กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ชุมชนภูมาภิรมย์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (ชุมชนภูมาภิรมย์)
กลุ่มคน (ระบุ 5 คน)
1. นายวิวัธน์ หริรักษ์ไพบูลย์
2. นายเสกสิทธิ์ แซ่นุ้ย
3. นายวิชญะ หนูบ่ม
4. นางมริสสา ดิอินวงค์
5. นางวาสนา หริรักษ์ไพบูลย์

ชุมชนภูมาภิรมย์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ปัจจุบันเทคโนโลยีและสิ่งอำนวยความสะดวกเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันทำให้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ลักษณะอาชีพหรือพฤติกรรมการทำงานของผู้คนเปลี่ยนไป อาชีพที่ต้องใช้แรงในการทำงานหรือการเคลื่อนไหวทำกิจกรรมต่าง ๆ ลดลง ในขณะที่อาชีพนั่งโต๊ะทำงานหรือใช้แรงทำงานน้อยกลับเพิ่มมากขึ้น สอดคล้องการกับเปลี่ยนแปลงการทำงานจากยุคเกษตรกรรมหรือยุคอุตสาหกรรมไปสู่ยุคดิจิตอล จากวิถีชีวิตและพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปนี้ ส่งผลให้มีคนทำงานมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือโรค NCDs ที่ส่งผลให้ต่อการเสียชีวิตของประชากรโลกเป็นอันดับต้น ๆ เช่น โรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคไตเรื้อรัง เป็นต้นซึ่งปี 2565 สาเหตุการเสียชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลนครยะลา 10 อันดับแรก ได้แก่ 1.วัยชรา 2.หัวใจล้มเหลว ไม่ระบุรายละเอียด 3.ปอดบวม ไม่ระบุรายละเอียด 4.การติดเชื้อในกระแสเลือด ไม่ระบุชนิด 5.หัวใจหยุดเต้น ไม่ระบุรายละเอียด 6.หัวใจเต้นผิดจังหวะ ไม่ระบุรายละเอียด 7.การหายใจล้มเหลว ไม่ระบุรายละเอียด 8.โรคหัวใจ ไม่ระบุรายละเอียด 9.ไตวายเฉียบพลัน ไม่ระบุรายละเอียด 10.เนื้องอกร้าย ไม่ระบุรายตำแหน่ง ซึ่งเป็นการเสียชีวิตด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ถึง 6 อันดับด้วยกัน (ข้อมูลจาก HDC จังหวัดยะลา)
การป้องกันความเสี่ยงในการเกิดโรคอีกปัจจัยหนึ่ง คือการเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ ด้วยการทำกิจกรรมทางกาย การออกกำลังกาย หรือการเคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำ ทั้งนี้ การแพทย์วิถีธรรมเป็นการแพทย์ทางเลือกที่ใช้หลักการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม (Holistic Health Care) ศึกษาวิจัยองค์ความรู้และหลักการแพทย์วิถีธรรม โดย ดร.ใจเพชร กล้าจน ด้วยการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สามารถสังเคราะห์องค์ความรู้ด้านสุขภาพ 4 เรื่อง ได้แก่ 1.สาเหตุของความเจ็บป่วยตามหลักแพทย์ทางเลือกวิถีพุทธ 4 สาเหตุหลัก9 สาเหตุย่อย 2.กลไกการเกิดและการหายของโรค/อาการเจ็บป่วย ตามหลักแพทย์ทางเลือกวิถีพุทธ 3.กลุ่มอาการเจ็บป่วย ตามหลักแพทย์ทางเลือกวิถีพุทธ 5 กลุ่มอาการ 4.การปรับสมดุลเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพตามหลักแพทย์ทางเลือกวิถีพุทธในแนวทาง “3 สูตรปรับสมดุล 4 กลวิธีหลัก 9 เทคนิค” ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุขให้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ทางเลือกวิถีธรรมเพื่อการพึ่งตนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงตั้งแต่ ปี พ.ศ.2555 และได้รับการอนุมัติหลักสูตรชื่อ “การแพทย์ทางเลือกวิถีธรรม เพื่อการพึ่งตนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง” มีปรัชญาหลักสูตร คือ บูรณาการองค์ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพทุกศาสตร์ ด้วยธรรมะ นำไปสู่การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ประหยัด เรียบง่าย ปลอดภัย ได้ผล พึ่งตนเองและช่วยเหลือผู้อื่นใช้ทรัพยากรท้องถิ่นเป็นหลัก ประยุกต์กับวิถีชีวิตอย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับการขับเคลื่อนนโยบายของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) “สุขภาพดีวิถีใหม่ วิถีธรรม วิถีไทย วิถีเศรษฐกิจพอเพียง”
ชุมชนภูมาภิรมย์ มีประชากรทั้งสิ้น 540 คน เป็นผู้สูงอายุ 131 คน คิดเป็นร้อยละ 24.26 (ข้อมูลจากกองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครยะลา) ได้เล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็นของการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนทำงาน และกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) จึงจัดโครงการส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ชุมชนภูมาภิรมย์ขึ้น เพื่อกระตุ้น ส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนได้เลือกออกกำลังกายที่เหมาะสมด้วยตนเอง และสามารถใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ด้วยการรวมกลุ่มทำกิจกรรมออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอในสถานที่และเวลาที่เหมาะสมร่วมกัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ และสามารถ ออกกำลังกายที่เหมาะสมได้ด้วยตนเอง
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น
        ไม่น้อยกว่าร้อยละ  80
80.00
2 2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีการรวมกลุ่มออกกำลังกาย ในชุมชนภูมาภิรมย์
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีการรวมกลุ่มออกกำลังกายอย่างน้อย
        3 วัน/สัปดาห์
0.00
3 ผู้เข้าร่วมโครงการมีการรวมกลุ่มออกกำลังกายต่อเนื่องอย่างน้อย 4 เดือน

