กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองทรายขาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองทรายขาว

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าเหนาะ

1.นายธีรพจน์ พงศ์ดารา
2.นางฐิติยา รักษาแก้ว
3.นางสุพัตรา คะโมระวงค์
4.นางนันธิญา เดชอรัญ
5.นางสาวอนงค์ ยาชะรัด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โครงสร้างของประเทศไทยในปัจจุบันมีอัตราการเกิดลดน้อยลง และประชากรผู้สูงวัยมีเพิ่มจำนวนมากขึ้นพร้อมๆ กับการเกิดโรคต่างๆ มากมาย เช่น โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันในเลือดสูง โรคหลอดเลือด โรคหัวใจ ที่เรียกรวมอีกชื่อว่า ''โรคติดต่อไม่เรื้อรัง'' ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของอัตราการเสียชีวิตในคนไทยปัจจุบันซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่ประชาชนไทยมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น การบริโภคอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ ขาดการออกกำลังกาย โดยที่ประชาชนจำนวนมากไม่รู้ตัวเองว่ามีความผิดปกติโรคแล้ว และไม่ได้รับการวินิจฉัย และการรักษาที่เหมาะสม จะทราบก็ต่อเมื่อเกิดผลแทรกซ้อนขึ้นแล้ว ซึ่งอาจเกิดเสียชีวิตฉับพลัน หรืออาจเกิดความพิการที่ไม่อาจแก้ไขได้ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองตีบและแตก โรคไตวาย และตาบอดมีข้อมูลยืนยันว่าโรคเหล่านี้เป็นภาระมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคม โดยที่ประชาชนจำนวนมากไม่รู้ตัวว่าตัวเองมีความผิดปกติ จะทราบก็ต่อเมื่อเกิดผลแทรกซ้อนขึ้น ซึ่งอาจเสีชีวิตฉับพลันหรือเกิดความพิการที่ไม่อาจแก้ไขได้โรคเบาหวานก็เช่นเดียวกันเนื่องจากภาวะทุโภชนาการ โดยเฉพาะในแม่ตั้งครรภ์เมื่อหลายสิบปีก่อน และพฤติกรรมการบริโภครวมถึงการขาดการออกกำลังกายทำให้ประชาชนป่วยเป็นโรคเบาหวานเพิ่มมากขึ้น
โครงการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ประจำปี 2566 จะเน้นการตรวจสุขภาพเชิงรุกโดยให้อาสาสมัครสาธารณสุขภาพและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ดำเนินการคัดกรองโรคความดันโลหิตและโรคเบาหวาน ในประชาชนอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป เพื่อจำแนกเป็นกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงสูง กลุ่มผู้ป่วยรายใหม่ กลุ่มป่ายที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน และกลุ่มป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน เพื่อจะได้วางกลยุทธ์เชิงรุกในการดูแลประชาชนอย่างต่อเนื่อง ให้ประชาชนได้รับทราบภาวะสุขภาพของตนเองและลดความเสี่ยง รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้มีสุขภาพแข็งแรง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าเหนาะ จึงให้ความสำคัญในการกำหนดมาตราการและกลวิธีการดำเนินการเชิงรุกที่จะส่งเสริมสุขภาพป้องกันควบคุมโรคและการให้บริการรักษาพยาบาลโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง และเพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ให้ความเอาใจใส่ต่อสุขภาพของตนเอง จึงได้จัดโครงการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ประจำปี 2566 ขึี้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไปและกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองโรคที่ครอบคลุมและค้นหาผู้ป่ายโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงได้รับการดูแลรักษาในระยะแรก

ประชากรกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ครอบคลุมมากกว่าร้อยละ 90

90.00 92.00
2 2.เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนัก และมีร่วมในการดำเนินงานและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานและเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,000
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.เขียนโครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณ

ชื่อกิจกรรม
1.เขียนโครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 31 ธันวาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2.ประชุมชี้แจงโครงการแก่ อสม. และสำรวจกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
2.ประชุมชี้แจงโครงการแก่ อสม. และสำรวจกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ครอบคลุมมากกว่าร้อยละ 90 และเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ดีขึ้น เพื่อลดต้นทุนการสร้างสุขภาพในระยะยาว

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 3.ประชาสัมพันธ์โครงการฯ ภายในหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
3.ประชาสัมพันธ์โครงการฯ ภายในหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ครอบคลุมมากกว่าร้อยละ 90 และเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ดีขึ้น เพื่อลดต้นทุนการสร้างสุขภาพในระยะยาว

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 4.ดำเนินการตรวจคัดกรองในแต่ละหมู่บ้านทั้ง 3 หมู่ (หมู่ที่ 3,5,6)

ชื่อกิจกรรม
4.ดำเนินการตรวจคัดกรองในแต่ละหมู่บ้านทั้ง 3 หมู่ (หมู่ที่ 3,5,6)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ดำเนินการตรวจคัดกรองในแต่ละหมู่บ้านทั้ง 3 หมู่ (หมู่ที่ 3,5,6) มีค่าอาหารว่าง 1,000 คนๆละ 10 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท และค่าครุภัณฑ์ เครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 3 เครื่องๆละ 2,700 บาท เป็นเงิน 8,100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ครอบคลุมมากกว่าร้อยละ 90 และเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ดีขึ้น เพื่อลดต้นทุนการสร้างสุขภาพในระยะยาว

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18100.00

กิจกรรมที่ 5 5.กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องแนวทางการคัดกรอง โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง แนะแนวทางการดูแล ผู้รับการคัดกรองทั้งกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มสงสัยเป็นโรค

ชื่อกิจกรรม
5.กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องแนวทางการคัดกรอง โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง แนะแนวทางการดูแล ผู้รับการคัดกรองทั้งกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มสงสัยเป็นโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ครอบคลุมมากกว่าร้อยละ 90 และเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ดีขึ้น เพื่อลดต้นทุนการสร้างสุขภาพในระยะยาว

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 6.จัดระบบการติดตามประเมินผลและจัดทำระบบฐานข้อมูลที่จำเป็นเพื่อการเฝ้าระวังโรค

ชื่อกิจกรรม
6.จัดระบบการติดตามประเมินผลและจัดทำระบบฐานข้อมูลที่จำเป็นเพื่อการเฝ้าระวังโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ครอบคลุมมากกว่าร้อยละ 90 และเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ดีขึ้น เพื่อลดต้นทุนการสร้างสุขภาพในระยะยาว

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 7 7.สรุปและประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
7.สรุปและประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ครอบคลุมมากกว่าร้อยละ 90 และเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ดีขึ้น เพื่อลดต้นทุนการสร้างสุขภาพในระยะยาว

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ครอบคลุมมากกว่าร้อยละ 90 และเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ดีขึ้น เพื่อลดต้นทุนการสร้างสุขภาพในระยะยาว


>