กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แนวทางดำเนินงาน/วิธีการสำคัญ

stars
แนวทางดำเนินงาน : ระยะที่ 1 การป้องกัน การระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การสร้างความรู้ ความเข้าใจ การจัดการความรู้และนวัตกรรมและการสื่อสารเรื่องโรคติดต่ออุบัติใหม่
1.1 เผยแพร่สื่อป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่ ให้เข้าถึงประชาชนในชุมชน เช่น สื่อเอกสารจากเว็บไซต์ หนังสั้น คลิป ที่เป็นสื่อเข้าใจง่าย เป็นภาษาท้องถิ่น และคนทั่วไปเข้าใจง่ายนำไปปฏิบัติได้ถูกต้อง
1.2 ประชาสัมพันธ์ดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่ ผ่านการจัดรายการวิทยุชุมชน การใช้เสียงตามสาย เพื่อรณรงค์และกระตุ้นให้คนทั่วไปได้ตระหนักในการป้องกันตนเองจากโรคติดต่ออุบัติใหม่
1.3 เผยแพร่คู่มือคำแนะนำในการจัดการโรคติดต่ออุบัติใหม่ แจกจ่ายตามสถานที่ ได้แก่ คู่มือการป้องกันและจัดการโรคติดต่ออุบัติใหม่ ในที่สาธารณะ ในศาสนสถาน ในบ้าน ในชุมชน และในกรณีการจัดงานพิธีต่างๆ เช่น งานศพ
1.4 เผยแพร่สื่อคู่มือ โปสเตอร์ สำหรับประชาชน โดยใช้ภาษาท้องถิ่น เข้าใจง่าย ในการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่ เช่น การล้างมือ 7 ท่า นานอย่างน้อย 20 วินาที การใส่-ถอดหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การผลิตหน้ากากผ้า การสังเกตอาการเบื้องต้นและการตัดสินใจไปพบแพทย์ การปฏิบัติตนเมื่อกลับมาจากพื้นที่เสี่ยง การจัดการขยะอุปกรณ์ปนเปื้อน เช่น หน้ากากอนามัย สำหรับชุมชน
1.5 เผยแพร่คู่มือ สื่อ การป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่ตามหลักศาสนา การเยียวยาจิตใจในผู้ป่วยผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต
1.6 สร้างความรู้ ความเข้าใจให้เกิดการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุ ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ให้รับประทานอาหารครบห้าหมู่ มีกิจกรรมทางกายให้เพียงพอ เข้มงวดในการสวมใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า ล้างมือบ่อยๆ ทุกครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง รวมทั้งการงดเหล้าและบุหรี่
1.7 รณรงค์ส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายในบ้านที่เหมาะสมในแต่ละกลุ่มวัย การลดเหล้าหรือบุหรี่ เพื่อช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง มีภูมิต้านทาน ผ่านสื่อออนไลน์
1.8 เตรียมความพร้อมของประชาชนในพื้นที่ต่อการให้ข้อมูลที่เป็นจริงกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเมื่อมีการเดินทางกลับมาจากพื้นที่เสี่ยงหรือสัมผัสกับผู้ป่วย
1.9 อบรมให้ความรู้การป้องกันโรคทั้งระดับปัจเจกบุคคล ครอบครัว และชุมชน การจัดทำหน้ากากอนามัยและเจลล้างมือ รวมทั้งการทำความสะอาดบ้านและพื้นที่ที่มีคนใช้บ่อย ด้วยน้ำยาซักผ้าขาว ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อโรคได้เท่ากับแอลกอฮอล์ 70%
1.10 พัฒนาระบบแอพลิเคชัน เว็ปเพจการซื้อขายสินค้าออนไลน์ การควบคุมราคา และมาตรฐานคุณภาพสินค้าด้านโภชนาการ
2. การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล พัฒนาขีดความสามารถของเครือข่ายและชุมชนในการจัดการโรคติดต่ออุบัติใหม่
