กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาท่อม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังสารเคมีในประชาชนกลุ่มเสี่ยงตำบลนาท่อม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาท่อม

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาท่อม

นายศักดิ์ชาย โรจชะยะ

ตำบลนาท่อม อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อสม.มีความรู้ในการตรวจสารเคมีในเลือด

 

16.00
2 จำนวนกลุ่มเสี่ยงของเกษตรที่มีสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด

 

350.00

ปัญหาสุขภาพที่สำคัญคืออันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างแพร่หลายเพื่อ เพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและมีเกษตรกรส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการใช้สารเคมี ที่ไม่ถูกต้อง ปลอดภัย ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพทั้งเฉียบพลันและ เรื้อรัง อาการแสดงเฉียบพลันมีตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิต ขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับ ส่วนอาการเรื้อรัง สารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะสะสมในระบบต่างๆ ของร่างกายทำให้เกิดความผิดปกติและโรคต่างๆ เช่น มะเร็งสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนัง การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่มีสารเคมีปนเปื้อน ซึ่งพฤติกรรม การใช้สารเคมีที่ไม่ปลอดภัยนั้นทำให้เกษตรกรผู้อาศัยในชุมชน และผู้บริโภคมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้น
ประชาชน(เกษตรกรหรือผู้ที่มีความเสี่ยง)ในตำบลนาท่อมอำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ส่วนมากมีการดำรงชีวิตที่สัมผัสกับสารเคมีอยู่ทุกวัน เช่น ในกลุ่มเกษตรกรมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การใช้ปุ๋ยเคมีจำนวนมาก ประชาชนโดยทั่วไปก็ยังได้รับสารเคมีจากการบริโภคและการสัมผัส ตลอดทั้งการใช้สารเคมีต่างๆในชีวิตประจำวันซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง จากการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดของประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงระดับสูง(เกษตรกรและผู้ที่สัมผัสสารเคมีโดยตรงจากการสำรวจของ อสม.ในพื้นที่) ปีงบประมาณ 2563 จำนวน 700 คน จากกลุ่มอาชีพเกษตรกรเป็นส่วนใหญ่ พบว่าประชาชน(เกษตรกรหรือผู้ที่มีความเสี่ยง) มีผลการตรวจสารเคมีตกค้างที่มีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัยเป็น จำนวน 350 คน จากข้อมูลดังกล่าวแสดงว่าเกษตรกรในตำบลนาท่อมยังคงมีการสัมผัสและการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาท่อมจึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรตำบลนาท่อม อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังสารเคมีตกค้างในประชาชนกลุ่มเสี่ยงตำบลนาท่อม ปี 2566 ขึ้น เพื่อเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงและผู้บริโภคในพื้นที่รับผิดชอบได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อไปต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้อสม. มีความรู้ในการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด

อสม. มีความรู้ในการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดเพิ่มขึ้น

16.00 40.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงของเกษตรที่มีสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดได้รับการตรวจคัดกรอง

กลุ่มเสี่ยงของเกษตรที่มีสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดลดลง

350.00 200.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 400
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานและอบรมพัฒนาศักยภาพแก่แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานและอบรมพัฒนาศักยภาพแก่แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
1.ประชุมคณะทำงาน แกนนำ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน หมู่ละ 5 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและที่ปรึกษาโครงการ รวมเป็น 42 คน เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงานเฝ้าระวังสารเคมีในประชาชนกลุ่มเสี่ยง และชี้แจงรายละเอียดโครงการ แบ่งหน้าที่ เพื่อเป็นแกนนำในการเฝ้าระวังติดตามกลุ่มเสี่ยง
2.อบรมพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 40 คน เรื่องการเจาะเลือดปลายนิ้ว
รายละเอียดการใช้งบดังนี้
1.ค่าอาหารว่าง จำนวน 42 คนๆละ 20 บาท เป็นเงิน 840 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 มิถุนายน 2566 ถึง 7 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ได้กลุ่มเสี่ยงเป้าหมายที่เฝ้าระวัง
2.ผู้แทน อสม.เป็นกลไกดำเนินงานรู้และเข้าใจรายละเอียดโครงการผลิตผลลัพธ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
840.00

