กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาราโหม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสุขลักษณะจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน ตำบลบาราโหม ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาราโหม

สำนักปลัด อบต.บาราโหม

1.นายณเดชน์คุกิมิยะ
2.นายหมากปริญ
3.นางสาวญาญ่าอุรัสยา
4.นางสาวคิมเบอลี่
5.นายไบรท์วชิรวิชย์

หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 2 และ หมู่ที่ 3 ตำบลบาราโหมอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

 

500.00
2 ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

 

10.00
3 ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse) เช่น การใช้ถุงพลาสติกซ้ำ ใช้ขวดน้ำซ้ำ ใช้กระดาษสองหน้า

 

5.00
4 ร้อยละของครัวเรือนที่นำวัสดุใช้แล้วมาแปรรูปใช้ใหม่ (recycle) เช่น นำเศษผ้ามาทำถุงผ้า ผ้าเช็ดเท้า

 

5.00
5 ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

 

10.00
6 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

 

3.00
7 ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการด้านการจัดการขยะ

 

50.00

ตามที่ กระทรวงมหาดไทยกำหนดนโยบายการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกและการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ ซึ่งประเทศไทยพร้อมยกระดับการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเต็มที่ทุกวิถีทางเพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี พ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2050) และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ในปี พ.ศ.2608 กระทรวงมหาดไทย โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้ให้จังหวัดขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 และได้ขับเคลื่อนการจัดการขยะต้นทางโดยการส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนให้ครบทุกครัวเรือน โดยได้ขึ้นทะเบียนโครงการถังขยะเปียก ลดโลกร้อนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประเทศไทย ตามโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) โดยมีระยะเวลาการรับรองคาร์บอนเครดิต ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2569 นั้น เทศบาลอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านชุมชนหลังโรงเรียน จัดทำโครงการครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะอินทรีย์ภายในครัวเรือน เพื่อเป็นการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง ช่วยลดปริมาณขยะที่จะไปถึงณ สถานที่กำจัด อีกทั้งช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการขยะ กรณีที่ไม่มีการคัดแยกขยะ ขยะเปียกได้รับการจัดการด้วยการเทกอง/หลุมฝังกลบ ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซมีเทนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ กรณีมีการคัดแยกขยะ ขยะเปียกได้รับการจัดการด้วยถังขยะเปียก จะไม่เกิดการปล่อยก๊าซมีเทน แต่คงมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลดลง สามารถลดโลกร้อนจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้โดยขยะอินทรีย์เมื่อเศษอาหารย่อยสลายเป็นปุ๋ย และเป็นการสร้างจิตสำนึกให้กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในการคัดแยกต้นทาง สามารถนำไปใช้ประโยชน์และนำไปกำจัดตามหลักสุขาภิบาล เพื่อคุณภาพชีวิตที่ของประชาชนที่ดี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

500.00 100.00
2 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

10.00 50.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

3.00 5.00
4 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse)

ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse) เช่น การใช้ถุงพลาสติกซ้ำ ใช้ขวดน้ำซ้ำ ใช้กระดาษสองหน้า

5.00 10.00
5 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

10.00 20.00
6 เพื่อเพิ่มหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการในการจัดการขยะ

ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการด้านการจัดการขยะ

50.00 100.00
7 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่นำวัสดุใช้แล้วมาแปรรูปใช้ใหม่ (recycle)

ร้อยละของครัวเรือนที่นำวัสดุใช้แล้วมาแปรรูปใช้ใหม่ (recycle) เช่น นำเศษผ้ามาทำถุงผ้า ผ้าเช็ดเท้า

5.00 10.00

1.เพื่อแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย และรักษาความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของชุมชนเพื่อลดปริมาณขยะในครัวเรือน
2.เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชน ตระหนักการแก้ไขปัญหาขยะ และส่งเสริมการคัดแยกขยะครัวเรือนจากต้นทางลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน
3.ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะ ลดการปนเปื้อนขยะเปียกกับของเหลือใช้อื่น ๆ สร้างรายได้เพิ่มจากการคัดแยกขยะ ลดภาระค่าใช้จ่ายโดยการใช้ปุ๋ยหมักที่เกิดจากถังขยะเปียก เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ตลอดจนลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 300
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดหาถังขยะเพื่อทำขยะเปียก

ชื่อกิจกรรม
จัดหาถังขยะเพื่อทำขยะเปียก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ถังขยะดำใบละ 100x200=20000

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ลดปริมาณก๊าซมีเทนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ
2.สร้างจิตสำนึกในการคัดแยกขยะเพื่อเพิ่มความคุ้มค่า

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ถังขยะเปียก ลดโลกร้อน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ถังขยะเปียก ลดโลกร้อน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนในการจัดทำถังขยะเปียก และประโยชน์ของการจัดทำถังขยะเปียกใช้ในครัวเรือน โดยมีวิทยากรจากหน่วยงานภายนอกมาให้ความรู้ ระยะเวลา 1 วัน (เช้า-บ่าย) กลุ่มเป้าหมายเป็นครัวเรือนที่มีการทิ้งเศษขยะในปริมาณมาก เช่น ร้านอาหาร  ครัวเรือนขนาดใหญ่  เป็นต้น  งบประมาณที่ใช้ในกิจกรรม แบ่งเป็น
1. ค่าตอบแทนวิทยากร เป็นเงิน 600 บาท
2. ค่าอาหารว่าง 2 มื้อ เป็นเงิน 5000 บาท
3. ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ  เป็นเงิน  5000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 มีนาคม 2567 ถึง 6 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนมีความรู้ในการจัดการขยะในครัวเรือน
  2. ประชาชนตระหนักรู้ถึงผลกระทบของภาวะโลกร้อน
  3. สามารถลดขยะที่ต้องนำไปกำจัดภายนอกพื้นที่ได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 50,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ลดปริมาณขยะในการกำจัดตั้งแต่ต้นทาง
2.เพิ่มคุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม และช่วยลดภาวะโลกร้อนจากการปล่อยก๊าซมีเทนจากเศษขยะเปียก
3.ลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคที่เกิดจากขยะเปียกที่ไม่ได้กำจัดอย่างถูกวิธี


>