กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านนอก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอสม.ใส่ใจสร้างเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก ม.5 ต.บ้านนอก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านนอก

ประธานชมรม อสม.ตำบลบ้านนอก หมู่ที่ ๕

1.นางจิวารีย์หมัดหมะ 4. นางซากีน๊ะหามะ
2.นางสาวซารีฮะอาแว5. นางฟาตือเมาะแฮะ
3.นางหะยีย๊ะดอเลาะ

หมู่ที่๕

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
การส่งเสริมสุขภาพเริ่มตั้งแต่ตั้งครรภ์มารดาต้องมีความพร้อมและมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ อย่างไรก็ตามแม้จะดูแลได้ด้วยตนเอง ภาครัฐก็ควรส่งเสริมสนับสนุน ให้ประชาชน รู้จักการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการรักษา โดยเฉพาะการดูแลตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของมารดา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการมีสุขภาพที่ดี ทั้งของมารดาและบุตร จึงมีความจำเป็นที่จะต้องรณรงค์ ส่งเสริม การตรวจและการดูแลสุขภาพ ขณะ
ตั้งครรภ์เพื่อให้มีการคลอดที่ปลอดภัยทั้งมารดาและบุตร
ในปัจจุบัน ในเขตพื้นที่ม.5 ตำบลบ้านนอก ยังมีประชาชนที่ยังไม่มีความเข้าใจในผลดีของการฝากครรภ์เร็ว ทำให้ยังมีหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ช้า มีปัญหาภาวะซีดในขณะตั้งครรภ์ ปัญหาเบาหวานและความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ภาวะแทรกซ้อนในหญิงตั้งครรภ์อื่นๆ ซึ่งความเสี่ยงที่พบเป็นความเสี่ยงที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันการเกิดอันตรายที่อาจสูญเสียชีวิตทั้งใน ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด ระยะหลังคลอด ได้สูงและส่งผลให้บุตรมีภาวะน้ำหนักน้อยหรืออาจพิการและเสียชีวิตได้ตามมาการดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงมีความจำเป็นที่ต้องแก้ไขอย่างต่อเนื่องดังนั้นการส่งเสริมความรู้เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านนอก จึงได้จัดทำโครงการนี้เพื่อแก้ปัญหาให้กับกลุ่มเป้าหมาย และได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพแม่และเด็กแบบองค์รวมให้ประสบความสำเร็จและมีคุณภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. อสม.มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์การดูแลหญิงตั้งครรภ์ปกติ และภาวะตั้งครรภ์เสี่ยง 2.หญิงวัยเจริญพันธุ์มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง การเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ 3.หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลตนเองทั้งภาวะตั้งครรภ์ปกติ ภาวะตั้งครรภ์เสี่ยง

อสม.มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ การดูแลหญิงตั้งครรภ์ปกติ และภาวะตั้งครรภ์เสี่ยง มากกว่าร้อยละ 85 การเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ มากกว่าร้อยละ 85 หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลตนเองทั้งภาวะตั้งครรภ์ปกติ ภาวะตั้งครรภ์เสี่ยง มากกว่าร้อยละ 85

0.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 40
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรม อบรมอสม.ฟื้นฟูความรู้ของ อสม.ในงานอนามัยแม่และเด็ก เรื่องการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ การดูแลหญิงตั้งครรภ์ปกติ และภาวะตั้งครรภ์เสี่ยง 2.กิจกรรม อบรมหญิงวัยเจริญพันธ์และหญิงตั้งครรภ์ เรื่องการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ การดูแลหญิงตั้งครรภ

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรม อบรมอสม.ฟื้นฟูความรู้ของ อสม.ในงานอนามัยแม่และเด็ก เรื่องการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ การดูแลหญิงตั้งครรภ์ปกติ และภาวะตั้งครรภ์เสี่ยง 2.กิจกรรม อบรมหญิงวัยเจริญพันธ์และหญิงตั้งครรภ์ เรื่องการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ การดูแลหญิงตั้งครรภ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวิทยากรชั่วโมงละ500บ.x7ชั่วโมง  =   3,500      บ. ค่าอาหารกลางวัน...50..บ.x...10คน =    500 บ. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม25บ.x2มื้อx..10คน =   500 บ.
ไวนิลโครงการ 500 บาท   รวม 5,000 บาท ค่าอาหารกลางวัน...50..บ.x...40คน =   2,000 บ. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม25บ.x2มื้อx..40คน =  2,000   บ.
สื่อการสอนโมเดลการตั้งครรภ์และแผ่นพลิก  1000 บาท   รวม 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. อสม.มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ การดูแลหญิงตั้งครรภ์ปกติ และภาวะตั้งครรภ์เสี่ยง
2. หญิงวัยเจริญพันธุ์มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง การเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์
3. หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลตนเองทั้งภาวะตั้งครรภ์ปกติ ภาวะตั้งครรภ์เสี่ยง


>