กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านขาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการขยับกายสบายชีวี เปลี่ยนวิถีสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านขาว

ชมรมอาสาสมัครสาธารสุขหมู่ที่ 3 ตำบลบ้านขาว

1.นางพรรณี ผอมเซ่ง
2.นางสาววริษฐา เพ็งศรี
3.นางปริชาติ ฐานะพันธ์
4.นางคณภรณ์ ชูบัวทอง
5.นางจิรนันท์ ราชจันทร์

ตำบลบ้านขาว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในด้านต่างๆ ที่มีความทันสมัย สะดวกสบายมากขึ้น ทำให้วิถีชีวิตของคนในปัจจุบันเปลี่ยนไปประชาชนมีการออกกำลังกายน้อยลง ทำให้ร่างกายอ่อนแอ และปัจจุบันปัญหาโรคไม่ติดต่อเป็นปัญหาสาธารสุขที่สำคัญของประเทศ จากรายงานของกระทรวงสาธารสุขพบว่า โรคที่เป็นปัญหาในชุมชน 5 อันดับแรก ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อ ได้แก่โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคระบบกล้ามเนื้อและโครงร่าง โรคไข้มันอุดตันในเส้นเลือดและโรคหัวใจ ผู้ป่วยส่วนใหญ่พบว่าพบในกลุ่มวัยแรงงานและกลุ่มผู้สูงอายุ จากกการสอบถามพบในผู้ป่วยขาดการออกกำลังกายและบริโภคอาหารไม่ถูกต้องก่อให้เกิดปัญหาของสุขภาพในชุมชน ซึ่งถ้าประชาชนได้บริโภคอาหารอย่างถูกสุขลักษณะ และมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ มีการรวมกลุ่ม มีกิจกรรมร่วมกันเพื่อจรรโลงจิตใจให้สร้างสูข ก็สามารถลดปัญหาดังกล่าวได้ ชมรม อสม.หมู่ที่ 3 บ้านขาว ตำบลบ้านขาว จึงจัดทำโครงการโครงการขยับการสบายชีวี เปลี่ยนวิถีสุขภาพ เพื่อให้มีการออกำลังกาย ขึ้น ซ่งการออกกำลังกายจะเป็นแอโรบิก ที่เป็นการกระตุ้นให้ประชาชนมีความตะหนักและตื่นตัว เห็นความสำคัญของการออกกำลังกายมีความสนุกสนาน ผ่อนคลาย ไม่จำเจใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ แล้วยังเสริมสร้างให้ร่างกายแข็งแรง เสริมสร้างสามัคคี และที่สำคัญการออกกำลังกายยังลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าวด้วยตรงในการแก้ปัญกาสุขภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่หมูที่ 3 บ้านขาว กลุ่มวัยทำงานและกลุ่มผู้สูงอายุมีการออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรม เช่น เบาหวาน ความดัน ไขมัน หลอดเลือดสมอง

มีการจดบันทึกรายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมเต้นแอโรบิกทุกวัน

0.00
2 ซื้อเครื่องขยายเสียงพร้อมลำโพง เพื่อออกกำลังกายแบบแอโรบิก

ผลการตรวจภาวะสุขภาพของผู้เข้าร่วมร่วมกิจกรรมก่อนและหลังออกกำลังกายมีภาวะสุขภาพดีขึ้น

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ 20
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการออกกำลังกาย (เต้นแอโรบิก)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการออกกำลังกาย (เต้นแอโรบิก)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนในชุมชนบ้านขาวเกิดความตื่นตัว และเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย
2.ประชาชนในชุมชนบ้านขาวมีการมาร่วมกิจกรรมออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้น
3.ประชาชนในชุมชนบ้านขาวได้ออกกำลังกาย และเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
4.ประชาชนในชุมชนบ้านขาวมีสุขภาพร่างกายแข็งมีโรคภัยไข้เจ็บน้อยลงหรือปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ
5.ประชาชนบ้านขาวมีสถานที่ออกกำลังกาย และเกิดปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน


>