กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาท่ามใต้

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับพฤติกรรม เปลี่ยนชีวิต พิชิตโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ตามวิถีชุมชน หมู่ที่ 1 บ้านนาท่าม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาท่ามใต้

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 บ้านนาท่าม

1. นางสาวณัฐธิดา ชัยเพชร
2. นางบำรุง เฉ่งไล่
3. นางสาวสุนิดา ไกรเทพ
4. นางจราพร จริงจิตร
5. นางศิริวรรณ ทองมี

หมู่ที่ 1 ตำบลนาท่ามใต้ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่นโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ได้ไห้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกคนภาคส่วนในสังคมในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านการเสริมสร้างสุขภาวะให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจ สามารถดูแลตนเองได้โดยมุ่งเน้นภูมิปัญญาชุมชน ตลอดจนการมีส่วนร่วมของพื้นที่ในระดับท้องถิ่น กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จของการสร้างสุขภาวะให้คนไทยแข็งแรงส่วนหนึ่งนั้น โดยได้กำหนดตัวชี้วัดของโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โดยกำหนดให้มีกิจกรรมการคัดกรอง ค้นหาผู้ป่วยในชุมชน และให้มีการลดละกิจกรรมเสี่ยงอันได้แก่ละเลิกการสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ลดอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็มและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานผักผลไม้เพิ่มขึ้น มีการออกกำลังกายเป็นประจำ ลดภาวะน้ำหนักเกิน การดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนนั้นจำเป็นจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง และเหมาะสมของพื้นที่
จากการที่ อสม. หมู่ที่ 1 บ้านนาท่ามได้คัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ในปี 2566เป้าหมายประชากร 35 ปีขึ้นไป จำนวน 291 คน คัดกรองได้ 250 คน คิดเป็นร้อยละ 85.91 พบกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวาน จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 4.46 และพบกลุ่มเสี่ยงสูงต่อความดันโลหิตสูง จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 27.47 มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ซึ่งหมู่ที่ 1 มีผู้ป่วยเบาหวานอยู่แล้ว จำนวน 35 คน และผู้ป่วยความดันในพื้นที่จำนวน 78 คน กลุ่มนี้เป็นอีกกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังดูแล ไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อน
ชมรม อสม. หมู่ที่ 1 บ้านนาท่ามมุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุมการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง จึงได้จัดทำโครงการปรับพฤติกรรม เปลี่ยนชีวิต พิชิตโรคเบาหวาน/ความโลหิตสูง ตามวิถีชุมชน ปีงบประมาณ 2566 ขึ้น โดยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างความร่วมมือและพัฒนากิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดอัตราเพิ่มของผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและคุณภาพสังคมในระยะยาว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  • ร้อยละ 80 ของกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง/เบาหวาน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
80.00 80.00
2 2. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วยที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด/ระดับความดันโลหิต เปลี่ยนแปลงอยู่ในเกณฑ์ปกติไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
  • ร้อยละ 80 กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วยที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด/ระดับความดันโลหิต เปลี่ยนแปลงอยู่ในเกณฑ์ปกติไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
80.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 85
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมค้นหากลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมค้นหากลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 กิจกรรมพัฒนาและฟื้นฟูศักยภาพ  อสม.ในเรื่อง การเจาะน้ำตาลในเลือดและการวัดความดันโลหิต     1.2 แยกกลุ่มเป้าหมายตามระดับความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือด - ค่าจัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 3 เครื่องๆ ละ 2,800 บาท เป็นเงิน 8,400 บาท - ค่าถ่านไฟฉายอัลคาไลน์ ขนาด 2A สำหรับเครื่องวัดความดัน จำนวน 20 ก้อนๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 600 บาท - ค่าถ่านกระดุมแบบลิเธียม สำหรับเครื่องเจาะน้ำตาล จำนวน 5  ก้อนๆ ละ 50 บาท  เป็นเงิน 250 บาท - ค่าจัดซื้อเครื่องเจาะน้ำตาลชนิดพกพา จำนวน 1 เครื่องๆ ละ 1,200 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและมีสุขภาพดีไม่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค
  2. ลดอัตราการเกิดผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงรายใหม่
  3. กลุ่มป่วยได้รับการติดตามและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10450.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรม จัดบริการอบรมเรื่องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่กลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรม จัดบริการอบรมเรื่องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่กลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วยที่สมัครใจร่วมกิจกรรม    2.2 ติดตามวัดความดันโลหิตและระดับน้ำตาลของกลุ่มเสี่ยง - ค่าอาหารว่างเพื่อสุขภาพ จำนวน 85 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,125 บาท - ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.00 X 2.37 เมตร เป็นเงิน 356 บาท - ค่าจัดทำเอกสารความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนสุขภาพ จำนวน 85 ชุดๆ ละ 3 บาท เป็นเงิน 255 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและมีสุขภาพดีไม่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค
  2. ลดอัตราการเกิดผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงรายใหม่
  3. กลุ่มป่วยได้รับการติดตามและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2736.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,186.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและมีสุขภาพดีไม่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค
2. ลดอัตราการเกิดผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงรายใหม่
3. กลุ่มป่วยได้รับการติดตามและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน


>