กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนาระบบบริการฟื้นฟูและดูแลผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate care;IMC) ด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาวง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาระบบบริการฟื้นฟูและดูแลผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate care;IMC) ด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาวง

รพ.สต.บ้านนาวง

รพ.สต.บ้านนาวง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศไทย จากฐานข้อมูลของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พบว่าอุบัติการณ์ผู้ป่วยรายใหม่ในปี ๒๕๖๓ อายุตั้งแต่ ๑๕ ปีขึ้นไป เท่ากับ ๓๒๘ต่อ ประชากร ๑๐๐,๐๐๐ คน ซึ่งมีแนวโน้มสูงมากขึ้น ทำให้เกิดความต้องการการดูแลในโรงพยาบาลทั่วไปมีจำนวนเพิ่มขึ้น จนเกิดความแออัดผู้ป่วยต้องรอคิวเพื่อรับการรักษานาน และส่งต่อกลับไป โรงพยาบาลชุมชนมีได้น้อย ในขณะที่โรงพยาบาลชุมชนส่วนหนึ่งมีอัตราการ ครองเตียงทำให้ระบบบริการสุขภาพจำเป็นต้องปรับเปลี่ยน โดยมุ่งเน้นการให้บริการระดับปฐมภูมิในลักษณะใกล้บ้านใจ เพื่อตอบสนองของผู้ป่วยได้อย่างแท้จริง กระทรวงสาธารณสุขจึงวางกรอบแนวทางการพัฒนาระบบดูแลระยะกลาง โดยกำหนดให้ผู้ป่วยที่ควรได้รับการฟื้นฟูได้แก่ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะและสมอง (Traumatic brain injury) ผู้ป่วยบาดเจ็บทางไขสันหลัง (Spinal cord injury) และกระดูกสะโพกหัก (Hip fracture) ที่พ้นภาวะวิกฤติและมีอาการคงที่
จากข้อมูลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาวง ปี ๒๕๖๕ จำนวน ๔๒ ราย เป็นผู้ป่วยในเขตเทศบาลตำบลนาวง จำนวน ๑๑ รายและแนวโน้มมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี เพราะฉะนั้นการบริบาลฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยระยะกลางที่พ้นภาวะวิกฤติและมีอาการคงที่ แต่ยังคงมีความผิดปกติของร่างกายบางส่วนอยู่และมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน จึงจำเป็นต้องได้รับบริการฟื้นฟู สมรรถภาพทางการแพทย์โดยทีมสหวิชาชีพ (multidisciplinary approach) อย่างต่อเนื่องจนครบ ๖ เดือนตั้งแต่ในโรงพยาบาลจนถึงชุมชน
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาวงจึงได้เล็งเห็นความสำคัญในการจัดทำโครงการพัฒนาระบบบริการฟื้นฟูและดูแลผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate care ; IMC) ด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เพื่อให้ความรู้การดูแลผู้ป่วยระยะกลาง และติดตามเยี่ยมบ้านโดยทีมสหวิชาชีพ ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีสมรรถนะร่างกาย จิตใจ ในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และลดความพิการ หรือภาวะทุพพลภาพ รวมทั้งกลับสู่สังคมได้อย่างเต็มศักยภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้อสม.และผู้ดูแลผู้ป่วยมีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเบื้องต้น

ร้อยละ ๘๐ ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเบื้องต้น

0.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเข้าถึงบริการด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

ร้อยละ ๕๐ ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองรายใหม่ได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน ด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

30.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 42
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 29/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการ

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแก่อสม.และผู้ดูแลผู้ป่วย - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๑  มื้อๆละ ๒๕ บาท จำนวน ๕๐ คน = ๑,๒๕๐ บาท - ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์ ๑.๕ x  ๒ เมตร จำนวน ๑ ป้าย
= ๕๐๐ บาท - ค่าวิทยากร จำนวน ๒ คน รวม ๔ ชั่วโมงๆละ ๖๐๐ บาท = ๒,๔๐๐  บาท - ค่าเอกสารคู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน  ๕๐ เล่มๆละ ๑๐๐ บาท = ๕,๐๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเบื้องต้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9150.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมติดตามเยี่ยมบ้าน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามเยี่ยมบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองรายใหม่ด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อย่างน้อย รายละ 1 ครั้ง - ค่าลูกบอลบริหารมือและมือจับช้าง จำนวน  ๒๐ ชุดๆละ ๒๒๐ บาท = ๔,๔๐๐ บาท - ค่ารอกบริหารไหล่ จำนวน ๕ ชุดๆละ ๑,๐๐๐ บาท = ๕,๐๐๐ บาท - ค่าเอกสารและเข้าเล่มสรุปรายงานผลการดำเนินงาน จำนวน ๒ เล่มๆละ ๓๐๐ บาท  = ๖๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองรายใหม่ได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน ด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,150.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

อสม.และผู้ดูแลสามารถดูแลและฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate care ; IMC) ให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


>