กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

สิ่งแวดล้อมดี เยาวชนเข้มแข็ง คลองรีน่าอยู่ ปี 66

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

ชมรมคนรักกีฬา หมู่ที่ 1 บ้านคลองรี

1. นายมาฮาซัน หะยีมุเสาะ
2. นายเปาซัน เจ๊ะโด
3. นายนาเซ หะยีมุเสาะ
4. นายตอเละ ยูโซะ
5. นายอัฟฟาน สอเหาะ

หมู่ที่ 1 บ้านคลองรี ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม , แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมในชุมชน

 

1.00
2 จำนวนจุดความร้อน (Hot spot) ในพื้นที่ในรอบปี (พื้นที่ป่า พื้นที่เกษตร พื้นที่ริมทางหลวง (50 เมตร) พื้นที่ชุมชน)

 

0.00
3 ร้อยละครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะ

 

50.00
4 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

 

60.00
5 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

60.00

จากการดำเนินงานโครงการในปีที่แล้วตามโครงการคลองรีเข้มแข็งเยาวชนใส่ใจ พัฒนา ปี 65 กิจกรรมประกอบด้วย การเฝ้าระวังโรคติดต่อ ยาเสพติด และภัยคุกคามสุขภาพในรูปแบบต่างๆ กิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกาย การขยับกาย และกิจกรรมจิตอาสาเพื่อพัฒนาชุมชนในด้านการส่งเสริมสุขภาพ ส่งผลทำให้เยาวชนและผู้ปกครองในชุมชนได้มีกิจกรรมร่วม เยาวชนมีความสามัคคีกัน ร่วมกันทำกิจกรรมต่างๆอย่างสนุกสนุกสนาน สามารถช่วยให้เยาวชนได้รวมตัวกันทำในกิจกรรมที่ดีดี ความเสี่ยงของยาเสพติดลดลง เพราะทุคนช่วยกันดูแลและเข้าร่วมประชุมทุกครั้งเมื่อมีการจัดประชุม และการจัดกิจกรรมต่างๆทำให้เยาวชนในพื้นที่ได้มีเวลาว่างทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน ทำให้มีความผูกพันต่อชุมชนบ้านเกิด
ชมรมคนรักกีฬา ม.1 บ้านคลองรี เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนที่มีความใกล้ชิดกับทุกกลุ่มวัยในพื้นที่อยากเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีสุขภาพกายและใจที่เข้มแข็ง โดยเฉพาะในกลุ่มของเยาวชนที่เป็นกำลังหลักของชุมชนในการทำกิจกรรมต่างๆ มีกิจกรรมปฏิสัมพันธ์กับเยาวชนมานานหลายปี จากการสังเกตและรวบรวมข้อมูลของชมรมพบว่าเยาวชนในพื้นที่เกาะเป็นกลุ่มกัน ไม่มั่วสุมกับยาเสพติด มีกิจกรรมการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หากเยาวชนได้มีการรวมตัวกัน มีความเข้าใจในรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เหมือนกันก่อให้เกิดความสามัคคีกัน ภัยคุกคามต่างๆจากภายนอก ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเยาวชนและประชาชนในพื้นที่ เพราะเยาวชนคือกำลัง พลัง อนาคตของชุมชน เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เยาวชนในพื้นที่ได้มีกิจกรรมในการส่งเสริมสุขภาพตนเอง คนรอบข้าง ชุมชนอย่างต่อเนื่อง ทางชมรมจึงได้จัดทำโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯเพื่อดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เยาวชนในพื้นที่ได้มีการเคลื่อนขยับ เคลื่อนไหวทางกายเป็นสื่อตัวอย่างให้ชุมชนอย่างต่อเนื่อง

ร้อยละ 80 ของเยาวชนในพื้นที่ได้มีการออกกำลังกาย การขยับกายย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้งๆ ละไม่น้อยกว่า 30 นาที

128.00 102.00
2 เพื่อให้เยาวชนในพื้นที่ได้มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมที่เป็นการส่งเสริมสุขภาพเป็นประโยชน์ต่อหมู่บ้าน

ร้อยละ 90 ของเยาวชนในพื้นที่ได้มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อหมู่บ้าน

128.00 115.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 128
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมการมีส่วนร่วม

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการมีส่วนร่วม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมเครือข่ายสร้างสุขภาพ กลุ่มวัยรุ่นในพื้นที่ (13–25 ปี) เพื่อขับเคลื่อนโครงการ การดำเนินงานในกิจกรรมเพื่อการส่งเสริมสุขภาพต่างๆ เช่น กิจกรรมดูแลสิ่งแวดล้อม กิจกรรมเฝ้าระวังโรคติดต่อ ยาเสพติด กิจกรรมพี่ดูแลน้อง และกิจกรรมอื่นๆ

