แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล รหัส กปท. L8008
อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
นางจิราภรณ์ เอี้ยวเหล็ก ประธาน 0973547262
น.ส.พัฒนาวดี หลีนิ่ง0867415983
นางสาวกฤษณา ละอองสุวรรณ
นางจริยา อิตรกี
นางอรัตนยา โอสถาน
พญ.ซัลมา มาลินีที่ปรึกษากองทุนศูนย์ฟื้นฟูฯ
จากสถานการณ์ของสังคมโลกปัจจุบัน กำลังเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ความก้าวหน้าด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศไทย อัตราการเกิดน้อยลง ประชากรมีอายุยืนยาวมากขึ้นจะส่งผลให้คาดว่าอีก 20 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะเป็นสังคมสูงวัยระดับยอดสูงสุด คือ มีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 20 ขึ้นไป อาจกล่าวได้ว่าในปี 2564 ประเทศไทยจะกลายเป็น “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์” (Aged Society) และจากนั้นอีก 10 ปี ประเทศไทยจะกลายเป็น “สังคมสูงวัยระดับยอดสูงสุด” (Supper - Aged Society) จากสภาพปัญหาและสถานการณ์ของผู้สูงอายุ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลกระทบทางสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม การส่งเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูผู้สูงอายุ ให้มีสุขภาพดี เพื่อยืดเวลาที่จะเกิดการเจ็บป่วย การเกิดความพิการ ยืดเวลาการเข้าสู่ภาวะทุพพลภาพออกไป โดยจำนวนประชากรกลุ่มผู้สูงอายุและผู้พิการในจังหวัดสตูล พบว่ามีจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด36,298คน และผู้พิการจำนวนทั้งหมด 8,128 คน ทั้งนี้ผู้สูงอายุและผู้พิการส่วนใหญ่ในจังหวัดสตูลมีปัญหาสุขภาพ เจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ข้อเข่าเสื่อม หลอดเลือดสมอง อาการปวดหลัง ปวดไหล่ ภาวะข้อติด
นอกจากนี้ยังพบผู้พิการมีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุ เช่น อุบัติเหตุทางถนน พิการแต่กำเนิด ฯลฯ โดยมีจำนวนกลุ่มผู้สูงอายุและผู้พิการ ผู้ป่วยกลุ่มติดเตียงมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยสถานการณ์ปัจจุบัน ตำบลพิมาน มีจำนวนผู้พิการจำนวน 242 คน ผู้สูงอายุทั้งหมด จำนวน 3,727คน ผู้สูงอายุติดบ้าน 6 ราย ผู้สูงอายุติดเตียง 13 ราย ในจำนวนนี้ มีผู้ป่วยระยะกึ่งเฉียบพลัน 8 ราย ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการฟื้นฟูหลังประสบอุบัติเหตุ 8 ราย ผู้ที่มีอาการปวดไหล่ ไหล่ติด 42 ราย ผู้ที่มีอาการปวดหลัง 53 ราย ผู้ที่มีอาการปวดเข่า มีภาวะข้อเข่าเสื่อม 72 ราย ผู้ป่วยที่มีภาวะข้อติด 9 ราย ประกอบกับแผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลสตูล มีจำนวนผู้ป่วยมารับบริการเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มโรค คิดเป็นผู้ป่วยกลุ่มผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ 70 รองลงมาคือวัยทำงาน และผู้พิการ การดูแลรักษาฟื้นฟูจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากหากได้รับการฟื้นฟูช้า จะส่งให้มีความพิการ มีความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันลดลง ต้องอยู่ในภาวะภาวะพึ่งพิงผู้อื่นเพิ่มขึ้นซึ่งทางโรงพยาบาลสตูลมีนโยบายร่วมกับหน่วยงานภาครัฐในท้องถิ่น ภาคประชาชน ในการจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพโดยชุมชน (CBR : community-based rehabilitation) ให้มีศักยภาพ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการให้กับประชาชนตำบลฉลุง และพื้นที่ใกล้เคียง เนื่องจากการประเมินศักยภาพ วิเคราะห์ร่วมกันในเขตเทศบาลตำบลฉลุง มีความพร้อมทั้งด้านภาคประชาชน มีสถานที่ดำเนินการ อีกทั้งความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและภาคีเครือข่าย ทั้งนี้เพื่อลดความแออัดใน โรงพยาบาลสตูล ลดระยะเดินทาง ตลอดจนค่าใช้จ่าย ลดภาระแก่ผู้สูงอายุ ผู้พิการและญาติ
ดังนั้นทางศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุและผู้พิการ ใคร่ขอการสนับสนุนจัดทำโครงการจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพโดยชุมชน ตำบลพิมาน การจัดอบรมอาสาสมัครประจำศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพโดยชุมชนตำบลพิมานและการจัดซื้อวัสดุเพื่อการรักษาฟื้นฟูทางกายภาพบำบัดเพื่อใช้ในการรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพ ทั้งในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพโดยชุมชนตำบลพิมาน และพื้นที่ใกล้เคียงตลอดจนสามารถพกพาให้บริการในชุมชนได้ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการรับบริการทางด้านสาธารณสุขในพื้นที่ ส่งผลให้มีความรวดเร็วในการรักษา ฟื้นฟู ส่งเสริมคุณภาพชีวิต ลดความพิการและภาวะแทรกซ้อน มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นไป
-
1. เพื่อให้ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีอาการปวด ผู้ป่วยระยะกึ่งเฉียบพลัน และผู้พิการในชุมชนตำบลพิมาน เข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ ได้รับบริการที่มีคุณภาพ ต่อเนื่อง ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางตัวชี้วัด : เกิดศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพโดยชุมชน ตำบลพิมาน 1 แห่งขนาดปัญหา 0.00 เป้าหมาย 1.00
-
2. เพื่อพัฒนาอาสาสมัครในชุมชน ให้มีความสามารถฟื้นฟูสมรรถภาพแก่ประชาชนในชุมชนได้ตัวชี้วัด : เกิดอาสาสมัครในชุมชน และมีความสามารถฟื้นฟูสมรรถภาพแก่ประชาชนในชุมชนได้ขนาดปัญหา 30.00 เป้าหมาย 0.00
-
3. เพื่อส่งเสริมให้ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพโดยชุมชน มีการบริการด้านกิจกรรมบำบัดให้แก่ผู้ป่วยภายในศูนย์ฯตัวชี้วัด : ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยที่ต้องรับบริการกิจกรรมบำบัด ได้รับการฟื้นฟูขนาดปัญหา 10.00 เป้าหมาย 0.00
- 1. ประชุมคณะกรรมการศูนย์ฟื้นฟูฯ เทศบาลเมืองสตูลรายละเอียด
รูปแบบกิจกรรม
ร่วมวิเคราะห์ข้อมูลผู้สูงอายุ ผู้ที่มีอาการปวด ผู้ป่วยระยะกึ่งเฉียบพลัน และผู้พิการเพื่อกำหนดชนิดของเครื่องมือที่ต้องการไว้ประจำศูนย์ในชุมชนตำบลพิมาน เพื่อใช้ในการรักษาตลอดจนอาการดีขึ้น งบประมาณไม่มีงบประมาณ 0.00 บาท - 2. อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครประจำศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพโดยชุมชน ตำบลพิมาน (CBR)หลักสูตร 21 ชั่วโมง จำนวน 30 คนรายละเอียด
รูปแบบกิจกรรม : อบรมเชิงปฎิบัติการ และลงฝึกปฎิบัติกับผู้ป่วยในชุมชน ใส่รายละเอียดหลักสูตร งบประมาณ
1.ค่าอาหารกลางวัน 70 บาท x 30 คน x 1 มื้อ x 3 วัน 6,300 บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 30 คน x 2 มื้อ x 3 วัน 5,400 บาท
