กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบูรณาการงานสุขภาพจิตและจิตเวช

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต

หมู่ที่ 1-13 ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานความปลอดภัยทางถนน(cancle) , แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเยาวชน อายุ 18-25 ปี ที่มีภาวะซึมเศร้า

 

1.33
2 ร้อยละของผู้ใหญ่ อายุ 26-60 ปี ที่มีภาวะซึมเศร้า

 

12.82

ปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยทางจิตมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมากขึ้นกรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุขรายงานว่าในปี 2565 มีจำนวนผู้ป่วยทางจิตที่มารับบริการโรงพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิตทั่วประเทศ จำนวน 1,152,033 คน สภาพเช่นนี้เนื่องจากปัญหาด้านสังคม เศรษฐกิจ ของประชาชน มีความยุ่งยาก และซับซ้อนมากขึ้น ทำให้มีผลต่อการปรับตัวของประชาชน และที่สำคัญยังส่งผลให้ผู้ป่วยทางจิตซึ่งมีปัญหาการปรับตัวอยู่แล้วขาดปัจจัยการดูแลช่วยเหลือให้สามารถรักษาภาวะสุขภาพ และอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีคุณภาพแม้ในกระบวนการบำบัดรักษาผู้ป่วยทางจิตในโรงพยาบาลมีเป้าหมายให้ผู้ป่วยสามารถ ดำรงชีวิตร่วมกับครอบครัวและชุมชนได้มากขึ้น โดยได้เพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดรักษาทั้งด้านการให้ยาและการบำบัดด้านจิตสังคม แต่ผลสำเร็จจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยทางจิต หากได้รับการดูแลต่อเนื่องและได้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเช่นคนทั่วไปจากสมาชิกในชุมชน ภายหลังการบำบัดรักษาหรือผู้ป่วยกลับสู่ชุมชนแล้วยังมีอุปสรรคเนื่องจากภายหลังการจำหน่าย จากโรงพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ยังขาดโอกาสจากชุมชนในการพัฒนาศักยภาพของตนเองให้สามารถมีชีวิตในสังคมเช่นคนทั่วไป ซึ่งอุปสรรคส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากตัวผู้ป่วยเอง เช่น การขาดความมั่นใจในการดำเนินชีวิตร่วมกับครอบครัวและผู้อื่น นอกจากนี้สังคมแวดล้อมยังขาดความรู้ความเข้าใจหรือไม่เห็นความสำคัญของผู้ที่เจ็บป่วยทางจิตที่นับวันจะมีจำนวนและมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น บุคคลในชุมชนรู้สึกกลัว รังเกียจ ไม่เชื่อมั่นในความสามารถของผู้ป่วย มีทัศนคติในทางลบต่อบุคคลที่เจ็บป่วย สภาพเหล่านี้ยิ่งทำให้ผู้ป่วยทางจิตไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมและขาดโอกาสในการพัฒนาตนเองในการอยู่ร่วมในสังคมมากยิ่งขึ้นส่งผลให้ผู้ป่วยทางจิตเหล่านี้กลายเป็นภาระหรือเป็นปัญหาของครอบครัวและสังคมในที่สุด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยจิตเวชโดยผู้ดูแลและภาคีเครือข่ายในชุมชน เพื่อให้ผู้ดูแลมีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้านได้เหมาะสมและภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนของตนเอง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ดูแลมีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้านได้เหมาะสม

ผู้ดูแลมีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้านได้เหมาะสม

85.00
2 2.ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนของตนเอง

ผู้ป่วยจิตเวชได้รับการเยี่ยมบ้าน

100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 30
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชและภาคีเครือข่ายในเรื่องการดูแลผู้ป่วยจิตเวชทั้งระบบ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชและภาคีเครือข่ายในเรื่องการดูแลผู้ป่วยจิตเวชทั้งระบบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม วิทยากร และผู้จัด  จำนวน 60 คน x 1 มื้อ x 25  บาท เป็นเงิน 1,500 บาท 2. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ  300 บาท    เป็นเงิน 900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ผลผลิต  -ผู้ป่วยจิตเวช/ผู้ดูแล และ อสม. อบรมความรู้ฯครบตามเป้าหมาย จำนวน 56  คน ผลลัพธ์   -ผู้ดูแลมีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช ที่บ้านได้เหมาะสม ประเมินจากแบบทดสอบการอบรม ก่อน-หลัง  มีความรู้เพิ่มขึ้น    ร้อยละ 85

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2400.00

กิจกรรมที่ 2 ออกติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชร่วมกับ อสม.และภาคีเครือข่ายในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ออกติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชร่วมกับ อสม.และภาคีเครือข่ายในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ออกติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชร่วมกับ  อสม.และภาคีเครือข่ายในชุมชน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผลผลิต ผู้ป่วยจิตเวชได้รับการเยี่ยมบ้าน     ร้อยละ 100
  • ผลลัพธ์ 1. ผู้ป่วยรับประทานยาต่อเนื่อง
                2. ลดพฤติกรรมที่เสี่ยง ต่อการกำเริบ             3. สนับสนุนให้กำลังใจผู้ป่วยและญาติ
                4. ประสานการส่งต่อและดูแลอย่างต่อเนื่อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 2,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>