กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

เยาวชนแข็งแรง สร้างแฉงแหวงเข้มแข็ง ปี 66

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

ชมรมกีฬาเพื่อสุขภาพ หมู่ที่ 5 บ้านแฉงแหวง

1. นายสานูซี กาเจ
2. นายชวลิต เจะดือเระ
3. นายฮาซัน สุหลง
4. นายอาชัญ จินตพันธ์
5. นายอัมรัญ สะนิ

หมูที่ 5 บ้านแฉงแหวง ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก ปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและเยาวชน อายุไม่เกิน 25 ปีในชุมชน ที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด

 

70.00
2 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

 

61.00

ชมรมกีฬาเพื่อสุขภาพ หมู่ 5 เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ที่มีความใกล้ชิดกับวัยรุ่นในพื้นที่ ได้มีกิจกรรมหลายๆกิจกรรมปฏิสัมพันธ์กับวัยรุ่น มาหลายปี เช่น การจัดกิจกรรมเพื่อให้เยาวชนได้มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การจัดกิจกรรมจิตอาสาเพื่อช่วยเหลือชุมชนในด้านต่างๆ เป็นต้น จากการสังเกตและรวบรวมข้อมูลของชมรม พบว่าเยาวชนในพื้นที่มีความเสี่ยงกับการติดหรือเสพยาเสพติดสูง เนื่องจากชุมชนเป็นชุมชนแออัด มีพื้นที่ไม่มาก และเป็นชุมชนเปิดที่มีถนนสายหลักผ่าน หมู่บ้านหลายเส้นทางเยาวชนที่เป็นผู้ชายไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการเรียนหนังสือ มีพฤติกรรมที่สูบบุหรี่ ตั้งแต่อายุ 13 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 9
ทางชมรมมองเห็นว่าการปลูกจิตสำนึกด้านจิตสาธารณะแก่บุคคลมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เป็นการสร้างคุณธรรม จริยธรรมภายในให้บุคคลรู้จักการเสียสละ ร่วมแรงร่วมใจ ร่วมมือในการจัดกิจกรรมต่างๆที่เป็นประโยชน์เพื่อส่วนรวม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างประโยชน์สุขของคนในสังคม การพูดคุยในเรื่องของค่านิยมในกลุ่มเฉพาะ วิถีชีวิตเพื่ออนาคตของตนเอง แนวทางการดำเนินชีวิต เป็นกระบวนการหรือกิจกรรมที่จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องในกลุ่มเยาวชน
ลักษณะประการหนึ่งของกิจกรรมสาธารณะก็คือเป็นกิจกรรรมตามความสมัครใจ เยาวชนต้องลงมือทำด้วยความรับผิดชอบต่อหน้าที่ โดยคำนึงถึงผู้ที่จะได้รับจากการกระทำนั้นจึงทำให้เยาวชนที่จะเข้าร่วมกิจกรรมสามารถที่จะพัฒนาคุณลักษณะพึงประสงค์โดยมุ่งเน้นปลูกฝังให้เยาวชนมีจิตสาธารณะที่พร้อมจะช่วยเหลือสังคม จะต้องเริ่มให้เยาวชนเริ่มมีจิตสำนึกอาสาเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นผู้นำสังคมอย่างมีจิตสำนึกต่อไปและที่สำคัญต้องมีกิจกรรมการออกกำลังกายการขยับกายควบคู่กันอย่างสม่ำเสมอ หากเยาวชนได้มีการรวมตัวกัน มีความเข้าใจในรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เหมือนกันก่อให้เกิดความสามัคคีกัน ภัยคุกคามต่างๆจากภายนอก ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเยาวชนและประชาชนในพื้นที่ เพราะเยาวชนคือกำลัง พลัง อนาคตของชุมชน เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เยาวชนในพื้นที่ได้มีจิตอาสา มีจิตสำนึกที่ดีและกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเยาวชนในพื้นที่ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม จึงได้จัดทำโครงการ เยาวชนแข็งแรง สร้างแฉงแหวงเข้มแข็ง ปี 66 ขึ้น เพื่อเป็นศูนย์รวมในการรวมกลุ่มเยาวชนได้มีกิจกรรม การขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆในกลุ่ม จึงจัดทำโครงการขอรับการพิจารณาจากการคณะกรรมการกองทุนฯ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เยาวชนในพื้นที่ได้มีการออกกำลังกายใช้เวลาว่างให้เป็นประโยช์ไม่มั่วสุมกับยาเสพติด

ร้อยละ 80 ของเยาวชนในพื้นที่ได้มีการออกกำลังกาย การขยับกายย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆ ละไม่น้อยกว่า 30 นาที

70.00 56.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพของสภาเยาวชน ในพื้นที่ในการเฝ้าระวังการระบาดของยาเสพติดและกิจกรรมเป็นประโยชน์ต่อชุมชน

