กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมประชาชนร่วมใจเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคนำโดยแมลง (ไข้เลือดออกและไข้มาลาเรีย)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

โรงพยาบาลกาบัง

-

ลานหน้าเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลกาบัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดไข้เลือดออกและมาลาเรีย

 

50.00

โรคนำโดยแมลง (ไข้เลือดออกและไข้มาลาเรีย) นับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะโรคดังกล่าวฯ เป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และส่งผลกระทบด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกัน รณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอดและได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่า ปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนักยังคงเป็นปัญหาสําคัญในระดับประเทศเรื่อยมา ไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่ เกิดจากยุงลายเป็นพาหะของโรค ปัจจุบันพบว่ามีอัตราการเกิดโรคจํานวนมากขึ้นทุกปี โรคไข้เลือดออกระบาดในช่วง ฤดูฝน ยุงลายชอบวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์ จานรองขาตู้กับข้าว เป็นต้น ปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกทําให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับ ไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออก เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม
ดังนั้น การดําเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสําคัญและถือเป็น ภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนําให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่าง จริงจังและต่อเนื่อง ดังนั้น โรงพยาบาลกาบัง จึงจัดทําโครงการอบรมประชาชนร่วมใจเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคนำโดยแมลง (ไข้เลือดออกและไข้มาลาเรีย) ประจําปี 2566 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันและควบคุมโรคนำโดยแมลง มีพฤติกรรมในการทําลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่ถูกวิธีและเหมาะสมอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ รวมถึงมีพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้มาลาเรีย เพื่อลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรียในชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเฝ้าระวังป้องกันโรคนำโดยแมลง (ไข้เลือดออกและไข้มาลาเรีย)

ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมในการป้องกันไม่ให้เกิดโรคนำนำโดยแมลง (โรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรีย) ร้อยละ 50  และไม่มีผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออกเกิดในรายที่ 2 ในระยะ 2 เท่าระยะฟักตัว

60.00 70.00

เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเฝ้าระวังป้องกันโรคนำโดยแมลง (ไข้เลือดออกและไข้มาลาเรีย)

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 110
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเฝ้าระวังป้องกันโรคนำโดยแมลง (ไข้เลือดออกและไข้มาลาเรีย)

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเฝ้าระวังป้องกันโรคนำโดยแมลง (ไข้เลือดออกและไข้มาลาเรีย)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆละ 50 บาท X 110 คน                  เป็นเงิน     5,500    บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆละ 35 บาท X 110 คน  เป็นเงิน     7,700    บาท ค่าวิทยากร 300 บาท x 6 ชั่วโมง                                              เป็นเงิน     1,800    บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 1 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต:เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเฝ้าระวังป้องกันโรคนำโดยแมลง (ไข้เลือดออกและไข้มาลาเรีย) ผลลัพธ์:ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมในการป้องกันไม่ให้เกิดโรคนำนำโดยแมลง (โรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรีย)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมในการป้องกันไม่ให้เกิดโรคนำนำโดยแมลง (โรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรีย) ร้อยละ 50 และไม่มีผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออกเกิดในรายที่ 2 ในระยะ 2 เท่าระยะฟักตัว


>