กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านไทย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพในนักเรียน (อย.น้อย)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านไทย

รพ.สต.บ้านไทย

นายเกรียงไกร จันทร์ทป
ว่าที่ร้อยตรีหญิงวิชนันท์ พิณทอง
นางพงษ์ลัดดาฉวีวงษ์
นางสาวชนิดานิสัญตา
นางสาวธนิดาประกอบแสง

รร.บ้านไทยโพนทราย รร.บ้านไทยวิทยาคม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กที่อยู่ในวัยเรียน ซึ่งเป็นผู้ที่กระตือรือร้นในการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ และเป็นผู้ที่มีศักยภาพในตัวเอง สามารถชี้นำเพื่อนและผู้ปกครองให้สนับสนุนการดำเนินงานได้เป็นอย่างดีทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไทยจึงจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพในนักเรียน (อย.น้อย)โดยนำศักยภาพของนักเรียนมาใช้เพื่อให้กลุ่มนักเรียน อย.น้อย มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อเลือกบริโภคได้อย่างถูกต้องปลอดภัย รวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียน ครอบครัว และชุมชน ตลอดจนร่วมเป็นหูเป็นตาให้กับทางหน่วยงานราชการด้านงานคุ้มครองผู้บริโภคโดยการตรวจสอบ เฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตลอดจนโฆษณาที่โอ้อวดเกินจริง
ดังนั้นเพื่อให้นักเรียนสมาชิก อย.น้อย มีส่วนร่วมในการช่วยกันตรวจสอบ และเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ และทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดจนนำความรู้ทักษะไปปฏิบัติ ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไทยจึงได้จัดทำโครงการอย.น้อย คุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน ประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2566 ขึ้นเพื่อเพิ่มความรู้และทักษะในการตรวจสอบเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพให้แก่ อย.น้อย และเพื่อช่วยให้โรงเรียนตลอดจนในชุมชนได้รับความปลอดภัยจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไทยจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

2.1. เพื่อให้กลุ่มนักเรียน อย.น้อยได้มีความรู้เรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพและสามารถเลือกซื้อเลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย สามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียนและครอบครัว
2.2. เพื่อให้นักเรียนนำกิจกรรม อย.น้อยไปพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาพฤติกรรมสุขภาพในโรงเรียนและชุมชนได้
2.3. เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในการรณรงค์ให้ความรู้ด้านการบริโภคสู่เพื่อนนักเรียนและบุคคลอื่นๆในโรงเรียนและชุมชนได้

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 48
กลุ่มวัยทำงาน 2
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/04/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 -ประชุมคณะกรรมการเพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน -จัดทำโครงการและเสนอโครงการ -สรุปการประชุมคณะกรรมการ -กิจกรรมอบรมให้นักเรียน อย.น้อย ช่วยให้ “กินเป็น ใช้เป็น ปลอดภัย” โดยให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร

ชื่อกิจกรรม
-ประชุมคณะกรรมการเพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน -จัดทำโครงการและเสนอโครงการ -สรุปการประชุมคณะกรรมการ -กิจกรรมอบรมให้นักเรียน อย.น้อย ช่วยให้ “กินเป็น ใช้เป็น ปลอดภัย” โดยให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายจำนวน  50  คน

๑. ค่าอาหารกลางวัน   จำนวน 50 คน ๆ ละ 1 มื้อๆ ละ ๕๐ บาท        เป็นเงิน  2,500.-  บาท ๒. อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน ๆ ละ ๒ มื้อๆ ละ ๒๕ บาท  เป็นเงิน   2,500.-  บาท 3. ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ    600   บาท                       เป็นเงิน   3,600.-  บาท 4. ค่าป้ายโครงการ จำนวน 1 ป้าย ๆ ละ 500  บาท                        เป็นเงิน      500.-  บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  9,100.-บาท (เก้าพันหนึ่งร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80


>