กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์ ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

ชมรมอาสาสมัครโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหาดไข่เต่า

พื้นที่เขตรับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านหาดไข่เต่า

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการเหตุผล
โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสีย ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรคได้ติดตามสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย พบว่า มีอุบัติการณ์ต่ำกว่าค่ามัธยฐาน ๕ ปี ย้อนหลังอย่างต่อเนื่อง มาเป็นเวลาเกือบ 2 ปี (พ.ศ. 2563 -2564) จึงมีโอกาสที่ในปี พ.ศ.2565 จะเกิดการระบาดมากขึ้น ซึ่งคาดการณ์ว่าตลอดทั้งปีอาจมีผู้ป่วยสูงถึง 95,000 ราย โดยในช่วงไตรมาสแรกของปีมีแนวโน้ม พบจำนวนผู้ป่วยประมาณ 3,000 – 4,000 รายต่อเดือน และเริ่มสูงขึ้นในเดือนพฤษภาคม จนสูงที่สุดประมาณ 10,000 – 16,000 รายต่อเดือนในช่วงฤดูฝน (เดือนมิถุนายน - กันยายน)
ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยน แนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเองพร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน โรงเรียน ศาสนสถาน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการและจะเห็นได้ว่าอัตราการป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อเทียบดูจากสถิติการเกิดโรคในปีที่ผ่านมา การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนพฤษภาคม – กันยายนของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่หนึ่งพอดี และนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิษฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนและศาสนสถาน ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้ง จากชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก
จากปัญหาดังกล่าว ประชาชน แกนนำสุขภาพประจำครอบครัวและ อสม.หมู่ที่ 1 , 3 , 9 , 10,11 และหมู่ที่๑4ตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว ได้เห็นถึงความสำคัญของการป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยมีความเห็นร่วมกันที่จะให้ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว เป็นผู้มีบทบาทกระตุ้นเตือนชุมชนและร่วมกันกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องในชุมชน และให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในระดับท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหาไข้เลือดออกในพื้นที่ เพื่อให้การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ จึงได้ทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

 

0.00
2 ๒.เพื่อให้ชุมชนดำเนินกิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชนอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง

 

0.00
3 ๓.เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมโรคในพื้นที่

 

0.00
4 ๔. เพื่อลดค่า HI CI ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานหรือเท่ากับศูนย์

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 83
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/09/2023

กำหนดเสร็จ 22/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าทรายอเบทกำจัดลูกน้ำจำนวน ๖ ถังๆละ ๔,๐๐๐ บาท        เป็นเงิน  ๒๔,๐๐๐ บาท
  • ค่าสเปร่ย์กำจัดยุง ขนาด ๖๐๐ ml จำนวน ๕ ขวดๆละ ๑๑๐ บาท       เป็นเงิน       ๕๕๐ บาท       - ค่าค่าน้ำดื่มสำหรับเจ้าหน้าที่/ อสม ในการออกสำรวจและรณรงค์ป้องกันและควบคุม ไข้เลือดออก
            จำนวน  8๓  คน ๆ ละ ๑ มื้อ ๆ ละ 10 บาทจำนวน ๖ ครั้ง              เป็นเงิน     ๔,๙๘0 บาท                  - ค่าน้ำแข็ง  ๖  กระสอบ ๆ ละ  25  ก.ก.ๆละ 4 บาท           เป็นเงิน        ๖๐๐ บาท
  • ค่าโลชั่นทากันยุง จำนวน  ๓๖ ซองๆละ ๖ บาท        เป็นเงิน        ๒๑๖ บาท
  • ค่าถ่ายเอกสารแผ่นพับจำนวน ๑,๕๐๐ แผ่นๆละ ๑ บาท    เป็นเงิน     ๑,๕๐๐ บาท
  • ค่าถ่ายเอกสารแบบสำรวจลูกน้ำยุงลาย จำนวน ๑,๐๐๐ แผ่นๆละ ๐.๕ บาท เป็นเงิน   ๕๐๐ บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กันยายน 2566 ถึง 22 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
32346.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 32,346.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
๒.ไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในพื้นที่
๓. สามารถเฝ้าระวังและควบคุมโรคในพื้นที่ได้


>