กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิยามุมัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจัดการขยะ โรงเรียนบ้านตาหมน ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิยามุมัง

โรงเรียนบ้านตาหมน

1.ว่าที่ร้อยโทฮัสบุลเล๊าะห์ กาลอ
2.นายปาฮามี อาแว
3.นายอิบรอเฮงยีเงาะ
4.นางซารีหมะ ลอแม
5.นายโอศนัย สือแม็ง

โรงเรียนบ้านตาหมน 2/1 หมู่ 5 ต.ปิยามุมัง อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี 94150

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

 

62.50

สาระสำคัญของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ภายใต้แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2570 เน้นประชาชนมีสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข ระบบสุขภาพยั่งยืนและสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี ของกรมอนามัยที่เน้นสร้างความเข้มแข็งระบบอนามัยสิ่งแวดล้อมชุมชนอย่างยั่งยืน ซึ่งการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ใน 5 ปี ข้างหน้า มุ่งเน้นคุ้มครองสุขภาพของประชาชน จากปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม บนพื้นฐานของการบูรณาการการดำเนินงานของหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ทั้งในเชิงพื้นที่ เชิงประเด็น และกลุ่มเป้าหมายเฉพาะให้ความสำคัญกับการดำเนินงานอนามัยสิ่งแวดล้อม 7 ด้าน ได้แก่1) ด้านคุณภาพอากาศ2) น้ำ การสุขาภิบาลและสุขอนามัย3) ขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย4) สารเคมีเป็นพิษและสารอันตราย7) การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ โดยมุ่งเน้นส่งเสริมบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินงานอนามัยสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาของพื้นที่และทันต่อสถานการณ์ ด้วยการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ระบบฐานข้อมูลเชื่อมโยงและเข้าถึงได้ง่าย พัฒนาเทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่เหมาะสม และดำเนินการป้องกัน ลดความเสี่ยงจากปัญหาอนามัยสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ

โรงเรียนบ้านตาหมน ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการดำเนินงานด้านการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในประเด็นของการจัดการขยะมูลฝอย ด้วยเหตุนี้โรงเรียนบ้านตาหมนจึงได้จัดโครงการจัดการขยะโรงเรียนบ้านตาหมน ปีงบประมาณ 2566 ขึ้น เพื่อดำเนินการจัดการขยะอินทรีย์ที่เหลือจากการประกอบอาหารและการรับประทานอาหารของนักเรียน รวมไปถึงเศษใบไม้ที่ร่วงหล่นตามพื้นดิน ให้มีการจัดการขยะอย่างถูกต้องเหมาะสม โดยการเปลี่ยนขยะอินทรีย์เหลานั้นให้เป็นปุ๋ยอินทรีย์โดยใช้กระบวนการหมักเป็นหลัก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกำจัดขยะอินทรีย์ในโรงเรียนให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล

ร้อยละ 60 ของขยะอินทรีย์ในโรงเรียนถูกกำจัดได้อย่างถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล

10.00 60.00
2 เพื่อนำขยะอินทรีย์ในโรงเรียนมาใช้ให้เกิดประโยชน์

ร้อยละ 60 ของขยะอินทรีย์ในโรงเรียนถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์

20.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 140
กลุ่มวัยทำงาน 60
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/07/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมทีมงาน วางแผน และชี้แจงการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมทีมงาน วางแผน และชี้แจงการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมทีมงาน วางแผน และชี้แจงการดำเนินงาน

  1. ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย

    • ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน
    • ตัวแทนครู จำนวน 10 คน
    • ตัวแทนนักเรียน จำนวน 40 คน
    • ตัวแทนผู้ปกครอง จำนวน 40 คน
  2. งบประมาณ

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 91 คน x 1 มื้อ x 30 บาท เป็นเงิน 2,730 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กรกฎาคม 2566 ถึง 3 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เกิดทีมงาน คณะกรรมการ และแผนงานตามโครงการ
  2. บุคลากรโรงเรียนบ้านตาหมนและผู้ปกครองนักเรียน รู้วิธีและขั้นตอนการดำเนินงานตามโครงการ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2730.00