2.1 การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง ทีม อสม. ชรบ. อปพร. ให้มีทักษะที่จำเป็น เช่น การวัดไข้ การสังเกตอาการป่วยเบื้องต้น การให้คำปรึกษาแนะนำคนในชุมชนต่อการป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่ การช่วยเหลือและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น การให้คำปรึกษาเบื้องต้นสำหรับผู้มีปัญหาสุขภาพจิต และการสร้างความเข้าใจกับคนในชุมชนให้มีความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่ออุบัติใหม่ เพื่อให้กำลังใจผู้ป่วยโดยไม่แบ่งแยก
2.2 จัดทำระบบการส่งต่อผู้ป่วยโรคติดต่ออุบัติใหม่ให้ถึงมือแพทย์เร็วที่สุด โดยเริ่มจากผู้ป่วยเริ่มสงสัยตัวเองและไปพบแพทย์ การจัดการรถรับส่งในกรณีผู้ป่วยที่เดินทางลำบากไม่มีรถยนต์ส่วนตัว หรือไม่มีญาติพี่น้อง
2.3 พัฒนาศักยภาพเยาวชนและผู้ที่สนใจทั่วไปจัดทำสื่อสารสนเทศที่เกี่ยวกับการป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่ เช่น การทำคลิปวิดีโอ การจัดการประชุมออนไลน์ เพื่อรณรงค์และกระตุ้นให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันตนเองจากโรคติดต่ออุบัติใหม่ และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้กับคนอื่นได้
2.4 อบรมเชิงปฏิบัติการให้เครือข่ายต่างๆ ในชุมชนเตรียมการเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารในช่วงโรคติดต่ออุบัติใหม่ เรื่องการเพาะพันธุ์พืชผักเพื่อปลูกไว้รับประทานเอง การเลี้ยงสัตว์ไว้บริโภค การแปรรูปสินค้าและอาหารสด การถนอมอาหาร และการเตรียมให้มีอาหารไว้ในครัวเรือน การทำอาชีพเสริม รวมทั้งการจัดการด้านการเงินในระดับครัวเรือนและชุมชน
3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่ และการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
3.1 การจัดเตรียมสถานที่กลางในหมู่บ้านหรือตำบล หรือสถานประกอบการที่มีลักษณะเป็นห้องพัก เช่น โรงแรม รีสอร์ท ที่สมัครใจเข้าร่วม เพื่อกักตัวกลุ่มเสี่ยงและผู้สัมผัสใกล้ชิด
3.2 การจัดตั้งครัวกลางในการช่วยเหลือด้านอาหารในช่วงการกักตัวอยู่บ้าน
3.3 การทำความสะอาดพื้นที่สาธารณะ เช่น ตลาดสด ห้องน้ำสาธารณะ ศาสนสถาน เพื่อฆ่าเชื้อโรค และจัดตั้งเจลแอลกอฮอล์ล้างมือหรืออ่างล้างมือและสบู่ไว้ในบริเวณพื้นที่ส่วนกลาง
3.4 การปรับรูปแบบตลาด แหล่งจำหน่ายสินค้า ให้มีระยะห่างของร้านค้า ผู้ขาย-ผู้ซื้อ อย่างน้อย 1-2 เมตร สร้างวินัยการมีระยะห่างเข้าแถวซื้อสินค้า วัดไข้ก่อนเข้าตลาด หรือจัดทำตลาดออนไลน์
3.5 สร้างความมั่นคงทางอาหาร จัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์พืชและข้าว เพื่อรักษาพันธุกรรมพืชท้องถิ่น จัดตั้งธนาคารปู ธนาคารปลา เพื่อเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำ
3.5 การหาจิตอาสา ที่สมัครใจในการช่วยเหลืองานโรคติดต่ออุบัติใหม่ และการบริจาคอาหาร อุปกรณ์ สิ่งของที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนคนทำงาน กลุ่มเปราะบาง ผู้ยากจน
3.6 จัดทำโครงการ matching model (การพัฒนาระบบตลาดครบวงจร) จับคู่ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ผู้บริโภค ช่วยพัฒนาการผลิตให้มีคุณภาพ การจำหน่ายที่ได้ราคา จัดทำตลาดกลางในหมู่บ้านเป็นแหล่งกระจายสินค้า