กิจกรรมที่ 2 สร้างความรู้ ความเข้าใจพร้อมกับปฏิบัติการตรวจสารเคมีในเลือดแก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
สร้างความรู้ ความเข้าใจพร้อมกับปฏิบัติการตรวจสารเคมีในเลือดแก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยง และตรวจสารเคมีในเลือดแก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ลงพื้นที่ตามหมู่บ้าน ปฏิบัติการตรวจสารเคมีในเลือด โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านๆละ 5 คน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ครั้งที่ 1
หมู่ที่ 1 จำนวน 50 คน ณ ศาลาเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน
หมู่ที่ 2 จำนวน 50 คน ณ ศาลาเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน
หมู่ที่ 3 จำนวน 50 คน ณ ศาลาเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน
หมู่ที่ 4 จำนวน 50 คน ณ ศาลาเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน
หมู่ที่ 5 จำนวน 50 คน ณ ศาลาเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน
หมู่ที่ 6 จำนวน 50 คน ณ ศาลาเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน
หมู่ที่ 7 จำนวน 50 คน ณ ศาลาเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน
หมู่ที่ 8 จำนวน 50 คน ณ ศาลาเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน
รายละเอียดการใช้งบ
1.ค่าเข็มเจาะปลายนิ้วบรรจุ 100 อัน/กล่อง จำนวน 800 อันๆละ 2 บาท เป็นเงิน 1,600 บาท
2.ค่ากระดาษเอนไซม์โคลีนเอสเทอเรส จำนวน 8 กล่องๆละ 1,200 บาท เป็นเงิน 9,600 บาท
3.Micro Haematocrit tube จำนวน 16 ขวดๆละ 120 บาท เป็นเงิน 1,920 บาท
4.ค่าถ่ายเอกสาร เป็นเงิน 500 บาท
5.ค่าป้ายโครงการ เป็นเงิน 500 บาท
6.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 42 คนๆละ 20 บาท เป็นเงิน 840 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 มิถุนายน 2566 ถึง 21 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือด
2.ได้ทราบถึงกลุ่มเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวัง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14960.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามให้ความรู้การเฝ้าระวังสารเคมีในเลือด

ชื่อกิจกรรม
ติดตามให้ความรู้การเฝ้าระวังสารเคมีในเลือด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คืนข้อมูลและให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ถูกต้องให้แก่กลุ่มเสี่ยงและบริการลดสารเคมีตกค้างในเลือด โดยใช้สมุนไพรรางจืด รายละเอียดการใช้งบ
1.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 42 คนๆละ 20 บาท เป็นเงิน 840 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 มิถุนายน 2566 ถึง 28 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเสี่ยงได้รับความรู้และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีได้อย่างถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2040.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามกลุ่มเสี่ยงประเมินผลซ้ำแก่กลุ่มเสี่ยงที่มีผลการตรวจไม่ปลอดภัยและมีความเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
ติดตามกลุ่มเสี่ยงประเมินผลซ้ำแก่กลุ่มเสี่ยงที่มีผลการตรวจไม่ปลอดภัยและมีความเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจสารเคมีในเลือดซ้ำแก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีผลการตรวจไม่ปลอดภัยและมีความเสี่ยง โดย อาสาสมัครสาธารณสุขปรพจำหมู่บ้านๆละ 5 คนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ครั้งที่ 2
หมู่ที่ 1 จำนวน 50 คน ณ ศาลาเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน
หมู่ที่ 2 จำนวน 50 คน ณ ศาลาเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน
หมู่ที่ 3 จำนวน 50 คน ณ ศาลาเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน
หมู่ที่ 4 จำนวน 50 คน ณ ศาลาเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน
หมู่ที่ 5 จำนวน 50 คน ณ ศาลาเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน
หมู่ที่ 6 จำนวน 50 คน ณ ศาลาเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน
หมู่ที่ 7 จำนวน 50 คน ณ ศาลาเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน
หมู่ที่ 8 จำนวน 50 คน ณ ศาลาเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน
รายละเอียดการใช้งบ
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 42 คนๆละ 20 บาท เป็นเงิน 840 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กรกฎาคม 2566 ถึง 5 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือดซ้ำ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
840.00

กิจกรรมที่ 5 ประชุมสรุปประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
ประชุมสรุปประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงาน แกนนำ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน หมู่ละ 5 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและที่ปรึกษาโครงการรวมเป็น 42 คน เพื่อติดตามประเมินผลผลิต ผลลัพธ์ และคืนข้อมูลให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เรื่องผลการตรวจสารเคมีตกค้างในประชาชนกลุ่มเสี่ยงตำบลนาท่อม เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการแก้ปัญหาในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
รายละเอียดการใช้งบ
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 42 คนๆละ 20 บาท เป็นเงิน 840 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 กรกฎาคม 2566 ถึง 12 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ร้อยละกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับติดตาม
2.ปัจจัยความสำเร็จ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
840.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,520.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ได้แกนนำอสม.ที่มีความรู้สามารถตรวจสารเคมีในเลือดได้ จำนวน 40 คน
2.จำนวนประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรอง จำนวน 400 คน
3.หน่วยงาน องค์กรต่างๆได้รับข้อมูลผลการตรวจสารเคมีตกค้างในประชาชนกลุ่มเสี่ยงตำบลนาท่อม


>