กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แนวทางดำเนินงาน/วิธีการสำคัญ

stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การพัฒนาทักษะประชาชนในชุมชน ในการใช้ประโยชน์จากขยะอินทรีย์ เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ การทำอาหารสัตว์
2. การพัฒนาหลักสูตรในโรงเรียน กิจกรรมการเรียนที่สอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย 3R (ใช้น้อย ใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่)
3. การเสริมสร้างองค์ความรู้ เทคนิคทางวิชาการ เทคโนโลยีที่หลากหลาย ให้แก่บุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สามารถวางแผน จัดการขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในชุมชนได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ
4. การจัดทำสื่อ คลิป หนังสั้น เพื่อเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลด้านขยะและการจัดการขยะอย่างถูกต้อง มีความชัดเจนและเข้าใจง่ายให้ประชาชนได้รับทราบ
5. ให้ความรู้และสร้างจิตสำนึกเรื่องหลีกเลี่ยงซื้ออาหารจานด่วน การซื้อสินค้าที่บรรจุภัณฑ์ใช้ครั้งเดียวทิ้ง หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6. ให้ความรู้แม่ค้า ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารในการลดการใช้โฟม และเลือกใช้บรรจุภัณฑ์แทนโฟม ถุงพลาสติก
7. รณรงค์ สร้างแคมเปญใช้แก้วน้ำ ขวดน้ำ แทนแก้ว ขวดพลาสติก
8. การสร้างแกนนำบุคคล ครัวเรือน ต้นแบบในการลดขยะในชีวิตประจำวัน
9. ร่วมกับร้านค้าชุมชนในการลดบรรจุภัณฑ์ โดยการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ลูกค้านำไปจากบ้าน เช่น ปิ่นโต กระเป๋า ถุงผ้า
10. การรณรงค์ สร้างจิตสำนึกเพื่อลดขยะที่ต้นทางในระดับครัวเรือน หน่วยงาน องค์กร
11. รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ พนักงานราชการ และลูกจ้าง ดำเนินการลดปริมาณขยะและคัดแยกขยะ ตามหลักการ 3Rs คือ ลดการใช้ (Reduce) ใช้ซ้ำ (Reuse) และนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) เช่น การใช้ถุงผ้าแทนการใช้ถุงพลาสติก การใช้ภาชนะหรืออุปกรณ์ที่สามารถใช้ซ้ำในชีวิตประจำวัน เช่น กระบอกน้ำ ตะกร้า ปิ่นโต กล่องอาหารแบบพกพา การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ฯ
12. สร้างจิตสำนึกในการรับประทานอาหาร ไม่ให้เหลือทิ้งทั้งในครัวเรือน โรงเรียน
13. สร้างจิตสำนึกในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ลดการใช้กระดาษ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการขยะในชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. จัดกิจกรรมส่งเสริมการแยกขยะในครัวเรือน โรงเรียน สำนักงาน หน่วยงานภาครัฐ ศาสนสถาน
2. สนับสนุนให้เกิดการหมุนเวียนขยะที่ยังใช้ได้มาใช้ใหม่ เช่น การจัดตั้งศูนย์รับซื้อของเก่า ทั้งของท้องถิ่นและเอกชน เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่สามารถนำขยะประเภทที่หมุนเวียนมาใช้ใหม่ได้สะดวก
3. มีกลุ่ม/ศูนย์รับขยะ Recycle ในชุมชนของเอกชน
4. สร้างต้นแบบ เช่น ครัวเรือน โรงเรียน องค์กร หน่วยงาน ในการนำขยะหมุนเวียนมาใช้ใหม่ การนำขยะไปใช้ประโยชน์ เช่น ทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ
4. การส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากขยะอินทรีย์ เช่น การนำเศษอาหารหรือผักจัดทำปุ๋ยหมัก หรือการเพาะเลี้ยงไส้เดือนดิน เชื่อมโยงกับกลุ่มเกษตรกรเพาะปลูกอินทรีย์
5. ประกวดนวัตกรรมการ recycle ในชุมชน
6. สนับสนุนการสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนจากขยะ เช่น การสร้างรองเท้าจากยางรถยนต์
7. จัดให้มีศูนย์รับซ่อมอุปกรณ์ เครื่องใช้ในชุมชน
8. จัดกิจกรรมสร้างแรงจูงใจด้านราคา เช่น โครงการใช้ถุงผ้า ปิ่นโต แก้ว ได้ราคาพิเศษ กิจกรรมหนึ่งแผงหนึ่งร้านหนึ่งถุงขยะอินทรีย์
9. มีศูนย์หรือกิจกรรมการบริจาคสิ่งของที่ยังสามารถใช้งานได้ ส่งต่อให้กลุ่มเป้าหมายอื่น เช่น เสื้อผ้า หนังสือ รถจักรยาน ฯ
