กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองควนลัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองควนลัง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนลัง

นายชวนากร รักเกิด

ตำบลควนลัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

30.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

30.00

โรคเรื้อรังเป็นโรคซึ่งทั่วโลกกำลังให้ความสนใจอย่างยิ่ง เนื่องจากตัวเลขของผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากข้อมูลของสมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ (IDF: International Diabetes Federation) ในปี พ.ศ. 2560 มีการประเมินว่ามีผู้ป่วยเบาหวาน รวม 425 ล้านรายทั่วโลก แบ่งเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป จำนวน98 ล้านราย และช่วงอายุ 20-64 ปี จำนวน 327 ล้านราย และคาดการณ์ว่าในปีพ.ศ. 2568 จะมีผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 629 ล้านรายทั่วโลก โดยแบ่งเป็นผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป จำนวน 191 ล้านราย หรือมีอัตราการเพิ่มอยู่ที่ร้อยละ 94.8 และในช่วงอายุ 20-64 ปี จำนวน 438 ล้านราย หรือมีอัตราการเพิ่มอยู่ร้อยละ 33.9 ซึ่งจะเห็นได้ว่าอัตราการเพิ่มของผู้ป่วยเบาหวานในกลุ่มผู้สูงอายุจะสูงกว่าช่วงวัยทำงาน อีกทั้งยังพบว่า อายุเฉลี่ยของการเริ่มต้นป่วยเป็นโรคเบาหวานนั้นน้อยลงเรื่อยๆ และมีแนวโน้มจะลุกลามไปถึงเด็กในอนาคตอันใกล้ด้วยวิถีการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะเรื่องการรับประทาน โรคเรื้อรังนอกจากจะเป็นโรคที่รักษาไม่หายแล้ว ยังเชื่อมโยงไปสู่โรคแทรกซ้อนอื่นๆ อีกมากมาย เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด สำหรับเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานคือ "กรรมพันธุ์" และ "สิ่งแวดล้อม" ในส่วนของกรรมพันธ์นั้นเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญขึ้นเรื่อยๆเมื่อมีอายุมากขึ้น ขณะที่สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เริ่มต้นตั้งแต่ในครรภ์แม่ แม้กรรมพันธุ์จะเป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ได้แต่ก็สามารถควบคุมปัจจัยเรื่องอาหารและสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันโรคเบาหวานได้
จากสถิติข้อมูลในปีงบประมาณ เขตสุขภาพที่ 12 จังหวัดสงขลา อำเภอหาดใหญ่ ตำบลควนลัง ปีงบประมาณ2565มีอัตราป่วยรายใหม่ของโรคเบาหวานจำนวน 351.6ต่อแสนประชากร และอัตราป่วยรายใหม่ของโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 579.36 ต่อแสนประชากร (ข้อมูลจากHDCจังหวัดสงขลา)
ฉะนั้นสำหรับประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุ35ปีขึ้นไปยังมีความจำเป็นการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนลัง ร่วมกับอสม.ตำบลควนลัง จึงได้จัดโครงการคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูงขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักให้ประชาชนได้ดูแลสุขภาพตนเองมีการเข้าถึงข้อมูลทางสุขภาพ ลดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา และภาระต่างๆต่อครอบครัวและสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อม
โดยโครงการจัดให้มีบริการคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคให้ครอบคลุมพื้นที่ของตำบลควนลัง แบ่งเป็นพื้นที่หมู่ที่1พื้นที่หมู่ที่2 และพื้นที่หมู่ที่3,4,5,6แบ่งกลุ่มเป้าหมายพื้นที่ละ 200 ราย รวมกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 600 ราย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

30.00 30.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

30.00 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 600
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. ตรวจคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ในประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป โดยจัดบริการให้ครอบคลุมพื้นที่ของตำบลควนลัง โดยแบ่งเป็นพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
1. ตรวจคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ในประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป โดยจัดบริการให้ครอบคลุมพื้นที่ของตำบลควนลัง โดยแบ่งเป็นพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าไวนิลโครงการประชาสัมพันธ์1.5*3เมตรจำนวน 1 แผ่น เป็นเงิน 700 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มคณะทำงานจำนวน 60 คน คนละ 35 บาทเป็นเงิน 2,100 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมกิจกรรมคัดกรอง 600 คนๆละ 35 บาทเป็นเงิน 21,000บาท
  • ค่าแบบเอกสารคัดกรอง จำนวน1,000 แผ่นเป็นเงิน 1,000 บาท
  • ค่าเครื่องวัดความดัน 5 เครื่องๆละ 3,000 บาทเป็นเงิน15,000 บาท
  • ค่าถ่านใช้สำหรับเครื่องวัดความดัน(AA) 5 แพ็คๆละ 210 เป็นเงิน 1,050 บาท
  • ค่าเครื่องอ่านค่าน้ำตาล 5 เครื่องๆละ2,500 บาทเป็นเงิน12,500 บาท
  • ค่าแถบตรวจน้ำตาลในเลือด (กล่องละ100 แถบ) 12 กล่องๆละ1,500 บาทเป็นเงิน18,000 บาท
  • ค่าเข็มเจาะปลายนิ้ว (กล่องละ 200 ชิ้น) 6 กล่องๆละ 1,500 บาทเป็นเงิน 9,000 บาท
  • ค่าสำลีก้อนชุบแอลกอฮอล์ (40 แผง/กล่อง) 10 กล่องๆละ 400 บาทเป็นเงิน 4,000 บาท
  • ค่าถ่านกระดุมใส่เครื่องอ่านค่าน้ำตาล 10 ก้อนๆละ 50 บาทเป็นเงิน 500บาท
  • เครื่องชั่งน้ำหนัก 2 เครื่องๆละ1,500 บาทเป็นเงิน 3,000 บาท
  • สายวัดรอบเอวBMI 5 ชิ้นๆละ130 บาทเป็นเงิน 650 บาท
  • ที่วัดส่วนสูงแบบยืน 1 ชุด ๆละ 2,500 บาทเป็นเงิน 2,500 บาท หมายเหตุ รายจ่ายทุกรายการสามารถเฉลี่ยจ่ายได้ตามเหมาะสม
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
91000.00

กิจกรรมที่ 2 2. ให้ความรู้เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยง ต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
2. ให้ความรู้เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยง ต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 91,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้เรื่องหลักการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs)
2.ประชาชน 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
3. ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ได้รับการติดตามเยี่ยมอย่างต่อเนื่อง


>