กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองทรายขาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพในประชาชนทั่วไป หมู่ที่ 7 บ้านทุ่งใหญ่ ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองทรายขาว

กลุ่มอนุรักษ์เขาหม้ออินไซด์ หมู่ที่ 7

1.นางสุริวรรณเหล็มปาน
2.นางสมศรีศรีจันทร์
3.นางสุธีศาเมืองเส็ม
4.นางจิราภรณะวะกะ
5.นางปัณณรัตน์จันทร์พุ่ม

หมู่ที่ 7 ตำบลคลองทรายขาว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

57.54

จากข้อมูลองค์การอนามัยโลก ประมาณว่าการไม่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอเป็นสาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือด ร้อยละ 22-23 โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ร้อยละ 16-17 เบาหวาน ร้อยละ 15 หลอดเลือดสมอง ร้อยละ12-13 โดยพบว่าการขาดกิจกรรมทางกายส่งผลให้เกิดการเสียชีวิต 3.2 ล้านคนต่อปี ของทั้งโลก โดยคนไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ถึงร้อยละ 71 ของการเสียชีวิตทั้งหมด โดยการมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสำหรับกิจกรรมทางกายนั้น หมายถึง การเคลื่อนไหวร่างกายที่มีการใช้พลังงานในร่างกาย โดยเฉพาะครอบคลุมกิจกรรมทางกายทั้ง 3 ลักษณะ คือ1) กิจกรรมจากการทำงาน (Activity at work) ได้แก่ การทำงานโดยปกติ ที่ต้องออกแรงกายอย่างหนักหรือปานกลาง2) กิจกรรมจากการเดินทางในชีวิตประจำวัน (travel to and from places) ได้แก่ การเดิน และการขี่จักรยาน3) กิจกรรมยามว่าง (recreational activities) ได้แก่ การออกกำลังกาย เล่นกีฬา มีกิจกรรมยามว่าง กิจกรรมทั้ง 3 ลักษณะนี้ แต่ละลักษณะมีความหนักเบาของการใช้แรงกาย (intensity) ระยะเวลาที่มีกิจกรรม เป็นนาทีต่อวัน และความถี่ของการมีกิจกรรมเป็นวันต่อสัปดาห์ โดยในผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ต้องมีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์) ตามข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)
หมู่ที่ 7บ้านทุ่งใหญ่ ตำบลคลองทรายขาว มีประชาชนทั่วไปที่ อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์) จำนวน232 คนซึ่งบุคคลเหล่านี้มีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ เนื่องจากการประกอบอาชีพที่ต่างกันทำให้ไม่มีเวลาในการออกกำลังกายและมีพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารรสจัด เช่น หวานจัด เค็มจัด อาหารที่มีไขมันสูง อาหารปิ้งย่าง การสูบบุหรี่ การนอนดึก ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพที่เสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง และมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นกลุ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ หมู่ที่ ม.8 บ้านหน้าวังได้เห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพในประชาชนทั่วไปหมู่ที่ 7 บ้านทุ่งใหญ่ ประจำปี 2565ขึ้นมา เพื่อให้ประชาชนทั่วไป อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)และมีพัฒนาการทางด้านอารมณ์ สังคม และจิตใจ และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชน อายุ 18-64 ปี มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

ร้อยละ 90 ประชาชน อายุ 18-64 ปี มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

57.54 58.00
2 เพื่อให้ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพที่แข็งแรง

ร้อยละ 90 ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพที่แข็งแรง

100.00 100.00
3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ

ผู้เข้าร่วมโครงการตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ร้อยละ 90

73.86 75.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมเต้นแอโรบิกเพื่อสุขภาพ สัปดาห์ละ 3 วัน ๆ 50 นาที (เป้าหมาย ประชาชนทั่วไป 30 คน) จำนวน 4 เดือน ค่าอาหารว่าง 30 คน จำนวน 48 มื้อ ๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเต้นแอโรบิกเพื่อสุขภาพ สัปดาห์ละ 3 วัน ๆ 50 นาที (เป้าหมาย ประชาชนทั่วไป 30 คน) จำนวน 4 เดือน ค่าอาหารว่าง 30 คน จำนวน 48 มื้อ ๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่าง  30  คน  จำนวน  48  มื้อ ๆ ละ 10  บาท  เป็นเงิน 4,800  บาท
ค่าป้ายไวนิล 400 บาท เครื่องเสียง  1  ชุด  6,600  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนอายุ 18-64  ปี มีกิจกกรมทางกายเพียง (ระดับปานกลางถึงมาก  อย่างน้อยที่สุด  150  นาที ต่อสัปดาห์)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11400.00

กิจกรรมที่ 2 การเล่นฟุตฃอลเพื่อสุขภาพ สัปดาห์ละ 3 วัน ละ 50 นาที (เป้าหมาย ประชาชนทั่วไป 30 คน) จำนวน 3 เดือน

ชื่อกิจกรรม
การเล่นฟุตฃอลเพื่อสุขภาพ สัปดาห์ละ 3 วัน ละ 50 นาที (เป้าหมาย ประชาชนทั่วไป 30 คน) จำนวน 3 เดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่าง  30 คน จำนวน  36  มื้อ ๆ ละ  10  บาท  เป็นเงิน  3,600  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนที่เข้าร่วมโครงมีสุขภาพที่แข็งแรง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชน อายุ 18-64 ปี มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)
2. ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพที่แข็งแรง
3. ผู้เข้าร่วมโครงการตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ


>