กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะรัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสูงวัยอย่างมีคุณค่า สู่วัยชราอย่างมีความสุข (โรงเรียนผู้สูงอายุ)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะรัง

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลยะรัง

1.นายแซะห์อับดุลเราะห์มานอาเยาะแซ
2.นายเอกบดินทร์จาลงค์
3.นางอังคณาตาเละ
4.นางมัสราตอแก
5.นายอัลวาดลล่าเต๊ะ

อาคารศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลยะรัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ผู้สูงอายุเป็นบุคคลที่สถาบันครอบครัวไทยให้การเคารพยกย่องมากที่สุด เพราะเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์ในชีวิตสูง เป็นผู้ถ่ายทอดความสามารถประเพณี วัฒนธรรมและค้ำจุนจิตใจให้แก่บุคคลในครอบครัว ชุมชน และสังคม ได้อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด แต่ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยจะสูญเสียความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันความสามารถเสื่อมถอย ต้องอาศัยญาติและครอบครัวคอยดูแล ทำให้เป็นภาระ ผลกระทบต่อภาวะทุพพลภาพในผู้สูงอายุเกิดจากกระบวนการการสูงวัยและโรคต่าง ๆมากมายทำให้เกิดปัญหา ทั้งด้านสุขภาพ กาย สุขภาพจิต เศรษฐกิจ สังคม ปัญหาเกี่ยวกับครอบครัว และปัญหา ค่านิยมที่เปลี่ยนแปลง เป็นกลุ่มประชากรที่ใช้บริการสุขภาพสูงกว่าวัยอื่นๆ และจะต้องใช้จ่ายงบประมาณของประเทศในด้านการรักษาพยาบาลสูง การได้รับความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ และการออกกำลังกายอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอจะสามารถป้องกันและแก้ไขภาวะผิดปกติที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูก ปัญหาสุขภาพร่างกายรวมทั้งปัญหาสุขภาพจิต ช่วยให้อายุยืนยาวขึ้น และมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบรูณ์แข็งแรง
ในเขตพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลยะรัง มีผู้สูงอายุที่มีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566จำนวน 676 คนโดยแยกเป็นผู้สูงอายุติดเตียง จำนวน 19คนผู้สูงอายุติดบ้าน จำนวน85คน และผู้สูงอายุติดสังคม จำนวน 569คน(ข้อมูลจากอาสาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.ประจำตำบลยะรัง : มกราคม 2566)) ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการแก้ปัญหาดังกล่าวและเป็นประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาคุยกันถึงปัญหาโรคซึมเศร้าของผู้สูงอายุโดยเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ถูกทอดทิ้งให้อยู่ตามลำพังมีภาระค่าใช้จ่ายสูง ฐานะยากจน และขาดโอกาสจนส่งผลนำไปสู่การทำร้ายตัวเองในที่สุดโรงเรียนผู้สูงอายุจึงทำหน้าที่เหมือนสวนสาธารณะทางอารมณ์ที่จะเอาความเหงาความเศร้าความทุกข์มาปลอดปล่อยและมารับรอยยิ้มจากเพื่อนเช่นเดียวกันและบางครั้งผู้สูงอายุต้องการกำลังใจต้องการความอบอุ่น ต้องการพูดคุย ทางชมรมผู้สูงอายุตำบลยะรังจึงได้เห็นฟ้องต้องกันว่าควรที่จะมีสถานที่ให้ผู้สูงอายุได้พบปะกัน จึงได้จัดทำกิจกรรมผู้สูงอายุสูงวัยอย่างมีคุณค่า สู่วัยชราอย่างมีความสุข (โรงเรียนผู้สูงอายุ) ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับความรู้อย่างต่อเนื่องในการดูแลสุขภาพกายและจิตใจ

 

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสร้างสรรค์ประโยชน์แก่ชุมชนและสังคม

 

0.00
3 เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

 

0.00
4 เพื่อส่งเสริมภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นให้ดำรงสืบทอดไป

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 30
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 15/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้สำหรับผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้สำหรับผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นเตรียมการ 1. ประสานงานกับองค์การบริหารส่วนตำบลยะรัง เพื่อรวบรวมข้อมูลมาวางแผนดำเนินการ 2. เขียนโครงการและนำเสนอโครงการ เพื่อขออนุมัติจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ

