กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำสินธุ์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ 5 กลุ่มวัยสร้างสัมพันธ์ มหกรรมสุขภาพดี ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำสินธุ์

ชมรมอสม.ตำบลลำสินธุ์

นางอรัญญา อุตะปะละ
นายพยอม ไชยณรงค์
นางอำมร จันทรมาศ
นายวิโรจน์ ยอดจันทร์
นายเสาวฯา ชูแก้ว

1. ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำสินธุ์ 2. วัดลำสินธุ์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สุขภาพดีไม่มีขาย  ถ้าอยากได้ต้องทำเอง  เชื่อแน่ว่าประโยคทองของการรณรงค์ส่งเสริมการออกกำลังกายประโยคนี้ย่อมไม่มีใครปฏิเสธว่าไม่เคยได้ยิน  เพียงแต่จะได้นำเอาไปปฏิบัติหรือไม่นั้นเป็นสิ่งที่แล้วแต่พฤติกรรมส่วนบุคคล การส่งเสริมสุขภาพหรือ  Health promotion  เป็นกระบวนการที่มุ่งหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพที่มีความเหมาะสมกับความต้องการของร่างกายมนุษย์ นโยบาย  6 อ. เพื่อสุขภาพที่ดี แนวทาง 6 อ. ได้แก่ ออกกำลังกาย  อาหารปลอดภัย  อารมณ์แจ่มใส อนามัยสิ่งแวดล้อม  อโรคยา  และลด ละ เลิก อบายมุข  ซึ่งมีแนวทางปฏิบัติดังนี้
     1. ออกกำลังกาย   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดำรัสว่า " การออกกำลังกายนั้นทำน้อยเกินไปร่างกายและจิตใจก็จะเฉาและทำมากเกินไปร่างกายและจิตใจก็จะช้ำ" 
     2. อาหารปลอดภัย  การปฏิบัติตนที่เกี่ยวข้องกับการรับประทานอาหารให้ได้สารอาหารที่มีคุณค่า  เป็นประโยชน์ต่อร่างกายในแต่ละวันให้ครบ 5 หมู่  รับประทานอาหารที่ปรุงสุก  สะอาด ปลอดภัยจากสารปนเปื้อน และการบริโภคอาหารให้ได้สัดส่วนที่เหมาะสม เพียงพอกับความต้องการในแต่ละวัยเพื่อพัฒนาการที่สมบูรณ์  ซึ่งจะกล่าวโดยละเอียดในหัวข้อโภชนาการต่อไป
     3. อารมณ์แจ่มใส  การปฏิบัติตนที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการจัดการกับอารมณ์  การผ่อนคลายความเครียด  การจัดการกับอารมณ์เป็นสิ่งที่ต้องมีความตั้งใจด้วยตัวเราเองว่าจะปรับการแสดงออกทางอารมณ์ของตนเองไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งอาศัยการฝึกปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ
4. อนามัยสิ่งแวดล้อม  หมายถึง การจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมทั้งด้ายกายภาพ  เศรษฐกิจ  สังคม ให้เหมาะสมต่อการดูแลสุขภาพ  การรักษาความสะอาดสถานที่ต่างๆ ลำน้ำ คู คลอง   การกำจัดขยะมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะ  การหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช   การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงที่เป็นพาหะนำโรค  การใช้วัสดุที่ย่อยสลายง่าย เป็นต้น
     5. อโรคยา  หมายถึง การไม่มีโรค  การปฏิบัติตนเพื่อไม่ให้ป่วยเป็นโรคต่างๆ ทั้งโรคติดเชื้อและโรคไร้เชื้อ  สามารถทำได้จากการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรค  เช่น  เชื้อโรคต่างๆ โดยได้รับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อบางชนิด   หลีกเลี่ยงการสัมผัส  หรือหายใจ หรือการรับประทานอาหารที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน  การตรวจสุขภาพประจำปี  การมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม  การแสวงหาความรู้และข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพใหม่ๆ เสมอ ทั้งนี้ในการรับข้อมูลข่าวสารจะต้องพิจารณาถึงความถูกต้องน่าเชื่อถือ  อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาที่เป็นเท็จเกินความเป็นจริง  การเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แข็งแรง  เป็นต้นองมีความตั้งใจด้วยตัวเราเองว่าจะปรับการแสดงออกทางอารมณ์ของตนเองไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งอาศัยการฝึกปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ 
6. อบายมุข  หมายถึง  หนทางที่นำไปสู่ความเสื่อมเสีย เป็นเหตุให้เกิดการสูญเสียทรัพย์  ตามหลักระพุทธศาสนา  อบายมุข 6   ประกอบด้วย  การดื่มน้ำเมา  การเที่ยวการคืน  การดูการละเล่น  การเล่นการพนัน  การคบคนชั่วเป็นมิตรและการเกียจคร้านการทำงาน  การเข้าไปเกี่ยวข้องกับอบายมุขจะก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ  มากมายในการดำเนินชีวิต  สุขภาพไม่ดี ขาดความสุข  เช่น  การดื่มน้ำเมาเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคโรคมะเร็งตับ  โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์  การขาดการพักผ่อน ร่างกายอ่อนเพลีย  เกิดอุบัติเหตุ  เป็นต้น  รวมถึงปัญหาทางด้านสุขภาพจิตและปัญหาสังคมด้วย องค์กรอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลลำสินธุ์  เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพของประชาชนใน
ตำบลลำสินธุ์ทุกคน  เพื่อให้ครบทุกกลุ่มเป้าหมาย คนสามวัยได้แก่  เด็ก  เยาวชน   และประชากรวัยทำงาน 
ที่มีเวลาว่างในการออกกำลังกายน้อยและมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคที่เรียกว่า "ภัยเงียบ"   ในอัตราที่สูงขึ้น  จึงได้จัดทำโครงการ 5 กลุ่มวัยสร้างสัมพันธ์ มหกรรมสุขภาพดี ปี 2566  เพื่อส่งเสริมสุขภาพและกระตุ้นให้ประชาชนในตำบลลำสินธุ์  หันมาใส่ใจดูแลสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัว อย่างจริงจัง  ลดอัตราการป่วยที่เกิดจากภัยเงียบ 
ได้อย่างถาวร  มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง   และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข 

