กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หนองเหล่า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการโรงเรียนต้นแบบปลอดฟันแท้ผุ ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หนองเหล่า

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเหล่า

1.นางสุพัฒน์วงษาศรี
2.นางสาวกาญจนา ศักดิ์อาจ
3.นางสาวสุดารัตน์ นนท์พละ
4.นางสายธาร จันทรสุข
5.นางสาวอัญชลี ทองติด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเหล่า

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีปัญหาฟันผุ

 

21.09
2 ร้อยละการส่งเสริมกิจกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก

 

70.78
3 ร้อยละนักเรียนมีความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพที่ถูกต้อง

 

76.76
4 ร้อยละนักเรียนแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวัน ตอนเช้าและก่อนนอน อย่างมีประสิทธิภาพ

 

64.25

หลักการและเหตุผล
โรคฟันผุเป็นโรคที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเด็กหากเกิดโรคฟันผุจะทำให้เด็กไม่สามารถบดเคี้ยวอาหารได้ เชื้อโรคจะส่งผลให้เกิดอาการอักเสบ ปอดบวม อันจะส่งผลต่อสภาวะโภชนาการ การพัฒนาการด้านการเรียนรู้ และพัฒนาการด้านบุคลิกภาพของเด็กเป็นอย่างมาก โรคฟันผุเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ โดยใช้มาตรการการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ เช่น การใช้ฟลูออไรด์การใช้สารเคลือบหลุมร่องฟัน การแปรงฟัน แต่สภาพสังคมเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปส่งผลให้แบบแผนการดำรงชีวิตของประชาชนเปลี่ยนไปด้วย ทำให้พ่อแม่จำนวนมากต้องทำงานเลี้ยงชีพเป็นหลักหรือมีเวลาเลี้ยงดูลูกน้อยลง นอกจากนี้การพัฒนาการของโฆษณาขนมที่มีรสหวาน ซึ่งมีการผลิตในรูปแบบที่หลากหลาย ความเจริญทางการโฆษณามากขึ้น ส่งผลให้มีการบริโภคขนมหวานซึ่งมีส่วนประกอบของแป้งและน้ำตาลสูง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคฟันผุง่ายขึ้น
จากการสำรวจสภาวะการเกิดโรคฟันผุในโรงเรียนเขตตำบลหนองเหล่า ปี พ.ศ.2565 พบว่านักเรียนมีสภาวะ จ ร้อยละ 3.95 นักเรียนมีฟันแท้ผุ ร้อยละ 20.39 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ทางกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนด (ต้องไม่มีฟันแท้ผุเลย) อันเนื่องมาจากการขาดการแปรงฟันที่มีประสิทธิภาพ ความครอบคลุมในการดำเนินกิจกรรมทั้งในส่วนของการแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน และตอนเช้าความดูแลเอาใจใส่ของผู้ปกครองในเรื่องทันตสุขภาพ การลดบริโภคอาหารหวาน และการจัดการเรียนรู้ทางทันตสุขภาพ ทางเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเหล่า ได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าวจึงจัดทำโครงการ ในโรงเรียนเขตตำบลหนองเหล่าขึ้น โดยร่วมมือกับทางโรงเรียนจัดทำโครงการและดำเนินกิจกรรมต่างๆเพื่อให้นักเรียนมีความรู้มีทัศนคติ และการปฏิบัติในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีซึ่งจะเป็นปัจจัยที่จะสนับสนุน ให้เด็กนักเรียนมีสุขภาพที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจต่อไป
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเหล่า จึงได้จัดทำโครงการโรงเรียนต้นแบบปลอดฟันแท้ผุ ปีงบประมาณ 2566 เพื่อพัฒนาคุณภาพ สร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ส่งเสริมกิจกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก

ร้อยละการส่งเสริมกิจกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก

0.00 80.00
2 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพที่ถูกต้อง

ร้อยละนักเรียนมีความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพที่ถูกต้อง

76.76 80.00
3 เพื่อสร้างสุขนิสัยให้นักเรียนแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวัน ตอนเช้าและก่อนนอน อย่างมีประสิทธิภาพ

ร้อยละนักเรียนแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวัน ตอนเช้าและก่อนนอน อย่างมีประสิทธิภาพ

64.25 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 288
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ก่อนดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
ก่อนดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 แต่งตั้งกรรมการดำเนินงาน 1.2 ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานและคืนข้อมูลให้ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทราบ 1.3 วิเคราะห์ปัญหาและชี้แจงแนวทางการดำเนินงานให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ 1.4 จัดทำแผนการดำเนินงาน/จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 31 ธันวาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จัดทำแผนการดำเนินงาน/จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ขั้นดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ขั้นดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 การอบรมให้ความรู้ เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทันตสุขภาพ
2.2 ตรวจสุขภาพช่องปาก (ส่งต่อ นักเรียนที่มีฟันแท้ผุ) 2.3 กิจกรรมฝึกการแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน 2.4 ให้บริการทางทันตกรรม (อุดฟันแท้)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เด็กนักเรียนได้รับการส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปาก
  2. เด็กนักเรียนมีความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพที่ถูกต้อง
  3. เด็กนักเรียนมีนิสัยชอบแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวัน ตอนเช้าและก่อนนอน
  4. เด็กนักเรียนปราศจากโรคฟันผุ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17040.00

กิจกรรมที่ 3 ขั้นหลังดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นหลังดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปผลการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,040.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กนักเรียนได้รับการส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปาก
2. เด็กนักเรียนมีความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพที่ถูกต้อง
3. เด็กนักเรียนมีนิสัยชอบแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวัน ตอนเช้าและก่อนนอน
4. เด็กนักเรียนปราศจากโรคฟันผุ


>