งบประมาณ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 200 มื้อ เป็นเงิน  5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. สมาชิกมีความรู้ความเข้าใจในการบวนการทำงานต่างๆ
  2. มีการทำงานหรือทำกิจกรรมต่างๆตามที่ได้ประชุมร่วมอย่างต่อเนื่อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกาย การขยับกาย

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกาย การขยับกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกาย การขยับกาย     - กิจกรรมเคลื่อนขยับยามเย็น เช่น การเล่นกีฬาวอลเลย์บอล การเล่นกีฬาฟุตบอล การเล่นกีฬาพื้นบ้าน

งบประมาณ - ค่าวัสดุ อุปกรณ์ เพื่อใช้ในกิจกรรม เช่น ลูกฟุตบอล วอลเลย์บอล ตะกร้อ ตาข่าย หรืออื่นๆที่ใช้ในกิจกรรม  เป็นเงิน  5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีวัสดุ อุปกรณ์เพื่อใช้ในกิจกรรม พร้อม
  2. เยาวชนมีกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่องเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ประชาชนในพื้นที่
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมกิจกรรมจิตอาสาเพื่อพัฒนาชุมชนให้ชุมชนมีสิ่งแวดล้อมที่ดี และน่าอยู่

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมกิจกรรมจิตอาสาเพื่อพัฒนาชุมชนให้ชุมชนมีสิ่งแวดล้อมที่ดี และน่าอยู่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ส่งเสริมกิจกรรมจิตอาสาเพื่อพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ - จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ เช่น พัฒนาสถานที่สาธารณประโยชน์ของหมู่บ้าน การพัฒนาสิ่งแวดล้อม การควบคุมฝุ่นมลพิษในอากาศ การกำจัดแหล่งเพาะพันธ์โรค การเก็บขยะใน 2 ข้างทาง การดูแลหรือพัฒนาลานกีฬา สนามกีฬาประจำหมู่บ้าน การร่วมในกิจกรรมงานต่างๆของหมู่บ้านตามบริบทของพื้นที่ ฯลฯ

งบประมาณ - ค่าวัสดุ อุปกรณ์ เพื่อใช้ในกิจกรรม เช่น
  วัสดุอุปกรณ์ทางการเกษตร ถังขยะ ถุง  ดำ ถุงแดง พันธ์ไม้ดอก ไม้ประดับต่างๆ หรืออื่นๆที่ใช้ในกิจกรรม  เป็นเงิน  5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเยาวชนและประชาชนในพื้นที่ได้มีกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง
  2. หมู่บ้านมีสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น น่าอยู่ ลดแหล่งมั่วสุมยาเสพติด ลดแหล่งเพาะพันธ์โรค ลดขยะตกค้าง ลดฝุ่นลอองในอากาศ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)
1. จัดทำโครงการเพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ
2. พัฒนาศักยภาพองค์ความรู้ของกลุ่มเป้าหมาย
- ประชุมเครือข่ายสร้างสุขภาพ กลุ่มวัยรุ่นในพื้นที่ เพื่อขับเคลื่อนโครงการ การดำเนินงาน ในกิจกรรมต่างๆ
3. ส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกาย การขยับกาย อย่างต่อเนื่อง เช่น
- กิจกรรมเคลื่อนขยับยามเย็น เช่น การเล่นกีฬาวอลเลย์บอล การเล่นกีฬาฟุตบอล การเล่นกีฬาพื้นบ้าน
4. ส่งเสริมกิจกรรมจิตอาสาเพื่อพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่
- จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ เช่น พัฒนาสถานที่สาธารณประโยชน์ของหมู่บ้าน การพัฒนาสิ่งแวดล้อม การควบคุมฝุ่นมลพิษในอากาศ การกำจัดแหล่งเพาะพันธ์โรค การเก็บขยะใน 2
ข้างทาง การดูแลหรือพัฒนาลานกีฬา สนามกีฬาประจำหมู่บ้าน การร่วมในกิจกรรมงานต่างๆของหมู่บ้านตามบริบทของพื้นที่ ฯลฯ
5. สรุปผลการดำเนินงาน

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เยาวชนได้ตระหนักให้ความสำคัญต่อสุขภาพของตนเอง และคนรอบข้าง
2. เยาวชนมีพฤติกรรมไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด สามารถปฏิบัติตนในแนวทางที่ถูกต้อง เหมาะสมและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น ในสถานศึกษา และชุมชุน
3. สิ่งแวดล้อมดี ชุมชนน่าอยู่
4. เยาวชนตระหนักในกิจกรรมจิตอาสา
5. เยาวชนเป็นกำลังหลักของหมู่บ้านในทุกเรื่อง
6. เยาวชนมีความรู้สึกสำคัญมีคุณค่าในตนเอง และชุมชน


>