กิจกรรมที่ 2 ปุ๋ยหมักอินทรีย์จากเศษอาหาร

ชื่อกิจกรรม
ปุ๋ยหมักอินทรีย์จากเศษอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. อบรมให้ความรู้การทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร ( ผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 51 คน )
    งบประมาณ

- ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน x 6 ชั่วโมง x 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 51 คน x 2 มื้อ x 30 บาท เป็นเงิน 3,060 บาท
- ค่าอาหาร 51 คน x 1 มื้อ x 50 บาท เป็นเงิน 2,550 บาท
2. จัดซื้อถังหมักปุ๋ยแบบหมุนด้วยมือ จำนวน 2 ถัง ถังละ 2,500 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
3. หมักเศษอาหารที่เหลือจากการประกอบอาหารและการรับประทานอาหาร

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 กรกฎาคม 2566 ถึง 15 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เศษอาหารในโรงเรียนได้รับการกำจัดอย่างถูกต้อง เหมาะสม ตามหลักสุขาภิบาล
2.โรงเรียนมีปุ๋ยอินทรีย์เพื่อใช้ในการเกษตร
3.บุคลากรโรงเรียนบ้านตาหมนและผู้ปกครองมีองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะจากเศษอาหารที่ถูกต้องเหมาะสมตามหลักสุขาภิบาล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14210.00

กิจกรรมที่ 3 ปุ๋ยหมักอินทรีย์จากเศษใบไม้แห้ง

ชื่อกิจกรรม
ปุ๋ยหมักอินทรีย์จากเศษใบไม้แห้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. อบรมให้ความรู้การทำปุ๋ยหมักจากเศษใบไม้แห้ง ( ผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 51 คน )
    งบประมาณ

- ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน x 6 ชั่วโมง x 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 51 คน x 2 มื้อ x 30 บาท เป็นเงิน 3,060 บาท
- ค่าอาหาร 51 คน x 1 มื้อ x 50 บาท เป็นเงิน 2,550 บาท
2. จัดซื้ออิฐประสาน 500 ก้อน ก้อนละ 10 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
3. หมักเศษใบไม้แห้งตามเขตพื้นที่ทำความสะอาด

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 กรกฎาคม 2566 ถึง 15 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เศษใบไม้ตามเขตพื้นที่ความสะอาดถูกกำจัดได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม
2.โรงเรียนมีปุ๋ยอินทรีย์เพื่อใช้ในการเพาะปลูกพืชผักสวนครัว
3.ขยายผลการดำเงินงานให้แก่ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14210.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ติดตามการดำเนินงานของโครงการ ให้มีการดำเนินงานตามแผนที่วางไว้
2.รายงานผลการติดตามการดำเนินงานให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กรกฎาคม 2566 ถึง 15 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีการติดตามการดำเนินงาน
2.มีการรายงานผลการติดตามการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 ประชุมถอดบทเรียนและสรุปโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมถอดบทเรียนและสรุปโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมถอดบทเรียนและสรุปกิจกรรม

  1. ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย

    • ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน
    • ตัวแทนครู จำนวน 10 คน
    • ตัวแทนนักเรียน จำนวน 40 คน
    • ตัวแทนผู้ปกครอง จำนวน 40 คน
  2. งบประมาณ

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 91 คน x 1 มื้อ x 30 บาท เป็นเงิน 2,730 บาท
  3. รายงานโครงการในระบบ

  4. จัดทำรูปเล่มรายงานโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ทราบผลการดำเนินกิจกรรม ปัญหาอุปสรรค และแนวทางแก้ไข 2.ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนมีองค์ความรู้เรื่องการจัดการขยะอินทรีย์สามารถนำไปใช้ในครัวเรือนได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2730.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,880.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ขยะอินทรีย์ในโรงเรียนได้รับการกำจัดอย่างอย่างถูกต้องและเหมาะสม
2.ครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน มีความรู้และเห็นความสำคัญในการกำจัดขยะอินทรีย์ให้ถูกต้องและเหมาะสม
3.ขยายผลการดำเงินงานให้แก่ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ในครัวเรือนได้


>