กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งยาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมร้านค้าขายของชำและแกนนำสุขภาพชุมชนด้านอาหารปลอดภัยในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งยาว

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองหว้า

นางสาวกุสุมา แข็งแรง
นายเรวัฒน์ เส็นหละ

ตำบลทุ่งยาว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๖๑ กล่าวว่า “รัฐต้องจัดให้มีมาตรการหรือกลไกที่มีประสิทธิภาพในการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการรู้ข้อมูลที่เป็นจริง ด้านความปลอดภัย ด้านความเป็นธรรม ในการทำสัญญา หรือด้านอื่นใดอันเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค” โดยให้สำคัญกับเรื่องสิทธิในฐานะผู้บริโภค ไม่ให้ผู้ใดมาเอารัดเอาเปรียบหรือยัดเยียดให้ซื้อและบริโภคแต่เฉพาะสิ่งที่ผู้ประกอบการหรือผู้ขายเป็นผู้กำหนดให้ ทั้งชนิด ปริมาณ ราคา และคุณภาพ หรือแม้แต่สิ่งเจือปนด้วยสารพิษอันเป็นการทำลายสุขภาพของผู้บริโภค ซึ่งการคุ้มครองผู้บริโภค หมายถึง การปกป้องดูแลผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัย เป็นธรรมและประหยัดจากการบริโภคสินค้าและบริการ เพื่อให้ผู้บริโภคปลอดภัยจากการใช้บริการด้านสุขภาพและผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ ไม่ว่าเป็น อาหารยาเครื่องสำอางผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยกำหนดสิทธิในการเข้าถึงด้านสุขภาพที่เหมาะสม สิทธิที่จะได้รับข้อมูลข่าวสารความรู้เป็นต้น
ปัจจุบันได้มีสินค้าและการบริการที่หลากหลายเพิ่มมากขึ้น ในการดำเนินการด้านคุ้มครองผู้บริโภคที่ผ่านมา ภาคประชาชนเข้ามามีบทบาทน้อยทำให้ขาดการมีส่วนร่วมและพัฒนาที่ยั่งยืน และการได้รับข้อมูลข่าวสารไม่เพียงพอ ทำให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบการหรือผู้จำหน่ายสินค้าและบริการ ยังพบปัญหาเกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย มีสารปนเปื้อน การใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ถูกต้องทั้งที่หมดอายุและใช้เครื่องสำอางที่ไม่มีฉลากภาษาไทย รวมถึงการใช้ยาปฏิชีวนะและยาอันตรายโดยไม่มีคำสั่งจากแพทย์
ดังนั้นเพื่อให้คนในชุมชนเกิดความตระหนักและให้ความสำคัญกับการคุ้มครองผู้บริโภค มีการช่วยเหลือกันและกัน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และเฝ้าระวังสินค้า อาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพในชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองหว้า จึงได้จัดทำโครงการอบรมร้านค้าขายของชำและแกนนำสุขภาพชุมชนด้านอาหารปลอดภัยในชุมชน เพื่อให้แกนนำชุมชน เจ้าของร้านและประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานในชุมชน และเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสุขภาพผู้บริโภค ให้ได้รับอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยได้มาตรฐาน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 - เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านขายของชำและร้านค้าทั่วไป แกนนำชุมชน,ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน , อบต. , อสม. ความเข้าใจในเรื่องการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค
  • กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค
0.00
2 - เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองผู้บริโภคจากอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย
  • เกิดการส่งเสริมและคุ้มครองผู้บริโภคจากอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย
0.00
3 - เพื่อสร้างความต่อเนื่อง ในการเฝ้าระวังด้านคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน
  • ร้านค้าขายของชำได้รับการเฝ้าระวังด้านคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนอย่างต่อเนื่อง
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
แกนนำชุมชนและผู้สนใจ 80

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 31/05/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการอบรมผู้ประกอบการและแกนนำชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการอบรมผู้ประกอบการและแกนนำชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าอบรม จำนวน 80 คนๆละ ๗0 บาท จำนวน 1 มื้อเป็นเงิน5,600 -บาท

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คนๆละ 30 บาท จำนวน 2 มื้อเป็นเงิน4,800 -บาท

-ค่าตอบแทนวิทยากร 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาทเป็นเงิน3,600 -บาท

-ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1 x 3 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 450.-บาท

-ค่าจัดทำป้ายอะคริลิค ขนาด 20 x 30 cm. จำนวน 30 ป้าย ติดร้านค้าประชาสัมพันธ์ ร้านละ 3 ป้ายๆละ 250 บาท จำนวน 10 ร้านเป็นเงิน 7,500.-บาท

-ค่าวัสดุในการอบรม แฟ้มเอกสาร จำนวน 80 แฟ้มๆ ละ 10 บาทเป็นเงิน 800.- บาท

สมุดจด 80 เล่มๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 800.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23550.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมติดตามเฝ้าระวังด้านคุ้มครองผู้บริโภคร้านค้าในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามเฝ้าระวังด้านคุ้มครองผู้บริโภคร้านค้าในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่ายานพาหนะออกเยี่ยมร้านค้า จำนวน 3 วันๆละ 20คนๆละ 50บาท     เป็นเงิน 3,000.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,550.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค
- เกิดการส่งเสริมและคุ้มครองผู้บริโภคจากอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย
- ร้านค้าขายของชำได้รับการเฝ้าระวังด้านคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนอย่างต่อเนื่อง


>