กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ศาลาใหม่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนคลองเลยร่วมใจร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ในปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ศาลาใหม่

กลุ่ม อสม. ม.7 บ้านคลองเลย

หมู่ 7 บ้านคลองเลย ตำบลศาลาใหม่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2556 กระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โดยใช้แนวทางการดำเนินงานที่มีชื่อว่า “ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี” เป็นระบบการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงของกลุ่มปกติ/เสี่ยง/ป่วย โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในประเทศไทย:นโยบายสู่การปฏิบัติสำหรับสถานบริการสุขภาพระดับ ปฐมภูมิฉบับนี้ได้ประยุกต์จากแนวคิดการคัดกรองประชาชน อายุ 15-65 ปีขึ้นไป ตามแนวทางปิงปองจราจรชีวิต 7 สี ภายใต้ระบบการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกัน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในประเทศไทย : นโยบาย สู่ การปฏิบัติเพื่อส่งเสริมให้พื้นที่นำสู่การปฏิบัติจริงได้อย่างสอดคล้องเชื่อมโยงอย่างเหมาะสม สู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม โดยเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) 2 ส. (ดื่มสุรา สูบบุหรี่) ในการควบคุมป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคสมอง โรคไตวาย โรคมะเร็งซึ่งมีหลักการดำเนินงาน ดังนี้ ขั้นที่หนึ่งคัดกรองประชาชน อายุ 15-65 ปีขึ้นไป และจำแนกเป็น 7 สี/7 กลุ่ม คือ กลุ่มปกติ (สีขาว) กลุ่มเสี่ยง (สีเขียวอ่อน) และกลุ่มป่วยต้องกินยาควบคุมอาการ ได้แก่ ป่วยระดับ 0 (สีเขียวเข้ม) ป่วยระดับ 1 (สีเหลือง) ป่วยระดับ 2 (สีส้ม) ป่วยระดับ 3 (สีแดง) และป่วยรุนแรงมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ตา ไต เท้า (สีดำ) ขั้นที่สองดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) 2 ส. (สุรา สูบบุหรี่) เพื่อควบคุมป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคสมอง โรคไตวาย โรคมะเร็ง ขั้นที่สามกระบวนการสุขศึกษาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และสี่การติดตามประเมินผลจากระดับความสีที่ลดลงซึ่งลดความรุนแรงลง
จากการดำเนินงานคัดกรองความเสี่ยงโรคความดันโลหิตและเบาหวานและติดตามเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง ในกลุ่มอายุ 15 ปี ขึ้นไป ปีงบประมาณ 2565 ของ อสม. หมู่ 7 บ้านศาลาใหม่ พบอัตราป่วยรายใหม่ของโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 8 คน คิดเป็น 493.83 ต่อแสนประชากร เพิ่มขึ้นจากปี 2564 (7 คน 430.24 ต่อแสนประชากร) อัตราป่วยตายด้วยโรคความดันโลหิตสูงเท่ากับ 1.54 ลดลงจากปี 2564 (4.65) และพบอัตราป่วยรายใหม่ของโรคเบาหวาน จำนวน 4 คน คิดเป็น 246.91 ต่อแสนประชากร เพิ่มขึ้นจากปี 2564 (4 คน 184.39 ต่อแสนประชากร) อัตราป่วยตายด้วยโรคความเบาหวานเท่ากับ 1.59 ลดลงจากปี 2564 (6.35) การเฝ้าระวังความเสี่ยงอย่างต่อเนื่องและการส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยตนเองมีความจำเป็น เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนและเพื่อให้เกิดความตระหนักที่ยั่งยืน ทั้งในด้านอาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ ซึ่งส่วนใหญ่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านอาหาร ที่ต้องส่งเสริมการบริโภค ผัก ผลไม้ ลดละเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆเช่น ลดปริมาณข้าว เลี่ยงน้ำบูดู ฯลฯ และใช้เมนูอาหารพื้นบ้าน เมนูอาหารเป็นยา เมนูชูสุขภาพ ผักสมุนไพรเพื่อสุขภาพ เพื่อการส่งเสริมและป้องกันโรค

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมและเกิดความยั่งยืนในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชนด้วยกันเอง
  1. กลุ่ม/ชุมชน/กลุ่มเป้าหมาย มีการรวมตัวกันตรวจสุขภาพ บันทึกผล การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และติดตามเฝ้าระวังสุขภาพอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
0.00
2 2. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่เกิดความตระหนัก ในการตรวจสุขภาพ เฝ้าระวังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสมด้วยตัวเองอย่างต่อเนื่อง

2.อัตราป่วยรายใหม่ของโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ต่อแสนประชากรลดลงจากปี 2565
3.อัตราการป่วยตายด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ลดลงจากปี 2565

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการคัดกรองตรวจสุขภาพกลุ่มเสี่ยง (การตรวจสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการคัดกรองตรวจสุขภาพกลุ่มเสี่ยง (การตรวจสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50คนๆ ละ 2 ครั้งๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25.- บาท  เป็นเงิน 2,500.-บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆ ละ 2 ครั้งๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 70.- บาท  เป็นเงิน 7,000.-บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 9,500.-บาท (เก้าพันห้าร้อยบาทถ้วน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อัตราการป่วย/ตายด้วยโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน/อัมพฤกษ์ อัมพาตลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนตระหนักและใส่ใจในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชน สามารถพึ่งพาตนเองได้โดยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพหรือวิถีชีวิตที่ก่อหรือเสริมการเป็นโรคได้ถูกต้องเหมาะสม
2. อัตราการป่วย/ตายด้วยโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน/อัมพฤกษ์ อัมพาตลดลง
3. อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวานลดลง


>