ขั้นดำเนินการ 1.ประชุมคณะกรรมการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลยะรัง และคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุตำบลยะรัง เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และเครือข่าย เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติงานและมอบหมายหน้าที่ 2.จัดซื้อจัดจ้าง วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ตามโครงการฯ 3.เปิดเรียน โดยการอบรมและฝึกปฏิบัติเพื่อปฏิบัติ สัปดาห์ละ 1 วัน (เน้นสาระความรู้ และกิจกรรมนันทนาการ รูปแบบที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริมความรู้ พัฒนาสุขภาพจิต อารมณ์ สังคม ทั้งกิจกรรมในห้องเรียนและนอกห้องเรียน 4. สรุปและรายงานผลการจัดกิจกรรม กิจกรรมที่ดำเนินการ กิจกรรมที่ 1เรื่องการใช้ชีวิตในวัยผู้สูงอายุ/การเปลี่ยนแปลงด้นจิตใจร่างกาย สังคม เศรษฐกิจ/การพัฒนาทักษะและเตรียมความพร้อมการก้าวสู่ “ผู้สูงอายุคุณภาพ" พิธีเปิดโครงการ โดยนายกองค์การบริหารส่วนตำบลยะรัง/การตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ ค่าอาหารกลางวันจำนวน40 คน ๆละ 50 บาทเป็นเงิน 2,000บาท ค่าอาหาว่างและเครื่องดื่มจำนวน 40 คนๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน1,000 บาท ค่าวิทยากรจำนวน 1 คนจำนวน4 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาทเป็นเงิน2,400 บาท รวมเป็นเงิน5,400บาท กิจกรรมที่ 2เรื่องการดูแลสุขภาพ (3 อ) อาหารและโภชนาการ/การออกกำลังกาย/อารมณ์ ค่าอาหารกลางวันจำนวน30 คน ๆละ 50 บาทเป็นเงิน 1,500บาท ค่าอาหาว่างและเครื่องดื่มจำนวน 30 คนๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน750 บาท ค่าวิทยากรจำนวน 1 คนจำนวน4 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาทเป็นเงิน2,400 บาท รวมเป็นเงิน4,650บาท กิจกรรมที่ 3เรื่อง คุณประโยชน์ของสมุนไพรไทย (อบรมให้ความรู้ และฝึกปฏิบัติ) /การนวดแผนไทยสำหรับผู้สูงอายุ ค่าอาหารกลางวันจำนวน30 คน ๆละ 50 บาทเป็นเงิน 1,500บาท ค่าอาหาว่างและเครื่องดื่มจำนวน 30 คนๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน750 บาท ค่าวิทยากรจำนวน 1 คนจำนวน4 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาทเป็นเงิน2,400 บาท รวมเป็นเงิน4,650บาท กิจกรรมที่ 4เรื่องการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับวัยผู้สูงอายุ ค่าอาหารกลางวันจำนวน30 คน ๆละ 50 บาทเป็นเงิน 1,500บาท ค่าอาหาว่างและเครื่องดื่มจำนวน 30 คนๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน750 บาท ค่าวิทยากรจำนวน 1 คนจำนวน4 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาทเป็นเงิน2,400 บาท รวมเป็นเงิน4,650บาท กิจกรรมที่ 5เรื่องการปลูกผักรั้วกินได้ (ความปลอดภัยทางด้านอาหาร) ค่าอาหารกลางวันจำนวน30 คน ๆละ 50 บาทเป็นเงิน 1,500บาท ค่าอาหาว่างและเครื่องดื่มจำนวน 30 คนๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน750 บาท ค่าวิทยากรจำนวน 1 คนจำนวน4 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาทเป็นเงิน2,400 บาท รวมเป็นเงิน4,650บาท กิจกรรมที่ 6เรื่องอาหารและโภชนการในผู้สูงอายุ ค่าอาหารกลางวันจำนวน30 คน ๆละ 50 บาทเป็นเงิน 1,500บาท ค่าอาหาว่างและเครื่องดื่มจำนวน 30 คนๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน750 บาท ค่าวิทยากรจำนวน 1 คนจำนวน4 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาทเป็นเงิน2,400 บาท รวมเป็นเงิน4,650บาท กิจกรรมที่ 7เรื่องการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพในผู้สูงอายุการดูแลสุขภาพอนามัยตามสุขบัญญัติ และการพักผ่อนที่เหมาะสมของผู้สูงอายุ ค่าอาหารกลางวันจำนวน30 คน ๆละ 50 บาทเป็นเงิน 1,500บาท ค่าอาหาว่างและเครื่องดื่มจำนวน 30 คนๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน750 บาท ค่าวิทยากรจำนวน 1 คนจำนวน4 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาทเป็นเงิน2,400 บาท รวมเป็นเงิน4,650บาท กิจกรรมที่ 8เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก ค่าอาหารกลางวันจำนวน30 คน ๆละ 50 บาทเป็นเงิน 1,500บาท ค่าอาหาว่างและเครื่องดื่มจำนวน 30 คนๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน750 บาท ค่าวิทยากรจำนวน 1 คนจำนวน4 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาทเป็นเงิน2,400 บาท รวมเป็นเงิน4,650บาท กิจกรรมที่ 9เรื่องการส่งเสริม ดูแลรักษาสุขภาพจิต สุขภาพใจของผู้สูงอายุ ค่าอาหารกลางวันจำนวน40 คน ๆละ 50 บาทเป็นเงิน 2,000บาท ค่าอาหาว่างและเครื่องดื่มจำนวน 40 คนๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน1,000 บาท ค่าวิทยากรจำนวน 1 คนจำนวน4 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาทเป็นเงิน2,400 บาท รวมเป็นเงิน5,400บาท ค่าป้ายไวนิลโครงการขนาด1.5 x 3เมตร เป็นเงิน1,125บาท ค่าวัสดุอุปกรณ์เป็นเงิน6,063บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 50,538บาท (เงินห้าหมื่นห้าร้อยสามสิบแปดบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 พฤษภาคม 2566 ถึง 25 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้สูงอายุห่วงใยไม่ทอดทิ้งกันมีการรวมกลุ่มช่วยเหลือกันและกัน 2.สูงอายุสุขภาพแข็งแรงอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข อายุยืนเกิน 80 ปี 3.สูงอายุมีความสุข มีรอยยิ้ม มีกำลังใจไม่เป็นโรคซึมเศร้า และสุขภาพดี มีรายได้เพิ่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
50538.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 50,538.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้สูงอายุมีความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพของตนเอง
2.ผู้สูงอายุมีกิจกรรมที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อสังคม
3.ผู้สูงอายุมีสุขภาพด้านร่างกายและจิตใจที่ดี
4.ผู้สูงอายุมีการรวมกลุ่มในการทำกิจกรรมร่วมกัน


>