3.7 พัฒนาศักยภาพแกนนำ คณะกรรมการกองทุนฯ ในการใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร การประชุมออนไลน์
4. การสร้างนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่
4.1 จัดทำข้อตกลง ธรรมนูญ มาตรการชุมชน ที่คนในชุมชนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมเพื่อป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่ รวมทั้งมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลดเหล้า บุหรี่ สารเสพติด ในช่วงโรคติดต่ออุบัติใหม่
4.2 จัดทำแผนฟื้นฟูชุมชนเพื่อบรรเทาผลกระทบทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว
4.3 ทบทวนกองทุนต่างๆ ที่มีอยู่ในชุมชน และจัดตั้งกองทุนสวัสดิการช่วยเหลือในช่วงที่ไม่มีรายได้ และพักชำระหนี้ทั้งดอกเบี้ยและเงินต้นของกองทุนในชุมชน
5. ปรับระบบบริการสุขภาพ สร้างกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน เครือข่ายผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการโรคติดต่ออุบัติใหม่
5.1 สร้างเครือข่าย องค์กร หน่วยงาน ผู้นำชุมชน อสม. อาสาสมัครจิตอาสา จัดตั้งเป็นคณะกรรมการเฝ้าระวัง คัดกรอง และติดตามค้นหากลุ่มเสี่ยงในชุมชน
5.2 สำรวจและจัดทำฐานข้อมูลกลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วย และผู้สัมผัสเพื่อเตรียมความพร้อมและวางแผนรับมือกับโรคติดต่ออุบัติใหม่
5.3 จัดทำแผนชุมชนในการป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่
5.4 สร้างหรือพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อเชื่อมโยงการทำงานร่วมกัน ทั้งด้านการเฝ้าระวังการระบาด การสร้างความมั่นคงทางอาหารในชุมชน เช่น ระบบแอพฯ NIEMS-Care เพื่อเฝ้าระวังการระบาดระดับครัวเรือน โดยประชาชนรายงานสถานะสุขภาพประจำวัน ทีมตำบลสามารถเห็นข้อมูลครัวเรือนว่าอยู่ในสถานะเขียว เหลือง ส้ม แดง ระบบแอพฯ greens mile เพื่อใช้เป็นข้อมูลกลางของเกษตรกรที่ทำเรื่องอาหารปลอดภัย เก็บข้อมูลร่วมกัน ดูข้อมูลร่วมกัน วางแผนการผลิตร่วมกัน รวมทั้งใช้เพื่อการแลกเปลี่ยนผลผลิตกับพื้นที่ที่อยู่ในโซนใกล้เคียงกัน
5.5 สนับสนุนกลไกทางศาสนา เช่น ชมรมอิหม่ามระดับอำเภอ ในการตีความและสื่อสารนโยบายต่างๆ มาตรการใช้หลักศาสนา คำสั่งจากทางจังหวัด และสำนักจุฬาราชมนตรี สำนักอิสลามประจำจังหวัด ในการป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่ ลงสู่การปฏิบัติในพื้นที่ เช่น การประกาศขอความร่วมมือในการงดละหมาดวันศุกร์ งดการละหมาดในช่วงรอมฏอน
5.6. การสร้างเครือข่าย อสม.เพื่อจัดส่งยารักษาต่อเนื่องแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
5.7 การสร้างระบบบริการส่งต่อผู้ป่วยโรคไตเพื่อการเข้าถึงการฟอกไต
stars
แนวทางดำเนินงาน : ระยะที่ 2 การแก้ ปัญหาการระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การสร้างความรู้ ความเข้าใจ การจัดการความรู้และนวัตกรรมและการสื่อสารในการแก้ปัญหาการระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่
1.1 เผยแพร่ข้อมูลโรคติดต่ออุบัติใหม่ เกี่ยวกับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ อาการ กลุ่มเสี่ยงที่ควรเข้ารับการคัดกรอง การปฏิบัติตนขณะป่วย พฤติกรรมที่ควรเลี่ยง พฤติกรรมที่ต้องปฏิบัติ การกักตัว การรักษา เพื่อให้คนในชุมชนรับรู้ ตระหนัก แต่ไม่ตระหนก อาจเผยแพร่โดยกลุ่ม อสม./แผ่นพับ/เสียงตามสาย/กลุ่มไลน์ชุมชน/รถแห่