3.ค่าวัสดุอุปกรณ์/ เอกสารประกอบการอบรม 100 บาท x 30คน 3,000 บาท
4.ค่าวัสดุอุปกรณ์ทำลูกประคบสมุนไพร 2,800 บาท
5.ค่าวิทยากร บรรยาย 11 ชั่วโมง x 600 บาท 6,600 บาท
กำหนดการฝึกอบรม
โครงการจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพโดยชุมชน ตำบลพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
กิจกรรมที่ 1 กำหนดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครประจำศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพโดยชุมชนตำบลพิมาน รุ่นที่ 1 ปีงบประมาณ 2566 หลักสูตร 21 ชั่วโมง ณ ห้องประชุมศูนย์นันทนาการผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาอาชีพ
วันที่ 1 ของการอบรม
เวลากิจกรรม
08.00– 08.30 น.ผู้เข้าร่วมประชุมลงทะเบียน-เปิดงานการอบรมเชิงปฏิบัติการ
08.30– 10.00 น.บรรยาย : การจัดเตรียมอาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ และผู้ป่วยที่ใส่สายอาหาร
วิทยากร : นางสาว นูรฉาม มาลินี นักโภชนาการชำนาญการ
10.00– 12.00 น. บรรยาย : การช่วยเหลือผู้สูงอายุเบื้องต้น
-การตรวจร่างกาย (การวัดความดันโลหิต ชีพจร การหายใจ และอุณหภูมิร่างกาย) -การเช็ดตัวลดไข้ -การทำแผล/การประเมินการติดเชื้อ -การดูแลเรื่องการใช้ยาพ่นขยายหลอดลม -การดูดเสมหะ -การประเมินภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด
วิทยากร : นางอรอุมาพินธ์สุวรรณ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
12.00– 13.00 น.พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00– 14.30 น.บรรยาย : การดูแลระบบขับถ่าย -การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในระบบขับถ่าย -การดูแลการขับถ่ายปัสสาวะในผู้ป่วยชาย โดยใช้ถุงพลาสติก/ ถุงยาง -การดูแลผู้ป่วยที่ on Foley’s catheter การเฝ้าระวังการติดเชื้อ -อาการท้องผูก/ สาเหตุ การป้องกันและการแก้ไข วิทยากร : นาง ฐานุตรา บัวอ่อน พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
14.30– 16.30 น. บรรยาย : การดูแลผู้ป่วยที่ให้อาหารทางสายยาง และการดูแลผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ
วิทยากร : นาง ฐานุตรา บัวอ่อน พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
วันที่ 2 ของการอบรม
เวลา กิจกรรม
08.00– 08.30 น. ผู้เข้าร่วมประชุมลงทะเบียน
08.30– 10.30 น. บรรยาย : การใช้ยาและการประเมินการใช้ยาของผู้ป่วยที่บ้าน วิทยากร : นาง ชวนขวัญ แสงยืนยงพิพัฒน์ เภสัชกรปฏิบัติการ
10.30– 12.00 น. ฝึกปฏิบัติ : การดูแลผู้ป่วยระยะกึ่งเฉียบพลัน / การดูแลผู้ป่วยระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ วิทยากร : นางสาว อลิษา ปาลาสัน นักกายภาพบำบัดปฏิบัติการ นางสาว วรรณนิดา อารีมาน นักกายภาพบำบัด
12.00– 13.00 น.พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00– 14.30 น.ฝึกปฏิบัติ : การนวดพื้นฐาน วิทยากร : นางสาว วรารัตน์อโณทัยแพทย์แผนไทยปฏิบัติการ
14.30– 16.30 น.ฝึกปฏิบัติ: ทำลูกประคบสมุนไพรวิทยากร : นางสาว วรารัตน์ อโณทัยแพทย์แผนไทยปฏิบัติการ
วันที่ 3 ของการอบรม เวลากิจกรรม
08.00– 08.30 น.ผู้เข้าร่วมประชุมลงทะเบียน
08.30– 10.30 น.บรรยาย : กิจกรรมบำบัดในผู้ป่วยระยะกึ่งเฉียบพลัน
วิทยากร : นางสาว นุรฮูดา บูนำ นักกิจกรรมบำบัดปฏิบัติการ
10.30– 12.00 น. ฝึกปฏิบัติ: กายภาพบำบัดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งท่อน และเด็กที่
