กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บองอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านลาไม)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บองอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านลาไม

เขตพื้นที่รับผิดชอบ รพสต.บ้านลาไม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ภาวะทารกแรกเกิดนาหนักน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม การเกิดภาวะซีดขณะตั้งครรภ์ เป็นปัญหาที่สำคัญของงานอนามัยแม่และเด็กในประเทศไทยโดยกระทรวงสาธารณสุข ตั้งเป้าหมายในแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่๗จนถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่๙ ได้กำหนดเป้าหมายทารกแรกเกิดนาหนักตัวน้อย ไม่เกินร้อยละ ๗ ผลการ ดำเนินงาน งานอนามัยแม่และเด็ก ใน ปี ๒๕65 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบล บ้านลาไม อัตราทารกแรกเกิดนาหนักตัวน้อย ภาพรวมได้ร้อยละ ๑๐.๔๔และพบว่าอัตราวัยรุ่นตั้งครรภ์ ร้อยละ ๒๖.๑๑ และพบว่าสถานการณ์ปัจจุบันพบว่ามารดาไม่สามารถเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่ ร้อยละ๔.๑๒ วัยรุ่นจะมีภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์สูงกว่าผู้ที่มีอายุเกินกว่า ๒๐ ปี เช่น ภาวะโลหิตจาง ความดันโลหิตสูงขณะตังครรภ์ ภาวะคลอดก่อนกำหนดสูง เจ็บครรภ์คลอดนาน การคลอดโดยใช้อุปกรณ์ช่วย คลอด เสี่ยงต่อการผ่าตัดคลอด ภาวะทารกแรกเกิดนาหนักน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม และทารกตายในครรภ์ อัตราตายของมารดาอายุ ๑๕-๑๙ ปี สูงกว่ามารดาที่มีอายุ ๒๐-๒๔ ปี ถึง ๓ เท่า และวัยรุ่นยังไม่พร้อมด้าน จิตใจสาหรับการเป็นแม่เมื่อไม่พร้อมในการเป็นแม่จึงฝากบุตรไว้กับญาติหรือผู้ดูแลเด็ก โดยการให้กินนมผสม ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาทางด้านเศรษฐกิจตามมานอกจากนี้การตังครรภ์ในวัยรุ่นยังก่อให้เกิดปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอีกด้วยคือ การต้องหยุดหรือออกจากการศึกษา ไม่มีงานทำ ค่ารักษาพยาบาลขณะตั้งครรภ์ การคลอดบุตร และการเลียงดูบุตร ปัญหาเหล่านีส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของทั้งแม่วัยรุ่นและบุตรที่เกิดมา ทำให้ ปัญหา“เด็กเกิดน้อยแต่ด้อยคุณภาพ”ของประเทศไทยทวีความรุนแรงมากยิ่งขึน เป็นภาวะวิกฤติหนึ่งที่มี ผลกระทบทังด้านสุขภาพ ทั้งกาย จิต การศึกษาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ทั้งต่อตัววัยรุ่นเอง ครอบครัว และสังคมไทยในภาพรวม
ดังนั้นปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและการตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อน ตลอดจนถึงภาวะ
คลอดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องได้รับการป้องกันและแก้ไขโดยทุกภาคส่วนที่ต้องอาศัย
ความร่วมมืออย่างจริงจัง เป็นไปตามนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ ๑
(พ.ศ.๒๕๕๓-๒๕๕๘) ที่เน้นการพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์ที่ดีในกลุ่มประชากรวัยรุ่นและเยาวชนก่อน ซึ่งจะ
ส่งผลต่อการลดการตังครรภ์ การติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอดส์ในประชากรวัยนี้ ดังนั้นจึงมีความ
จำเป็นที่จะต้องเร่งการดำเนินงานแบบบูรณาการในบทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันปัญหาการ
ตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ปัญหาการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ปัญหาภาวะคลอดน้ำหนักต่ากว่าเกณฑ์ ปัญหาการเกิดภาวะซีดขณะตั้งครรภ์ และให้ความรู้แก่ อสม. เพื่อคัดกรองกลุ่มเป้าหมายให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสร้างเสริมทักษะให้แก่อาสาสมัครประจำหมู่บ้านให้มีความรู้ด้านสุขภาวะทางการตั้งครรภ์ และสามารถคัดกรองกลุ่มเสี่ยงได้รวดเร็วและถูกต้อง

สามารถสร้างเสริมทักษะให้แก่อาสาสมัครประจำหมู่บ้านให้มีความรู้ด้านสุขภาวะทางการตั้งครรภ์ และสามารถคัดกรองกลุ่มเสี่ยงได้รวดเร็วและถูกต้อง

75.00 90.00
2 2. เพื่อแก้ไขปัญหาทารกน้ำหนักน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัมให้ผ่านเกณฑ์

สามารถแก้ไขปัญหาทารกน้ำหนักน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัมให้ผ่านเกณฑ์

85.00 100.00
3 3.เพื่อสร้างความตระหนักให้หญิงตั้งครรภ์ สามี และชุมชนเห็นความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นแก่หญิง ตั้งครรภ์

เพิ่มความตระหนักให้หญิงตั้งครรภ์ สามี และชุมชนเห็นความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นแก่หญิง ตั้งครรภ์

70.00 90.00
4 4.เพื่อส่งเสริมให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว อย่างน้อย ๖ เดือน

สามารถส่งเสริมให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว อย่างน้อย ๖ เดือน

80.00 100.00
5 5.เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะซีดขณะตั้งครรภ์

สามารถแก้ไขปัญหาภาวะซีดขณะตั้งครรภ์

80.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 67
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
สามีหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 67
อสมในเขตรับผิดชอบ จำนวน 47 คน 47

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอมรม ฟื้นฟูให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์และสามีในเขตรพสต.บ้านลาไม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอมรม ฟื้นฟูให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์และสามีในเขตรพสต.บ้านลาไม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาทจำนวน 1 รุ่น เป็นเงิน 3600 บาท
    • ค่าอาหารกลางวัน 109 คน x 50 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 5,450 บาท
    • ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 109 คน x 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 5,450 บาท
    • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1 เมตร × 3 เมตร จำนวน 1 แผ่น เป็นเงิน 750 บาท
    • ค่าวัสดุอุปกรณ์ 4,360 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑.ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสุขภาวะทางด้าน ร่างกายและจิตใจการปฏิบัติตัวของหญิงตังครรภ์ และ ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ ของนมแม่ ร้อยละ 100 ๒.ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์มีการปฏิบัติตนในการดูแลตนเองที่ถูกต้อง ร้อยละ ๑๐๐

ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.ลดอัตราการคลอดทารกน้ำหนักน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม ไม่เกิน ร้อยละ ๗ 2.อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว อย่างน้อย 6 เดือน ร้อยละ 100 3.ภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ไม่เกินร้อยละ 4.หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครั้งแรกไม่เกิน 12 สัปดาห์ ร้อยละ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19610.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,610.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสุขภาวะทางด้านร่างกายและจิตใจการปฏิบัติตัวของหญิงตังครรภ์ และ ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของนมแม่ ร้อยละ 100
๒.ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์มีการปฏิบัติตนในการดูแลตนเองที่ถูกต้อง ร้อยละ ๑๐๐


>