1.2 เผยแพร่ความรู้แก่คนที่ไม่เป็นโรค ในการปฏิบัติตนที่เหมาะสมกับผู้ป่วย และหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาจนหายแล้ว (ไม่ตื่นตระหนก และไม่แสดงออกถึงการรังเกียจ) โดยทีม อสม./แผ่นพับ/เสียงตามสาย/กลุ่มไลน์/รถแห่
1.3 สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับชุมชน ต่อการเข้ามาของคนที่มาจากพื้นที่เสี่ยงสูงแล้วต้องมากักตัวในพื้นที่ ไม่ให้รังเกียจหรือต่อต้านการเข้าพื้นที่ อาจใช้การประชุมออนไลน์ เพื่อให้ความรู้และรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะของคนในชุมชนด้วย
1.4 สร้างความเข้าใจกับครอบครัวที่มีสมาชิกเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงสูง ต่อการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง เช่น การให้คนที่เดินทางมาได้กักตัว การเว้นระยะห่างทางสังคม การจัดเตรียมสิ่งของที่จำเป็นสำหรับใช้ส่วนตัว โดยทีม อสม./แผ่นพับ/เสียงตามสาย/กลุ่มไลน์
1.5 ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการศพแก่ญาติ กรณีมีการเสียชีวิตด้วยโรคติดต่ออุบัติใหม่ โดยผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และ กลุ่มอสม. ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
2. การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล พัฒนาขีดความสามารถของเครือข่ายและชุมชนในการแก้ปัญหาการระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่
2.1 จัดกระบวนการให้กลุ่ม หน่วยงานต่างๆ มีแผนมีโครงการควบคุมโรคติดต่ออุบัติใหม่ รวมทั้งโครงการที่เกี่ยวข้องกับการลดเหล้า บุหรี่ สารเสพติด ในช่วงโรคติดต่ออุบัติใหม่
2.2 ในการทำโครงการให้มีกระบวนการเก็บข้อมูล วางแผนโดยใช้ข้อมูล นำแผนสู่การปฏิบัติ มีการติดตามประเมินผล (PDCA)
2.3 ให้ความรู้และสนับสนุนต่อแกนนำ/กลุ่ม ให้มีทักษะในการเก็บข้อมูล การจัดทำข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จัดเวทีคืนข้อมูล
3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการแก้ปัญหาการระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ และการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
3.1 ใช้รูปแบบการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นผ่านการโทรศัพท์ การสื่อสารทางไลน์ แทนการติดต่อแบบเผชิญหน้า เพื่อสร้างกำลังใจให้ผู้ป่วยโรคติดต่ออุบัติใหม่
3.2 การทำกิจกรรมร่วมกันผ่านสื่อต่างๆ เช่น ออกกำลังกายร่วมกันผ่านระบบออนไลน์ รับประทานอาหารร่วมกันผ่านระบบออนไลน์ (Zoom, facebook live, Line, chat)
3.3 ระดมทุนในชุมชนเพื่อช่วยเหลือกลุ่มเสี่ยงที่ถูกกักตัวและผู้ป่วยขณะถูกกักโรค
3.4 ชุมชนให้การช่วยเหลือ ดูแล และเอาใจใส่ครอบครัวที่พบผู้ติดเชื้อโรคติดต่ออุบัติใหม่ ตามความเหมาะสม
3.5 จัดกิจกรรมให้ผู้ป่วยเพื่อลดความเครียดขณะรักษาตัว เช่น การมีกิจกรรมทางกายที่เอื้อต่อผู้ป่วยที่ถูกกักตัวพร้อมๆ กันผ่านการวิดีโอคอล การเปิดกลุ่มสนทนา การประสานให้ญาติที่ไม่เก่งด้านเทคโนโลยีได้คุยกับผู้ป่วย ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อลดความเครียดและสร้างกำลังใจ
