กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมการคัดแยกขยะอันตรายในชุมชนเพื่อสร้างเสริมสุขภาพที่ดีของประชาชนตำบลเกาะเปาะ ประจำปีงบประมาณ 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะเปาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการคัดแยกขยะอันตรายในชุมชนเพื่อสร้างเสริมสุขภาพที่ดีของประชาชนตำบลเกาะเปาะ ประจำปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะเปาะ

องค์การบริหารส่วตำบลเกาะเปาะ

องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเปาะ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เนื่องจากปัจจุบันนี้มีปัญหาสิ่งแวดล้อมมากมาย ปัญหาเหล่านี้ได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม หนึงในปัญหาที่สำคัญคือ ปัญหามลพิษที่เกิดจากของเสียอันตรายปัญหาที่เกิดขึ้นนี้มีสาเหตุมาจากการรู้เท่าไม่ถึงการของประชาชน ที่ใช้ขยะอันตรายในปริมาณที่มากขึ้นและไม่มีการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเปาะ ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาการจัดการขยะอันตรายที่ไม่ถุกต้องของประชาชนในชุมชน ทำให้เกิดมลพิษและส่งผลกระทบต่อสุขภาพซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบล พ.ศ.2537 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 มาตรา 67 (2) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลและมาตรา 67(7) คุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม และพระราชบัญญัติกำหนดแผนขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 แก้ไขเพ่ิมเติมถึง(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 มาตรา 16 (17) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองและ(18) การกำจัดขยะมูลฝอย ส่ิงปฏิกูลและน้ำเสีย
องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเปาะ จึงได้จัดโครงการส่งเสริมการคัดแยกขยะอันตรายในชุมชนเพื่อสร้างเสริมสุขภาพที่ดีของประชาชนตำบลเกาะเปาะ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนมีจิตสำนึกที่ดีในการคัดแยกขยะอันตรายในระดับครัวเรือน เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีโดยการลดการปนเปื้อนของสารเคมีจากขยะอันตรายก่อนทิ้ง เพื่อนำไปกำจัดที่ถูกวิธี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนมีจิตสำนึกที่ดีในการคัดแยกขยะในระดับครัวเรือน

1.ร้อยละ 90 ประชาชนในชุมชนมีจิตสำนึกที่ดีในการคัดแยกขยะในระดับครัวเรือน

60.00 50.00
2 2.เพื่อรวบรวมขยะอันตรายที่ประชาชนคัดแยกได้ในชุมชนนำไปกำจัดที่ถูกต้อง

2.ร้อย 80 ประชาชนสามรถคัดแยกขยะในชุมชนและนำไปกำจัดที่ถูกต้อง

70.00 40.00
3 3.เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีโดยการลดการปนเปื้อนของสารเคมีจากขยะอันตรายในสิ่งแวดล้อม

3.ร้อยละ 70 ประชาชนมีสุขภาพที่ดีโดยการลดการปนเปื้อนของสารเคมีจากขยะอันตรายในสิ่งแวดล้อม

70.00 30.00
4 4.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับขยะอันตรายที่ถูกต้องและมีการคัดแยกขยะอันตรายของทิ้ง เพื่อนำไปกำจัดที่ถูกวิธี

4.ร้อยละ 90 ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับขยะอันตรายที่ถูกต้องและมีการคัดแยกขยะอันตรายของทิ้ง เพื่อนำไปกำจัดที่ถูกวิธี

80.00 50.00
5 5.เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการลดความรุนแรงของปัญหามลพิษในสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน

5.ร้อยละ 70 สามารถลดความรุนแรงของปัญหามลพิษในสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน

80.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 60
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมสร้างเสริมความรู้ ความเข้าใจในการคัดแยกขยะอันตราย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมสร้างเสริมความรู้ ความเข้าใจในการคัดแยกขยะอันตราย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 60 คน x 1 มื้อ x 25 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
2.ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 60 คน x 1 มื้อ x 60 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
3.ค่าวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
4.ค่าป้ายโครงการฯ จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 600 บาท
5.ป้ายประชาสัมพันธ์ จำนวน 3 ป้าย ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
6.ค่าวัสดุอื่นๆ เช่นกระเป๋าผ้า สมุด ปากกา ชุดละ 85 บาท x 60 ชุด เป็นเงิน 5,100 บาท
      รวมเป็นเงิน  14,400  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนในชุมชนมีจิตสำนึกที่ดีในการคัดแยกขยะอันตรายในระดับครัวเรือน 2.สามารถนำขยะอันตรายในชุมชนไปกำจัดได้อย่างถูกต้อง
3.ประชาชนมีสุขภาพที่ดีขึ้นเนื่องจากการปนเปื้อนของสารเคมีจากขยะอันตรายในสิ่งแวดล้อมน้อยลง 4.ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกียวกับขยะอันตรายและมีการคัดแยกขยะอันตรายก่อนทิ้งเพื่อนำไปกำจัดที่ถูกวิธี 5.สามารถลดความรุนแรงของปัญหามลพิษในสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14400.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมส่งเสริมการคัดแยกขยะอันตราย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมส่งเสริมการคัดแยกขยะอันตราย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมส่งเสริมการคัดแยกขยะอันตราย
1.จัดทำตู้รวบรวมขยะอันตราย (รายละเอียดแนบท้ายโครงการฯ) จำนวน 1 ตู้ ๆ ละ 9,000 บาท
2.จัดทำป้ายอะครีลิค ขนาด 40 ซม. x 45 ซม. (รายละเอียดแนบท้ายโครงการฯ) จำนวน 1 ป้าย ๆ ละ 600 บาท
     รวมเป็นเงิน  9,600  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนในชุมชนมีจิตสำนึกที่ดีในการคัดแยกขยะอันตรายในระดับครัวเรือน
2.สามารถนำขยะอันตรายในชุมชนไปกำจัดได้อย่างถูกต้อง
3.ประชาชนมีสุขภาพที่ดีขึ้นเนื่องจากการปนเปื้อนของสารเคมีจากขยะอันตรายในสิ่งแวดล้อมน้อยลง
4.ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกียวกับขยะอันตรายและมีการคัดแยกขยะอันตรายก่อนทิ้งเพื่อนำไปกำจัดที่ถูกวิธี
5.สามารถลดความรุนแรงของปัญหามลพิษในสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนในชุมชนมีจิตสำนึกที่ดีในการคัดแยกขยะอันตรายในระดับครัวเรือน
2.สามารถนำขยะอันตรายในชุมชนไปกำจัดได้อย่างถูกต้อง
3.ประชาชนมีสุขภาพที่ดีขึ้นเนื่องจากการปนเปื้อนของสารเคมีจากขยะอันตรายในสิ่งแวดล้อมน้อยลง
4.ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกียวกับขยะอันตรายและมีการคัดแยกขยะอันตรายก่อนทิ้งเพื่อนำไปกำจัดที่ถูกวิธี
5.สามารถลดความรุนแรงของปัญหามลพิษในสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน


>