ผู้เข้าร่วมโครงการออกกำลังกายต่อเนื่องอย่างน้อย 4 เดือน มีค่าดัชนีมวลกายลดลง ร้อยละ 80

0.00
4 ผู้เข้าร่วมโครงกานมีความพึงพอใจในโครงการ

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในโครงการ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 15
กลุ่มผู้สูงอายุ 15
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 09/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 ประชุมเชิงปฏิบัติการการออกกำลังกาย ด้วยวิธี ดังนี้ 1.มาชร์ชิ่ง 2.การเดินเร็ว 3.การกายบริหารแบบโยคะ 4.การออกกำลังกายแบบซุปเปอร์พาวเวอร์ 5.การปรับสมดุลด้วยลมหายใจ 6.การนวดกดจุด จำนวน 1 วัน เป้าหมาย ประชาชนผู้สนใจ จากชุมชนภูมาภิรมย์ และชุมชนใก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 ประชุมเชิงปฏิบัติการการออกกำลังกาย ด้วยวิธี ดังนี้ 1.มาชร์ชิ่ง 2.การเดินเร็ว 3.การกายบริหารแบบโยคะ 4.การออกกำลังกายแบบซุปเปอร์พาวเวอร์ 5.การปรับสมดุลด้วยลมหายใจ 6.การนวดกดจุด จำนวน 1 วัน เป้าหมาย ประชาชนผู้สนใจ จากชุมชนภูมาภิรมย์ และชุมชนใก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 พฤษภาคม 2566 ถึง 13 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21145.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมการออกกำลังกาย ระยะเวลา 4 เดือน (ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม ถึง สิงหาคม) เป้าหมาย ประชาชนผู้สนใจ จากชุมชนภูมาภิรมย์ และชุมชนใกล้เคียง จำนวน 30 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมการออกกำลังกาย ระยะเวลา 4 เดือน (ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม ถึง สิงหาคม) เป้าหมาย ประชาชนผู้สนใจ จากชุมชนภูมาภิรมย์ และชุมชนใกล้เคียง จำนวน 30 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20800.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 ติดตามและประเมินผล ผู้เข้าร่วมโครงการ จากการออกกำลังกายต่อเนื่องอย่างน้อย 4 เดือน โดยการวัดค่าดัชนีมวลกาย เป้าหมาย ประชาชนผู้สนใจ จากชุมชนภูมาภิรมย์ และชุมชนใกล้เคียง จำนวน 30 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 ติดตามและประเมินผล ผู้เข้าร่วมโครงการ จากการออกกำลังกายต่อเนื่องอย่างน้อย 4 เดือน โดยการวัดค่าดัชนีมวลกาย เป้าหมาย ประชาชนผู้สนใจ จากชุมชนภูมาภิรมย์ และชุมชนใกล้เคียง จำนวน 30 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 41,945.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในชุมชนภูมาภิรมย์ เกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตนเอง
2. เกิดการร่วมกลุ่มทำกิจกรรมออกกำลังกายในชุมชนภูมาภิรมย์
3. สามารถป้องกัน และลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคอ้วนลงพุง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น ได้
4. สามารถนำความรู้ ไปเผยแพร่ให้แก่สมาชิกในครอบครัว และชุมชนต่อไป


>