กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการภูมิปัญญาสมุนไพรใส่ใจผู้สูงอายุ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลเขาย่า

1.นายจรูญ สงรักษ์ 2.นางสุวดี ขวัญสมคิด 3.นางพิณโย เพชรวา 4. นางอารีย์แย้มช่วย5.นายสุพลเพชรชู

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลเขาย่า

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุมีการปลูกและอนุรักษ์สมุนไพรพื้นบ้านสำหรับใช้รักษาโรค

 

60.00
2 จำนวนผู้สูงอายุที่มีภูมิปัญญาองค์ความรู้ด้านแพทย์แผนไทยและการใช้สมุนไพร

 

2.00
3 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีความรู้ด้านสมุนไพรกับการรักษาโรค

 

40.00

ด้วยศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลเขาย่ามีผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุอุดมสุข จำนวน 40 คนเป็นผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลเขาย่าโดยผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมเป็นผู้สูงอายุที่สามารถทำกิจกรรมต่างๆ สามารถเรียนรู้ศิลปะวิชาการด้านต่างๆได้หลากหลายจึงมีความเห็นว่าการดูแลสุขภาพแบบพื้นบ้านดั้งเดิมที่อยู่คู่กับคนไทยมานาน ซึ่งมีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละสังคมและวัฒนธรรม รูปแบบการรักษามีทั้งการใช้ยาสมุนไพรและการนวดซึ่งสามารถตอบสนองต่อการรักษาได้ดี จึงได้ทำโครงการนี้เพื่่อเสริมสร้างความรู้และนำสมุนไพรมาใช้ในการรักษา บรรเทาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น ลดการใช้ยาแผนปัจจุบันได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีการปลูกและอนุรักษ์สมุนไพรพื้นบ้านสำหรับใช้รักษาโรค

ร้อยละของผู้สูงอายุมีการปลูกและอนุรักษ์สมุนไพรพื้นบ้านสำหรับใช้รักษาโรค

60.00 80.00
2 ส่งเสริมให้มีผู้สูงอายุมีองค์ความรู้ด้านแพทย์แผนไทย

จำนวนผู้สูงอายุที่มีความรู้ด้านแพทย์แผนไทยและการใช้สมุนไพรเพิ่มขึ้น

2.00 4.00
3 ให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุเกี่ยวกับสมุนไพรกับการรักษาโรค

ร้อยละผู้สูงอายุสามารถนำความรู้ด้านสมุนไพรกับการรักษาโรคมาใช้ประโยชน์ได้

40.00 80.00

1.เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีการปลูกและอนุรักษ์พืชสมุนไพรพื้นบ้านสำหรับใช้ในการรักษาโรค2.เพื่อส่งเสริมพืชสมุนไพรในการดูแลรักษาสุขภาพ3.เพื่อฟื้นฟูภูมิปัญญาและองค์ความรู้ด้านแพทย์แผนไทยอยู่สืบไป

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 40
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/06/2023

กำหนดเสร็จ 08/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องสมุนไพรพื้นบ้านและการทำน้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องสมุนไพรพื้นบ้านและการทำน้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าป้ายไวนิลโครงการจำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 520 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ25 บ.40 คน เป็นเงิน 2,000 บาท 3.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ70 บ.40 คน เป็นเงิน 2,800 บาท 4.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 4 ชม.ๆละ 300 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท 5.ค่าวัสดุอุปกรณ์ เป็นเงิน 3,480 บาท หมายเหตุ แต่ละรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มิถุนายน 2566 ถึง 30 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.ผู้สูงอายุเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 100 2.มีการให้ความรู้ในการนำสมุนไพรมาใช้รักษาโรค ผลลัพธ์ 1.ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรและการรักษาโรค 2.ผู้สูงอายุสามารถนำสมนุนมาทำยารักษาโรคได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมการปลูกและอนุรักษ์สมุนไพรพื้นบ้าน

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการปลูกและอนุรักษ์สมุนไพรพื้นบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สูงอายุปลูกและอนุรักษ์สมุนไพรที่บ้าน

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 มิถุนายน 2566 ถึง 30 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.ผู้สูงอายุมีสมุนไพรประจำบ้าน 2.มีการอนุรักษ์และขยายพันธุ์สมุนไพรหลากชนิด ผลลัพธ์ ผู้สูงอายุมีสมุนไพรสำหรับบำรุง รักษา ส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสมกับการใช้งานของตนเอง ลดการใช้ยาแผนปัจจุบัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 สร้างภูมิปัญญาด้านแพทย์แผนไทยโดยการใช้สมุนไพร

ชื่อกิจกรรม
สร้างภูมิปัญญาด้านแพทย์แผนไทยโดยการใช้สมุนไพร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามผลการเรียนรู้ การนำสมุนไพรมาใช้  การอนุรักษ์และขยายพันธูุ์ จนสามารถนำสมุนไพรมาใช้บรรเทาอาการเจ็บป่วยได้จริง

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 มิถุนายน 2566 ถึง 30 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต ผู้สูงอายุที่มีภูมิปัญญาด้านแพทย์แผนไทยในการใช้สมุนไพรเพิ่มขี้น ผลลัพธุ์ ผู้สูงอายุสามารถนำความรู้ และการใช้สมุนไพรแนะนำผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้สูงอายุมีการปลูกและอนุรักษ์สมุนไพรพื้นบ้านสำหรับใชัรักาาโรค ร้อยละ 80
2.จำนวนผู้สูงอายุที่มีความรู้ด้านแพทย์แผนไทยและการใช้สมุนไพรเพิ่มขึ้น 2 คน
3.ผู้สูงอายุสามารถนำความรู้ด้านสมุนไพรกับการรักษาโรคมาใช้ประโยชนืได้ ร้อยละ 80


>