กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.รือเสาะออก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมให้ความรู้การจัดการขยะมูลฝอยและจัดทำถังขยะอินทรีย์ในครัวเรือน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.รือเสาะออก

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่4

นางซากียะ สะอิ ประธาน อสม.หมู่ที่4
นางสาวซูไบด๊ะ วามะ อสม.หมู่ที่4
นางสาวยาลีฮัน วาเด็ง อสม.หมู่ที่4
นางแมะ มาสยี อสม.หมู่ที่4
นางสาวซากีนา ดอเลาะ อสม.หมู่ที่4

ห้องประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลรือเสาะออก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาขยะมูลฝอยถือเป็นปัญหาสำคัญซึ่งนับวันมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น อันเป็นสืบเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของประชากร ทั้งประชากรในพื้นที่และประชากรแฝงที่เพิ่มขึ้น พร้อมกับความเจริญเติบโตของเมืองตลอดจนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการอุปโภคบริโภคของประชาชนจากสถานการณ์ของขยะมูลฝอยทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ตลอดจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชน การทำลายทัศนียภาพ ความสวยงามของบ้านเมือง อีกทั้งยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และพาหะนำโรคต่าง ๆ เช่น หนู ยุง แมลงวัน ฯลฯ ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวนสุขภาพของคน ในชุมชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่าจะมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยดังกล่าวรวมถึงมีการกำหนดรูปแบบหรือวิธีการจัดการไว้แล้วแล้ว แต่ยังคงไม่เพียงพอหรือไม่สามารถตอบสนองต่อปริมาณขยะมูลฝอยทีเพิ่มมากขึ้นและยังคงก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ อาทิ เช่น ปัญหาขยะตกค้าง ก่อให้เกิดความสกปรกในพื้นที่ ปัญหาด้านกระบวนการกำจัดขยะหรือปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือสร้างมูลค่าหรือสร้างรายได้ ซึ่งจะเป็นผลให้สามารถลดปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นได้
จังหวัดนราธิวาส ได้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “นราธิวาสสะอาด” ประจำปี พ.ศ. 2565 ภายใต้ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะของประเทศ (พ.ศ. 2565 – 2570) โดยดำเนินการตั้งแต่ระดับจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมู่บ้านและชุมชน โดยใช้หลักการ 3 ช. : ใช้น้อย ใช้ซ้ำและนำกลับมาใช้ใหม่ ภายใต้กรอบการดำเนินงาน 3 ระยะ ตั้งแต่ ต้นทาง กลางทางและปลายทาง เพื่อลดปริมาณขยะและส่งเสริมการคัดแยกขยะที่ต้นทาง การจัดทำระบบเก็บขนอย่างมีประสิทธิภาพและขยะมูลฝอยได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ประกอบกับกระทรวงมหาดไทยกำหนดนโยบายการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกและการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศตามนโยบายของรัฐบาล โดยขึ้นทะเบียนของโครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเทศไทย ตามโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ตั้งแต่ระดับครัวเรือน โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคัดแยกขยะเปียกหรือขยะที่มาจากเศษอาหารออกจากขยะทั่วไป เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและแก้ไขปัญหาขยะที่เกิดจากต้นทางได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อขับเคลื่อนนโยบายการลดปริมาณและคัดแยกขยะเปียกของครัวเรือนในระดับท้องถิ่นและเป็นแหล่งเรียนรู้การจัดการ “ขยะเปียกลดโลกร้อน”องค์การบริหารส่วนตำบลรือเสาะออกจึงได้ทำโครงการอบรมให้ความรู้การจัดการขยะมูลฝอยและจัดทำถังขยะอินทรีย์ในครัวเรือน ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมการจัดการขยะอินทรีย์และลดปริมาณขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือนก่อนนำเข้าสู่กระบวนการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

ประชาชนมีการจัดการขยะอินทรีย์และกำจัดถูกต้องตามหลักวิชาการ ร้อยละ 70

1.00 1.00
2 เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้กับประชาชน กลุ่มอาสาสมัครและผู้นำชุมชนในการคัดแยกขยะครัวเรือนที่ต้นทาง

ประชาชนในพื้นที่มีการคัดแยกขยะครัวเรือนร้อยละ 70

1.00 1.00
3 เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้การจัดการ “ขยะเปียกลดโลกร้อน” และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในพื้นที่

ชุมชนมีแหล่งเรียนรู้การจัดการ ขยะเปียกลดโลกร้อน ร้อยละ 80

1.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 150
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 08/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/05/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ ชนิดและประเภทขยะ ความสำคัญของการคัดแยกขยะมูลฝอยการคัดแยกขยะเปียก ขยะแห้ง ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย งบประมาณ :ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 30 คน x 5 วัน x 60 บาท เป็นเงิน 9,000 บาท ค่าอาหารกลางวันผู้รับผิดชอบโครงการ+วิทยากร 5 คน x 5 วัน x 60 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 150 คนx 25 x 2 มื้อ เป็นเงิน 7,500 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้รับผิดชอบโครงการ+วิทยากร 5 คน x 5 วัน x 2 มื้อ เป็นเงิน 1,250 บาท ค่าวิทยากร 20 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 12,000 บาท ค่าป้ายไวนิล 1 ชิ้น เป็นเงิน 1,050 บาท ค่าสมุด 150 เล่มๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท ค่าปากกา 150 แท่งๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท ค่าแฟ้มใส่เอกสาร 150 เล่มๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท รวมเป็นเงิน 38,300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะในครัวเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
38300.00

กิจกรรมที่ 2 สาธิตวิธีการจัดทำถังขยะเปียก

ชื่อกิจกรรม
สาธิตวิธีการจัดทำถังขยะเปียก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สาธิตการคัดแยกขยะอินทรีย์ จากเศษอาหาร งบประมาณ : ถังพลาสติกสีดำ 30 ใบๆ ละ 130 บาท เป็นเงิน 3,900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนสามารถจัดทำถังขยะเปียกเพื่อใช้ในครัวเรือนได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 42,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เพื่อขับเคลื่อนการลดปริมาณและคัดแยกขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน
2. ประชาชนมีความตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง
3. ปริมาณขยะอินทรีย์ที่เข้าสู่แหล่งกำจัดมีปริมาณลดลง
4. ประชาชนที่ดำเนินการสามารถใช้พื้นที่ที่จัดทำถังขยะเปียกปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อลดรายจ่ายหรือเพิ่มรายได้ในครัวเรือนได้
5. ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง ผู้นำชุมชน อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)
ดำเนินการจัดทำถังขยะอินทรีย์หรือถังขยะเปียกในครัวเรือนตนเอง
6. เป็นแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกของหมู่บ้าน/ชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียงได้


>