทนี้มีความรุนแรงและส่งผลกระทบในทุกมิติของสังคม สร้างความทุกข์รุกรานความอยู่ดีมีสุขของผู้คนตลอดมา กลุ่มประชาชนหมู่ที่ 4 บ้านคลองขุด ตำบลดอนรัก เล็งเห็นถึงความสำคัญของโทษและผลกระทบต่อชุมชนและสังคมจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จึงได้ร่วมกันจัดโครงการสุขภาพดี ด้วยการงดเหล้า เข้าพรรษา ประจำปีงบประมาณ 2566

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเป็นการลด ละ เลิกอบายมุข

ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการสามารถลด ละ เลิกอบายมุข

90.00
2 เพื่อเป็นการดำรงไว้ซึ่งสถาบันครอบครัวที่อบอุ่น และชุมชนเข้มแข็ง

ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการสามารถดำรงไว้ซึ่งสถาบันครอบครัวที่อบอุ่น และชุมชนเข้มแข็ง

90.00
3 เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในการจัดงานต่างๆ

ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการสามารถลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในการจัดงาน เช่น งานอุปสมบท งานบุญกฐิน งานศพ

90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 70
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโทษ พิษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และทักษะการปฏิเสธ ภายใต้ชื่อโครงการสุขภาพดี ด้วยการงดเหล้าเข้าพรรษา ประจำปีงบประมาณ 2566

ชื่อกิจกรรม
ฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโทษ พิษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และทักษะการปฏิเสธ ภายใต้ชื่อโครงการสุขภาพดี ด้วยการงดเหล้าเข้าพรรษา ประจำปีงบประมาณ 2566
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมเพื่อหาแนวทางร่วมกันในการ ลด ละ เลิก เหล้า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และอบายมุข
  2. ประชาสัมพันธ์เพื่อให้ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ
  3. จัดทำโครงการและเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  4. รณรงค์ และดำเนินกิจกรรมชุมชนต้นแบบ ด้านปลอดเหล้า ปลอดเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ และปลอดอบายมุข ในงานประเพณีที่สำคัญของชุมชน ได้แก่ งานศพ งานอุปสมบท และงานบุญกฐิน
  5. สรุปผลงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรม และ ขยายผลการดำเนินงาน

โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้

  • จัดทำป้ายไวนิลสำหรับโครงการ ฯ ขนาด 1 x 3 เมตร เป็นเงิน 750.-บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม ฯ จำนวน 70 คน X 25.-บาท X 2 มื้อ เป็นเงิน 3,500.-บาท

  • ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้เข้าร่วมอบรม ฯ จำนวน 70 คน X 50.-บาท เป็นเงิน 3,500.-บาท

  • ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 2 คน X 6 ชั่วโมง X 600.-บาท เป็นเงิน 7,200.-บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 14,950.-บาท

หมายเหตุ : ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14950.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,950.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ลดค่าใช้จ่ายในการจัดงานที่ไม่จำเป็นลงได้
2. ลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุทางการจราจร
3. ลดเหตุทะเลาะวิวาท
4. เป็นการกระต้นให้ชุมชนได้ตระหนักถึงโทษการดื่มเหล้าหรือของมึนเมาอย่างอื่น


>