10. จัดตั้งศูนย์การแลกเปลี่ยนของใช้ ศูนย์บริจาคของใช้
11. ทอดผ้าป่าขยะในชุมชน
12. จัดตั้งธนาคารขยะ/กองทุนขยะรีไซเคิล ตลาดนัดรีไซเคิล
13. สนับสนุนให้มีมาตรการจูงใจเพื่อให้มีการจัดการขยะที่ดี เช่น ให้มีรางวัลการจัดการขยะที่ดี และการใช้กลไกราคาเพื่อการคัดแยกขยะและจัดการขยะอย่างมีคุณภาพ
14. มีจุดรับขยะอันตรายในชุมชน
stars
แนวทางดำเนินงาน : การปรับระบบ กลไก
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การจัดตั้งเครือข่าย “อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก” เพื่อส่งเสริมการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
2. การจัดให้มีกลไกอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อมระดับหมู่บ้าน เป็นแกนนำต้นแบบในการจัดการขยะครบวงจร
3. การจัดให้มีกลไกสถานศึกษาโดยการผลักดันให้สถาบันการศึกษาทุกแห่ง มีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นด้านการจัดการขยะอันตราย
4. การจัดให้มีกลไกตาวิเศษ ที่มีหน้าที่ในการติดตามตรวจสอบเฝ้าระวังจุดเสี่ยงต่อการทิ้งขยะสะสมในชุมชน เช่น ที่รกร้างว่างเปล่า ที่ลับตาผู้คน ที่ดินซึ่งมีการนำสิ่งของมาทิ้งประจำ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การส่งเสริมในกลุ่มคนในชุมชนสามารถจัดการข้อมูลเพื่อการจัดการขยะชุมชน โดยการสำรวจปริมาณขยะ และวิเคราะห์องค์ประกอบของขยะ โดยทีมอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อมประจำหมู่บ้าน ทีม อสม. แกนนำเยาวชน ฯลฯ
2. ชุมชนสามารถจัดทำแผนชุมชนด้านการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม ตั้งแต่การจัดทำข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จัดเวทีคืนข้อมูล จัดทำแผนแก้ปัญหา กำหนดแผนงาน โครงการร่วมกัน ปฏิบัติร่วมกัน และร่วมติดตามประเมินผล
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนานโยบายสาธารณะด้านการจัดการขยะในชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การทำให้เกิดธรรมนูญสุขภาพ เรื่องการจัดการขยะชุมชน
2. การกำหนดกฎ มาตรการ กติกา หรือข้อตกลงร่วมเรื่องการจัดการขยะของชุมชน เช่น การคัดแยกขยะ การใช้ถุงผ้าหรือตะกร้าจ่ายตลาด การส่งเสริมการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะร้านอาหารและร้านค้าในชุมชน
3. การกำหนดมาตรการ ข้อตกลงร่วม กฏ กติกา ธรรมนูญของชุมชนในการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อเพิ่มการใช้ปุ๋ยหมัก ลดการใช้สารเคมี ซึ่งจะส่งผลถึงการใช้ประโยชน์ขยะอินทรีย์ ลดบรรจุภัณฑ์สารเคมีซึ่งเป็นขยะอันตราย
4. การบังคับใช้กฏหมาย ข้อบัญญัติท้องถิ่นด้านการจัดการขยะตามที่กำหนดไว้
stars
แนวทางดำเนินงาน : การแก้ปัญหาสาธารณสุขเบื้องต้นแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม
label_important
วิธีการสำคัญ
- แกนนำสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ ลงสำรวจประชาชนที่ได้รับผลกระทบและแนะนำการป้องกันโรค
- สนับสนุนเวชภัณฑ์และอุปกรณ์สำหรับการป้องกันโรค
- แกนนำสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ลงเยี่ยมติดตามและประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ
- การปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการไม่เป็นโรคติดต่อที่มาจากภาวะน้ำท่วม
stars
แนวทางดำเนินงาน : การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้มาลาเรียระบาด
label_important
วิธีการสำคัญ
- แกนนำสาธารณสุข(อสม.) เยาวชน และเจ้าหน้าที่ ลงสำรวจทำลายลูกน้ำยุงก้นปล่อง (หยอดทรายอะเบต,ปล่อยปลาหางนกยูง คว่ำภาชนะที่มีน้ำขัง) สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
- การปรับสภาพแวดล้อมจุดเสี่ยงต่อการเพาะพันธุ์ยุงก้นปล่อง เช่น ขยะ หรือมีการสะสมของภาชนะน้ำขังจำนวนมาก โดย แกนนำสาธารณสุข(อสม.) เยาวชน
- จ้างเหมาพ่นยุงครัวเรือนที่มีผู้ป่วยรัศมี 100 เมตร พ่น 2 ครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์
- การตรวจคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่สงสัยมีเชื้อมาลาเรียด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น และนำเข้าสู่ระบบการรักษาของโรงพยาบาล
- การรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดความตระหนักของประชาชนผ่านป้ายไวนิลและสื่อต่างๆ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การแก้ปัญหาสาธารณสุขเบื้องต้นแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากหมอกควันไฟใหม้ป่า
label_important
วิธีการสำคัญ
- แกนนำสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ ลงสำรวจประชาชนที่ได้รับผลกระทบและแนะนำการป้องกันโรค
- สนับสนุนหน้ากากอนามัยเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อทางเดินหายใจ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การแก้ปัญหาเพือแก้ปัญหาเด็กเล็กที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคมือเท้าปากระบาด
label_important
วิธีการสำคัญ
- ให้ความรู้และแนะนำการป้องกันโรคแก่ผู้ปกครองเด็กเล็ก และในศูนย์เด็กเล็ก
- ปรับสภาพแวดล้อมที่ลดปัญหาการระบาด เช่น การล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ การล้างมือบ่อยๆ ไม่ใช้แก้วน้ำดื่มร่วมกัน เป็นต้น
- ผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่ปรับปรุงทำความสะอาดโรงเรียนเด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กป้องกันการระบาด
stars
แนวทางดำเนินงาน : การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด
label_important
วิธีการสำคัญ
- แกนนำสาธารณสุข(อสม.) เยาวชน และเจ้าหน้าที่ ลงสำรวจทำลายลูกน้ำยุงลาย (หยอดทรายอะเบต,ปล่อยปลาหางนกยูง คว่ำภาชนะที่มีน้ำขัง) สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
- การปรับสภาพแวดล้อมจุดเสี่ยงต่อการเพาะพันธุ์ยุงลาย เช่น ขยะ หรือมีการสะสมของภาชนะน้ำขังจำนวนมาก โดย แกนนำสาธารณสุข(อสม.) เยาวชน
- จ้างเหมาพ่นยุงครัวเรือนที่มีผู้ป่วยรัศมี 100 เมตร พ่น 2 ครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์
- การรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดความตระหนัก
stars
แนวทางดำเนินงาน : การมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชน เช่น การจัดกิจกรรมอนุรักษ์ป่าไม้ การปลูกป่าชุมชน การปลูกต้นไม้ริมถนนเพื่อเป็นตัวกรองฝุ่นละออง
2. การจัดทำแนวป้องกันไฟ และการกำจัดเศษวัสดุ ขยะ ใบไม้แห้งที่เป็นเชื้อเพลิงในพื้นที่ริมทาง เพื่อไม่ให้มีเชื้อไฟและใช้เป็นแนวกันไฟ
3. การส่งเสริมการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพื่อการจัดการไฟป่า การเผาพื้นที่การเกษตร ตามศักยภาพและบริบทของแต่ละพื้นที่
4. การส่งเสริมการเดินทางด้วยการเดินเท้า จักรยาน และรถโดยสารสาธารณะ
5. การสร้างหรือปรับปรุงทางจักรยาน เพื่อส่งเสริมการเดินทางด้วยจักรยาน ลดการใช้รถยนต์
6. การสร้างห้องปลอดฝุ่นสำหรับศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียน สถานบริการสาธารณสุข
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การสร้างความรู้ ความเข้าใจ ก่อนเกิดสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5
- การให้ความรู้แก่ประชาชนและเกษตรกรในชุมชน รวมถึงชุมชนในประเทศเพื่อนบ้าน ถึงความสำคัญของป่า ผลกระทบที่เกิดจากไฟป่า การเผาในที่โล่งและหมอกควัน เพื่อลดการเผาในที่โล่ง
- การให้ความรู้แก่ประชาชนและเกษตรกรในชุมชน ด้านการจัดทำแนวป้องกันไฟ การกำจัดเศษวัสดุ ขยะ ใบไม้แห้งที่เป็นเชื้อเพลิงในพื้นที่ริมทาง เพื่อไม่ให้มีเชื้อไฟและใช้เป็นแนวกันไฟ
- การให้ความรู้แก่ผู้ขับขี่รถยนต์ในชุมชนด้านการดูแล บำรุงรักษาเครื่องยนต์ขั้นพื้นฐาน เพื่อยืดอายุการใช้งานเครื่องยนต์ ไม่ให้เสื่อมสภาพ ไม่เกิดควันดำ
- การให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการตลอดจนผู้ปฎิบัติงานโรงงานอุตสาหกรรมในชุมชนด้านการประกอบกิจการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรืออุตสาหกรรมสีเขียว