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีการดูแลสุขภาพของตนเอง  ตามนโยบาย 6 อ. ได้แก่  ออกกำลังกาย อาหารปลอดภัย  อารมณ์แจ่มใส อนามัยสิ่งแวดล้อม   อโรคยา  อบายมุข

ประชาชนตระหนักถึงการดูแลสุขภาพตามนโยบาย 6 อ. ได้แก่  ออกกำลังกาย  อาหารปลอดภัย  อารมณ์แจ่มใส อนามัยสิ่งแวดล้อม   อโรคยา  อบายมุขเพิื่มมากขึั้น

70.00 85.00
2 เพื่อสร้างแกนนำสุขภาพในชุมชนที่มีความเข้มแข้งทุกกลุ่มวัย  มีสุขภาพกายและใจที่สมบูรณ์แข็งแรง

เกิดแกนนำชุมชนที่สามารถเป็นแกนนำในการดูแลสุขภาพในแต่ละพื้นที่

50.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
แกนนำอสม. 150

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 ประชุมแกนนำวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมออกกำลังกายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง (อสม.)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 ประชุมแกนนำวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมออกกำลังกายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง (อสม.)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 ประชุมแกนนำวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมออกกำลังกายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง (อสม.)                  1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท                 เป็นเงิน  1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 มิถุนายน 2566 ถึง 8 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.จำนวนผู้เข้าประชุม 2. ได้แบบแผนในการดำเนินกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้ อสม.เรื่องการขับเคลื่อนการบูรณาการ การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมและสร้างแกนนำการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม โดยยึดหลัก 6 อ. ใน 5 กลุ่มวัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้ อสม.เรื่องการขับเคลื่อนการบูรณาการ การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมและสร้างแกนนำการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม โดยยึดหลัก 6 อ. ใน 5 กลุ่มวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ป้ายโครงการขนาด 1.2*2.4 เมตร เป็นเงิน                 500  บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มของผู้เข้ารับการอบรมและคณะทำงาน  จำนวน 150 คนๆละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท   เป็นเงิน  7,500 บาท 3.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 150 คนๆละ 1 มื้อๆ ละ 70 บาท     เป็นเงิน  10,500 บาท 4.ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชม.ๆละ 300 บาท      เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 มิถุนายน 2566 ถึง 21 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.จำนวนผู้เข้าร่วมการอบรม 2.อสม.มีความรู้เรื่องการขับเคลื่อนการบูรณาการ การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมและสร้างแกนนำการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม โดยยึดหลัก 6 อ. ใน 5 กลุ่มวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20300.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 จัดประชุมให้ความรู้แก่ประชาชนตำบลลำสินธุ์ดูแลสุขภาพของตนเอง โดยยึดหลัก 6 อ. (ประชาชนกลุ่มเสี่ยง)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 จัดประชุมให้ความรู้แก่ประชาชนตำบลลำสินธุ์ดูแลสุขภาพของตนเอง โดยยึดหลัก 6 อ. (ประชาชนกลุ่มเสี่ยง)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 3 จัดประชุมให้ความรู้แก่ประชาชนตำบลลำสินธุ์ดูแลสุขภาพของตนเอง โดยยึดหลัก 6 อ.
(ประชาชนกลุ่มเสี่ยง)                1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มของผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 90 คนๆละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท                 เป็นเงิน  2,250 บาท                2.ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 3 ชม.ๆละ 300 บาท     เป็นเงิน 900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 กรกฎาคม 2566 ถึง 12 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2.ประชาชนมีความรู้และตระหนักถึงการนำหลัก 6 อ.มาปรับใช้ในการดูแลสุขภาพให้เหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3150.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมที่ 4 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้มหกรรมสุขภาพ (อสม.และประชาชนในพื้นที่ตำบลลำสินธุ์ 5 กลุ่มวัย)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 4 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้มหกรรมสุขภาพ (อสม.และประชาชนในพื้นที่ตำบลลำสินธุ์ 5 กลุ่มวัย)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 4 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้มหกรรมสุขภาพ (อสม.และประชาชนในพื้นที่ตำบลลำสินธุ์ 5 กลุ่มวัย)                1.ป้ายโครงการขนาด 1.2*2.4 เมตร จำนวน  2 ป้าย            เป็นเงิน     1,000   บาท
                2.ค่าวัสดุอุปกรณ์จัดบูทมหกรรมจำนวน 9 หมู่บ้านๆละ 1,500 บาท    เป็นเงิน     13,500 บาท                 3.ค่าวัสดุ อุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมการจัดมหกรรมสุขภาพ     เป็นเงิน     550  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 กรกฎาคม 2566 ถึง 20 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2.เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดูแลสุขภาพ นำไปเกิดการนำไปใช้ในการดูแลสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15050.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 40,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเองแบบองค์รวม
2. ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชนอย่างต่อเนื่อง
3. ประชาชนตระหนักถึงการดูแลสุขภาพผ่านเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้


>