กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิตูมุดี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพในกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน 0-3 ปี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิตูมุดี

รพ.สต.ปิตูมุดี

ตำบลปิตูมุดี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาทันตสุขภาพในอำเภอยะรัง พบว่ายังเป็นปัญหาที่มีความรุนแรง เด็กเล็กมัอัตราฟันผุที่สูงเมื่อเทียบกับสภาวะทันตสุขภาพของประเทศและจังหวัดปัตตานี ข้อมูลจากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพช่องปากครั้งที่ 7ปี 2555 พบว่า เด็ก3 ปี มีฟันน้ำนมผุถึงร้อยละ 51.7 ซึ่งเห็นได้ว่าข้อมูลฟันผุในเด็กช่วงอายุ 3 ปี อยู่ในระดับที่สูง ฟันผุทำให้เกิดปัญหาหลายอย่างตามมา เช่น เด็กไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ตามปกติ นอนไม่หลับ ส่งผลให้เด็กเจริญเติบโตไม่เต็มที่ เด็กปฐวัยเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในชีวิต ดังนั้นเด็กจึงควรได้รับการเลี้ยงดู ได้รับการเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิดและเหมาะสม เพื่อให้เด็กมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์และมีพัฒนาการเติบโตตามวัย จากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพในเขตอำเภอยะรัง ปี 2565 เด็กอายุ 3 ปี มีฟันน้ำนมผุร้อยละ 14.89 ในส่วนของตำบลปิตูมุดีนั้นพบฟันน้ำนมผุ ร้อยละ 60.0 ซึ่งถือได้ว่าเป็นอัตราฟันผุที่สูงมาก จากการสำรวจในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือสถานบริบาลในพื้นที่ พบว่าปัญหาฟันผุมักเกิดก่อนเด็กเข้ารับการศึกษาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก นั่นคืิอตั้งแต่อายุ 0-3 ปี การแก้ปัญหาฟันผุในเด็กเล็กมีงานวิชาการมากมายที่สนับสนุนให้มีการใช้ฟลูออไรด์วานิซ เนื่องจากฟลูออไรด์จะช่วยยับยั้งการสูญเสียแร่ธาตุออกจากผิวฟัน และเร่งให้เกิดการสะสมกลับของแร่ธาตุที่ผิวฟัน ในทางทันตสาธารณสุขฟลูออไรด์วานิซเป็นฟลูออไรด์ความเข้มข้นสูงรูปแบบหนึ่งที่ใช้ทาผิวเคลือบฟัน จัดเป็นฟลูออไรด์ที่มีความปลอดภัยสามารถใช้ได้กับเด็กเล็ก ตั้งแต่เริ่มมีฟันซี่แรกขึ้นมาในช่องปาก ช่วยลดอัตราการเกิดฟันผุในเด็กเล็กได้ ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปิตูมุดี จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพในกลุ่มเด็ก 0-3 ปี ขึ้นมาเพื่อลดอัตราการเกิดฟันผุในเด็กเล็กส่งผลให้เด็กมีทันตสุขภาพที่ดีต่อไปในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อให้เด็ก 0-3 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและเคลือบฟลูออไรด์วานิซ
2.เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก
3.เพื่อให้ผู้ปกครองได้ฝึกปฏิบัติการดูแลทำความสะอาดสุขภาพช่องปากเด็ก

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครองและเด็กอายุ 0-3 ปี 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพในกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน 0-3 ปี

ชื่อกิจกรรม
โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพในกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน 0-3 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.เสนอโครงการ 2.ประชาสัมพันธ์โครงการ 3.จัดอบรมให้ความรู้ และฝึกปฏิบัติ 4.ตรวจฟันและเคลือบฟลูออไรด์ฯ 5.สรุปผลการดำเนินโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก สามารถดูแลทำความสะอาดช่องปากเด็กได้ ตลอดจนสามารถไปบอกต่อกลุ่มเป้าหมายอื่น ๆ ในชุมชนได้
2.ร้อยละฟันผุในเด็กอายุ 3 ปี ของตำบลปิตูมุดีมีอัตราลดลง


>