พัฒนาการล่าช้าวิทยากร : นางสาว อลิษา ปาลาสัน นักกายภาพบำบัดปฏิบัติการ นางสาว วรรณนิดา อารีมาน นักกายภาพบำบัด
12.00– 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00–14.30 น.ฝึกปฏิบัติ: การออกกำลังกาย เคลื่อนไหวข้อต่อเพื่อป้องกันข้อยึดติด (Passive/ Active exercise ) วิทยากร : นางสาว อลิษา ปาลาสัน นักกายภาพบำบัดปฏิบัติการ นางสาว วรรณนิดา อารีมาน นักกายภาพบำบัด
14.30– 16.30 น.ฝึกปฏิบัติ: การเคลื่อนย้าย (Transfer) การฝึกเดิน (Gait training) การฝึกกิจวัตรประจำวัน (ADL
Training) วิทยากร : นางสาว อลิษา ปาลาสัน นักกายภาพบำบัดปฏิบัติการ
นางสาว วรรณนิดา อารีมาน นักกายภาพบำบัดกำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
งบประมาณ 24,100.00 บาท - 3. การจัดทำเครื่องมือทางกายภาพบำบัดสำหรับใช้ในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพโดยชุมชนตำบลพิมาน (CBR)รายละเอียด
รูปแบบการให้บริการทางกายภาพบำบัดสำหรับใช้ในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพโดยชุมชนตำบลพิมานรูปแบบจัดบริการในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง/หรือโรคอื่นๆที่อาการเรื่มดีขึ้น ก่อนการจำหน่าย ทุกวันพุธบ่าย ณ ห้องกายภาพบำบัด อาคารศูนย์นันทนาการผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาอาชีพ งบประมาณ ตามราบละเอียด (รายการจำนวน หน่วย ราคา/หน่วย ราคารวม)
1. ท่อโค้ง 2 ระดับ บริหารไหล่และฝึกการหยิบจับ (double curve) 1 อัน =12,000
2. Figure-8 board system 1 ชุด 48,000พร้อมโต๊ะวาง 15,000 บา่ท รวม = 63,000
3. Stacking cone 1 ชุด =5,000
4. เข็มขัดพยุงผู้ป่วย ขนาด S, M, L, XL 8 เส้น 1,800 =14,400
5. วงล้อบริหารไหล่และแขน 1ชุด= 13,000
6. ลูกบอลโยคะ ทรงถั่ว ทรงกลม ลูกละ 1,250 จำนวน 2 ลูก = 2,500งบประมาณ 109,900.00 บาท - 4. ติดตามประเมินผล การดำเนินงานผลการใช้เครื่องมือของศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพโดยชุมชนตำบลพิมาน (CBR)รายละเอียด
สรุปผลการดำเนินโครงการ รวบรวมภาพกิจกรรม
งบประมาณ ค่าถ่ายเอกสาร พิมพ์เอกสาร เข้าเล่มจำนวน 2 เล่มเป็นเงิน 500 บาทงบประมาณ 500.00 บาท
ฟื้นฟูสมรรถภาพ การใช้กล้ามเนื้อในกลุ่มผู้ป่วยทางการเคลื่อนไหว
ตั้งแต่ วันที่ 1 กันยายน 2566 ถึง 31 มกราคม 2567
ต.พิมาน อ.เมือง จ.สตูล
รวมงบประมาณโครงการ 134,500.00 บาท
หมายเหตุ : ทุกรายการถัวเฉลี่ยได้
- มีอาสาสมัครประจำศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการตำบลพิมาน ทำให้ผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยระยะกึ่งเฉียบพลัน และผู้พิการสามารถเข้าถึงบริการของรัฐโดยชุมชนมีส่วนร่วม อย่างทั่วถึง สะดวก ลดค่าใช้จ่ายค่าเดินทาง มีผลลัพธ์ที่ดี ได้รับการดูแลต่อเนื่อง
- ผู้สูงอายุ/ ผู้ป่วยระยะกึ่งเฉียบพลันและผู้พิการในชุมชนตำบลพิมาน ได้รับการรักษาโดยเครื่องมืออุปกรณ์ทางกายภาพบำบัดที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ทันสมัย ลดภาวะพึ่งพิง ลดความพิการ คุณภาพชีวิตดี
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล รหัส กปท. L8008
อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล รหัส กปท. L8008
อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................