3.6 ชุมชนช่วยกันจัดหาวัสดุและอุปกรณ์ในการป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่ แจกจ่ายคนในพื้นที่ให้เพียงพอ เช่น หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ
3.9 รับสมัครจิตอาสาในการดูแลผู้ถูกกักตัว รวมทั้งการระดมทุน รับบริจาคอาหารเพื่อคนยากลำบากที่ไม่สามารถเข้าถึงอาหาร จากผลกระทบจากโรคติดต่ออุบัติใหม่ ในรูปการตั้งโรงทาน ตู้ปันสุข ในชุมชน
3.10 การทำความสะอาดสถานที่เสี่ยงต่อการมีโรคติดต่ออุบัติใหม่ ในชุมชน เช่น ตลาดนัด ศาสนสถาน โรงพยาบาล รวมทั้งการกำจัดขยะที่อาจปนเปื้อนโรคติดต่ออุบัติใหม่
4. การสร้างนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการแก้ปัญหาการระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่
4.1 สร้างข้อตกลง ความร่วมมือในการงดกิจกรรมการรวมตัว
4.2 สร้างมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social distancing) ในกรณีงานชุมชน งานประเพณีตามแนวทางชีวิตวิถีใหม่ (New normal)
4.3 สร้างข้อตกลงกับโรงเรียน/ที่ทำงานในชุมชน หยุดเรียน/หยุดงาน/อนุญาตให้กลุ่มเสี่ยง Work form Home ได้
4.4 สร้างข้อตกลงในการรวมกลุ่ม ให้สวมหน้ากากอนามัยทุกคน และจัดสถานที่นั่งให้ห่างกันอย่างน้อย 2 เมตร และมีเจลล้างมือบริการ
4.5 มาตรการให้การช่วยเหลือ ดูแล และเอาใจใส่ครอบครัวที่พบผู้ติดเชื้อโรคติดต่ออุบัติใหม่ เช่น ผู้ป่วยอยู่กับหลาน ชุมชนควรให้การช่วยเหลือดูแลหลานขณะที่ผู้ป่วยต้องรักษาตัวให้หายจากโรค
4.6 ชุมชนมีมาตรการต้อนรับผู้ป่วยที่หายจากโรคติดต่ออุบัติใหม่กลับสู่ชุมชน (ไม่ตีตราผู้ป่วย)
5. ปรับระบบบริการสุขภาพ สร้างกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน เครือข่ายผู้มีส่วนได้เสียในการแก้ปัญหาการระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่
5.1 การทำระบบข้อมูลรายชื่อและจำนวนสถิติผู้ป่วยรายใหม่ ผู้ป่วยสะสม ผู้ป่วยเสียชีวิต และผู้ป่วยที่กลับบ้านได้ รวมทั้งกลุ่มเสี่ยงรอการยืนยัน ของแต่ละวัน แยกตามพื้นที่
5.2 นำข้อมูลที่ได้มาวางแผนแก้ไขโรคติดต่ออุบัติใหม่ ทำแผนชุมชนในการป้องกัน การแก้ไข และการฟื้นฟู ชุมชนในการจัดทำโมเดลชุมชนจัดการโรคติดต่ออุบัติใหม่ โดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ทั้งนี้อาจใช้การประชุมออนไลน์
5.3 มีการแบ่งบทบาทการทำงานในลักษณะหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันไปทำงานเพื่อลดความเครียด เช่น ฝ่ายจัดซื้อของ ฝ่ายสถานที่ การอยู่เวรกลางวัน กลางคืน ฝ่ายสาธารณสุข
5.4 ถอดบทเรียนผลที่เกิดขึ้น ความสำเร็จ ปัญหาอุปสรรค เพื่อปรับปรุงแก้ไข และสร้างโมเดลต้นแบบชุมชนจัดการโรคติดต่ออุบัติใหม่
stars
แนวทางดำเนินงาน : ระยะที่ 3 การฟื้นฟูและเยียวยาภายหลัง การระบาดของโควิด -19
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การสร้างความรู้ ความเข้าใจ การจัดการความรู้และนวัตกรรมและการสื่อสารเรื่องโรคติดต่ออุบัติใหม่
1.1 พัฒนาระบบการสื่อสารกับสาธารณชนอย่างต่อเนื่องและชัดเจน ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นต้องรู้ รวมถึงวิธีป้องกันไม่ให้โรคติดต่ออุบัติใหม่กลับมาแพร่ซ้ำ เผยแพร่โดยกลุ่ม อสม./แผ่นพับ/เสียงตามสาย/กลุ่มไลน์ชุมชน/รถแห่
