กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ลดเสี่ยง ลดโรค (ความดัน เบาหวาน) ดาริง ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ม.4 ต.ตุยง

1. นางสาวปาตีเมาะ ดือเระ
2. นางสาวรอหานี ดอเลาะ
3. นางสาวฟาดีละ อาแวแบรอ
4. นางหามีดะห์ ปะกียา
5. นายเจ๊ะอับดุลวาหับ เจริญยืน

หมู่ที่ 4 บ้านดาริง ตำบลตุยง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

336.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

336.00

โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญเป็น “ภัยเงียบ”เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฏอาการ และเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนในอวัยวะสำคัญหลายระบบของร่างการ เช่น ตา ไต หลอดเลือดสมอง ในประเทศไทยนั้น อุบัติการณ์โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ในแต่ละปีเพิ่มขึ้นสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากโรคเรื้อรังเป็นโรคที่จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง และยาวนาน มีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาสูงมาก
ผลกระทบมาจากกระแสเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านาการเมือง เศรษฐกิจ การแข่งทางการตลาด การสื่อสารและการการคมนาคมรวมถึงการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตและสุขภาพของประชาชนเป็นอย่างมาก จะเห็นได้จากอดีตปัญหาสุขภาพของประชาชนส่วนใหญ่เจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อ แต่ปัจจุบันและอนาคตปัญหาสุขภาพดูแนวโน้มแล้วปัญหาสุขภาพจะมีผลกระทบมาจากสังคม สิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน พฤติกรรมการออกกำลังกาย พฤติกรรมความปลอดภัย การใช้ยาและสารเสพติด ปัญหาสุขภาพจิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง ตั้งแต่ปี 2563 – 2565 จากสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 19 ทีมีการระบาดในพื้นที่หมู่ที่ 4 บ้านดาริง ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก ประชาชนมีความวิตกกังวล ใช้ชีวิตที่ลำบากวิถีชีวิตต้องเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดยสิ้นเชิง สุขภาพกาย ใจ ถดถอยลง คาดการณ์ว่าประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป เป็นความดัน และเบาหวานเพิ่มขึ้น จากข้อมูลการคัดกรองโรคของชมรม อสม.ร่วมกับรพ.หนองจิก ตั้งแต่ปี 2563 – 2565 พบว่าร้อยละของประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงป่วยเป็นโรคความดันและเบาหวาน ในปี 2563 ร้อยละ 5 และ 1.4 ปี 2564 ร้อยละ 5.9 และ 1.8 ปี 2565 ร้อยละ 6.53 และ 2.43 ตามลำดับ
จากข้อมูลดังกล่าวชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านดาริง หมู่ที่ 4 ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เห็นควรที่จะต้องมีการส่งเสริมสุขภาพ เฝ้าระวังโรค อย่างเร่งด่วน เพื่อเป็นการคัดกรองโรคที่จะเกิดขึ้นและนำกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวมาเข้าสู่กระบวนการพัฒนาองค์ความรู้ การปฏิบัติตัว และเข้าสู่ระบบการส่งต่ออย่างทันท่วงที จึงได้ทำโครงการลดเสี่ยง ลดโรค (ความดัน เบาหวาน) เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถนำไปปฏิบัติและมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไปอย่างต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ในประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปในพื้นที่รับผิดชอบ

ร้อยละ 50 ของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

336.00 168.00
2 เพื่อให้ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบ ได้มีความรู้และมีบทบาทในการจัดการสุขภาพเฝ้าระวังโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวาน

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน มีความรู้การดูแลสุขภาพและเฝ้าระวังโรค

336.00 268.80

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 336
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมเครือข่ายสุขภาพเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆตามแผนการดำเนินงาน งบประมาณ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  20 มื้อ x 25 บาท   เป็นเงิน  500  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เครือข่ายสุขภาพมีความเข้าใจในการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

กิจกรรมที่ 2 ตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เบื้องต้น

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เบื้องต้น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เบื้องต้น  ในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปในพื้นที่รับผิดชอบ (งดอาหาร 8 ชม. ก่อนตรวจ) งบประมาณ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม   196 มื้อ x 25 บาท   เป็นเงิน  4,900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีข้อมูลผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นปัจจุบัน
  2. นำข้อมูลที่ได้ไปวางแผนการดำเนินงานในกิจกรรมต่อไป
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4900.00

กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมองค์ความรู้ในการเฝ้าระวังโรค

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมองค์ความรู้ในการเฝ้าระวังโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

พัฒนาองค์ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยง โดยการจัดกิจกรรม ปิงปอง จราจร 7 สี อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพ การปรับเปลี่ยน พฤติกรรมการบริโภคและการเฝ้าระวังโรคในพื้นที่ งบประมาณ - ค่าอาหารกลางวัน 60 มื้อ x 60 บาท  เป็นเงิน 3,600 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 60 มื้อ x 35 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน  4,200 บาท - ค่าวิทยาการ 3 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน  1,800 บาท รวมเป็นเงิน 9,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน และได้รับองค์ความรู้ใหม่ๆ
  2. กลุ่มเป้าหมายได้นำความรู้ไปใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการบริโภคและเผยแพร่ต่อไป
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9600.00

กิจกรรมที่ 4 เยี่ยมบ้านติดตามอาการ

ชื่อกิจกรรม
เยี่ยมบ้านติดตามอาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รุกชุมชน เยี่ยมบ้าน ติดตามกลุ่มเสี่ยงหรือผู้ป่วย และวางแผนระบบส่งต่อตามความเหมาะสม งบประมาณ - ไม่ต้องใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1. ได้ข้อมูล และบริบทที่อยู่อาศัยของกลุ่มเสี่ยง 2. มีการติดตามความเสี่ยงของโรค 3. เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างเครือข่ายสุขภาพกับกลุ่มเสี่ยงหรือผู้ดูแล ผลลัพธ์ 1. มีระบบการส่งต่อที่รวดเร็ว และการวินิจฉัยโรคที่ทันท่วงที
2. เครือข่ายสุขภาพเข้มแข็ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 ประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปผลการดำเนินงาน จัดทำรูปเล่มรายงานกองทุนฯ งบประมาณ - ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีรายงานสรุปส่งให้คณะกรรมการกองทุนฯ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)
1. ประชุมแกนนำ เครือข่ายสุขภาพ เพื่อเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ
2. คัดกรองโรคความดัน เบาหวาน ประเมินภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพ บูรณาการร่วมกับหน่วยงานราชการในพื้นที่
3. พัฒนาองค์ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยง โดยการจัดกิจกรรม ปิงปอง จราจร 7 สี อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการเฝ้าระวังโรคในพื้นที่
4. การรุกชุมชน ติดตามเยี่ยมบ้าน เสริมกำลังใจให้แก่กลุ่มเสี่ยง และผู้ป่วย
5. สรุปผลการดำเนินงาน

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความตระหนัก และใส่ใจในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชน สามารถจัดการสุขภาพตนเองโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ได้อย่างเหมาะสม
2. เกิดการพัฒนาการดำเนินงานปิงปอง 7 สี ลดเสี่ยง ลดโรค ในประชาชนทั่วไป
3. ภาคีเครือข่ายมีบทบาทในการดำเนินงานป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง


>