- การสื่อสารชุมชนเพื่อการเข้าถึงข้อมูลสำหรับการติดตาม เฝ้าระวังสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 โดยใช้ข้อมูลจากแอพพลิเคชั่น Air4Thai และเว็บไซต์ Air4Thai ของกรมควบคุมมลพิษ เว็บไซต์ www.cmuccdc.org (เครื่อง DustBoy) ของ ม.เชียงใหม่ หรือยักษ์ขาว ของ ม.แม่ฟ้าหลวง หรืออื่น ๆ ตลอดจนข้อมูลด้านอุตุนิยมวิทยา
2. การดำเนินการระหว่างเกิดสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5
- การสื่อสารถึงข้อมูลสถานการณ์ PM2.5 ที่ถูกต้อง เข้าใจง่าย และทันต่อสถานการณ์ให้แก่ชุมชน ผ่านช่องทางที่หลากหลาย เช่น เสียงตามสายในชุมชน สื่อวิทยุ สื่อโทรทัศน์ และสื่อสังคมออนไลน์
- การให้คำแนะนำประชาชนด้านการปฏิบัติตนและการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง เช่น การสวมหน้ากากป้องกันฝุ่น การลดเวลาหรืองดการทำกิจกรรมนอกบ้าน การเตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับผู้มีโรคประจำตัว
3. การพัฒนาทักษะของเกษตรกรในการแปรรูปเศษวัสดุการเกษตร (ข้าว ข้าวโพด และอ้อย) เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ เช่น การทำปุ๋ยหมัก การใช้เป็นอาหารสัตว์ การแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
4. การพัฒนาหลักสูตรในโรงเรียน กิจกรรมการเรียนที่สอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับฝุ่นละออง แหล่งกำเนิด และการจัดการฝุ่นละออง PM2.5
5. การจัดทำสื่อ คลิป หนังสั้น เพื่อเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลด้านฝุ่นละออง ที่มีความชัดเจนและเข้าใจง่ายให้ประชาชนได้รับทราบ
stars
แนวทางดำเนินงาน : ระบบและกลไกด้านการจัดการฝุ่นละออง และมลพิษทางอากาศ
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสารสนเทศ รวมถึงพัฒนาคนในชุมชนให้สามารถใช้ข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องเพื่อการจัดการฝุ่นละออง และมลพิษทางอากาศ (การป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า การเผาในที่โล่ง และหมอกควัน)
2. การจัดกลไกเฝ้าระวังจุดเสี่ยงในการเกิดไฟป่า
3. การจัดตั้งกลุ่มอาสาสมัครชุมชน หรือชุดปฏิบัติการระดับชุมชน เพื่อการสื่อสาร การเฝ้าระวัง และการดับไฟกรณีการเกิดไฟป่า หรือการเผาในพื้นที่โล่ง ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจังหวัด ป้องกันภัยอำเภอ
4. การพัฒนาระบบกำกับติดตามการปฏิบัติตามที่กฎหมายหรือหน่วยงานกำหนดโดยชุมชนมีส่วนร่วม เช่น การควบคุมการปล่อยมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิด การไม่ให้มีการเผาในไร่อ้อย
5. การสร้างชุมชนต้นแบบในการอนุรักษ์ป่าไม้ ป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า การเผาในพื้นที่เกษตร และหมอกควัน
6. การเปิดคลินิกมลพิษและห้องปลอดฝุ่นในสถานบริการสาธารณสุขช่วงเกิดสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5
stars
แนวทางดำเนินงาน : การทำกิจกรรมชุมชนให้เข้มแข็ง
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การสำรวจและจัดทำแผนที่พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าและการเผาในที่โล่งในชุมชน
2. การจัดให้มีการซ้อมแผน การเผชิญเหตุระดับชุมชน
3. การสร้างแกนนำในการจัดการปัญหาฝุ่นละอองและหมอกควัน
stars
แนวทางดำเนินงาน : การมีนโยบายสาธารณะหรือกติกาชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การกำหนดมาตรการ ข้อตกลงร่วม กฏ กติกา ธรรมนูญของชุมชน ในการห้ามการเผาป่า การเผาในพื้นที่การเกษตร และการเผาในที่โล่ง
2. การกำหนดมาตรการ ข้อตกลงร่วม กฏ กติกา ธรรมนูญของชุมชนในการลดมลพิษทางอากาศจากการคมนาคมขนส่ง เช่น การเดินหรือขี่จักรยานแทน การเลือกใช้ระบบขนส่งสาธารณะ การใช้รถร่วมกัน หรือ Car pool อย่างทางเดียวกันไปด้วยกัน
3. การสร้างแนวปฏิบัติในการควบคุมฝุ่นละอองจากการก่อสร้างของชุมชน
4. การเจรจาเพื่อทำข้อตกลงร่วมระหว่างชุมชนในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ในการห้ามการเผาป่า การเผาในพื้นที่การเกษตร และการเผาในที่โล่ง