1.2 สื่อสารแนวคิด ชีวิตวิถีใหม่ (New normal) ให้กับชุมชน ในการสร้างการพึ่งพาตนเองให้อยู่ได้เมื่อมีโรคระบาด การใช้การสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต
1.3 สื่อสารความรู้เกี่ยวกับมีพฤติกรรมสุขภาพ เช่น การเพิ่มกิจกรรมทางกายภายในบ้าน การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดหวาน ลดมัน ลดเค็ม การไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ใช้สารเสพติด
2. การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล พัฒนาขีดความสามารถของเครือข่ายและชุมชนในการจัดการโรคติดต่ออุบัติใหม่
2.1 การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุน อสม. ชรบ. อปพร. ให้มีทักษะที่จำเป็นในการฟื้นฟู และเยียวยา เช่น การให้คำปรึกษาเบื้องต้นสำหรับผู้มีปัญหาสุขภาพจิต และการสร้างความเข้าใจกับคนในชุมชนให้มีความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่ออุบัติใหม่ เพื่อให้กำลังใจผู้ป่วยโดยไม่แบ่งแยก
2.2 พัฒนาศักยภาพเยาวชนและผู้ที่สนใจทั่วไปจัดทำสื่อสารสนเทศเพื่อลดความเครียด สร้างขวัญกำลังใจ ลดปัญหาสุขภาพจิตแก่ประชาชน
2.3 พัฒนาศักยภาพกลุ่มแกนนำด้านสุขภาพในการถอดบทเรียน เพื่อใช้ในการพัฒนาการทำแผนการจัดการโรคระบาดของชุมชนที่ครอบคลุมทั้งการป้องกัน การแก้ปัญหา และการฟื้นฟู
2.5 พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุน กลุ่มต่างๆ ในชุมชน ในการวางแผน ดำเนินการ ติดตามประเมินผลในการจัดการฟื้นฟูชุมชนหลังโรคระบาด รวมทั้งการจัดตั้งหน่วยบรรเทาทุกข์เพื่อปฏิบัติการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน มูลนิธิการกุศลอย่างต่อเนื่อง
3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่ และการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
3.1 การปรับรูปแบบตลาด แหล่งจำหน่ายสินค้า พื้นที่สาธารณะ ในชุมชน ให้ถูกสุขอนามัย ไม่มีการปนเปื้อนโรคติดต่ออุบัติใหม่
3.2 จัดกิจกรรมในชุมชน ช่วยลดความเครียดให้กับผู้มีปัญหาสุขภาพจิต ปัญหาโรคเรื้อรัง และคนทั่วไปในชุมชน เช่น กิจกรรมการเดิน แรลลี่ การทำแปลงรวมผักปลอดภัยสำหรับชุมชน
4. การสร้างนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่
4.1 กำหนดข้อตกลงชุมชน ธรรมนูญ ให้คนในชุมชนปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือน เพื่อสุขภาพ เหลือเพิ่มรายได้
4.2 จัดทำข้อตกลง ธรรมนูญ มาตรการชุมชน ที่คนในชุมชนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมเพื่อการฟื้นฟู เยียวยาหลังโรคติดต่ออุบัติใหม่ รวมทั้งมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลดเหล้า บุหรี่ สารเสพติด
5. ปรับระบบบริการสุขภาพ สร้างกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน เครือข่ายผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการโรคติดต่ออุบัติใหม่
5.1 จัดตั้งทีมเฝ้าระวัง สำรวจและค้นหากลุ่มผู้ได้รับผลกระทบที่ต้องช่วยเหลือฟื้นฟูเยียวยา
5.2 พัฒนาระบบติดตามพฤติกรรมของประชาชนเพื่อระบุความเสี่ยง และควบคุมโรคระบาดในอนาคต เช่น การเดินทาง การดื่มเหล้า/สูบบุหรี่ การออกกำลังกาย
5.3 พัฒนาฐานข้อมูลด้านสุขภาพเพื่อให้คนในชุมชนสามารถรักษาสุขภาพ