ร้อยละ 90 ของเยาวชนในพื้นที่ได้มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมที่เป็นการเฝ้าระวังการระบาดของยาเสพติดและกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน

70.00 63.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 70
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 พัฒนาศักยภาพองค์ความรู้ของสมาชิกชมรม

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาศักยภาพองค์ความรู้ของสมาชิกชมรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

พัฒนาศักยภาพองค์ความรู้ของสมาชิกชมรม
    - ประชุมเครือข่ายสร้างสุขภาพ กลุ่มวัยรุ่นในพื้นที่ เพื่อขับเคลื่อนโครงการ การดำเนินงาน ในกิจกรรมต่างๆ งบประมาณ     - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 100 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. สมาชิกชมรม มีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงาน
  2. สมาชิกชมรมหรือเครือข่ายสุขภาพร่วมประชุมอย่างต่อเนื่อง
  3. เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ และมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
  4. มีการมอบหมายหน้าที่ในการปฏิบัติงาน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกาย การขยับกาย

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกาย การขยับกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกาย การขยับกาย     - กิจกรรมเคลื่อนขยับยามเย็น เช่น การส่งเสริมการเล่นกีฬาทีนิยมต่างๆในพื้นที่ ส่งเสริมเข้าร่วมการแข่งขันในระดับต่างๆ การสอนและฝึกทักษะกีฬาและอื่นๆ งบประมาณ     - ค่าวัสดุ อุปกรณ์ เพื่อใช้ในกิจกรรม เช่น ลูกฟุตบอล วอลเลย์บอล ตะกร้อ ตาข่าย หรืออื่นๆที่ใช้ในกิจกรรม      เป็นเงิน  5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เยาวชนร่วมกิจกรรมเคลื่อนไหวทางกาย เช่น เล่นกีฬาต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
  2. เยาวชนสามารถนำความสามารถของตนเองไปต่อยอดในระดับที่สูงขึ้น
  3. เยาวชนใช้เวลาว่างเล่นกีฬา ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมกิจกรรมจิตอาสารักสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมกิจกรรมจิตอาสารักสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ส่งเสริมกิจกรรมจิตอาสารักสุขภาพ
   - จิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม เช่น การเก็บขยะตกค้าง 2 ข้างทางสาธารณะ การปลูกต้นไม้ในบริเวณต่างๆในหมู่บ้าน กิจกรรมพัฒนาพื้นที่สถานที่สาธารณประโยชน์ต่างๆ กิจกรรมรณรงค์ถังขยะเปียกลดโลกร้อน กิจกรรมการคัดแยกขยะ เป็นต้น    - จิตอาสาเพื่อนดูแลเพื่อนหรือตาสัปปะรด ห่างไกลยาเสพติด
งบประมาณ    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  25 บาท x 200 มื้อ   เป็นเงิน 4,000 บาท    - ค่าวัสดุ อุปกรณ์ เพื่อใช้ในกิจกรรม เช่น วัสดุอุปกรณ์ทางการเกษตร ถังขยะ ถุงดำ ถุงแดง พันธ์ไม้ดอก ไม้ประดับต่างๆ หรืออื่นๆที่ใช้ในกิจกรรม  เป็นเงิน  3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เยาวชนมีทัศนคติในการใช้ชีวิตที่ดีขึ้น
  2. เยาวชนมีความรักในหมู่คณะ
  3. เยาวชนรวมกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
  4. สร้างระบบพี่ดูแลน้อง เพื่อนดูแลเพื่อนหรือตาสัปปะรด ห่างไกลยาเสพติด
  5. เกิดการพัฒนาศักยภาพชมรม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7000.00

กิจกรรมที่ 4 สรุป ประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุป ประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปผลการดำเนินงาน และถอดบทเรียน รวบรวมกิจกรรมต่างๆ ที่ได้ดำเนินการ รายละเอียด หลักฐานทางการเงิน งบประมาณ    - ไม่ต้องใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีข้อมูล เพื่อประกอบการทำโครงการในปีต่อไป
  2. มีรายงานสรุปเป็นรูปเล่ม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,500.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)
1. จัดทำโครงการเพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ
2. พัฒนาศักยภาพองค์ความรู้ของกลุ่มเป้าหมาย
- ประชุมเครือข่ายสร้างสุขภาพ กลุ่มวัยรุ่นในพื้นที่ เพื่อชี้แจงโครงการแนวทางกการดำเนินงาน ในกิจกรรมต่างๆ
3. ส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกาย การขยับกาย อย่างต่อเนื่อง เช่น
- กิจกรรมเคลื่อนขยับยามเย็น เช่น การส่งเสริมการเล่นกีฬาทีนิยมต่างๆในพื้นที่ ส่งเสริมเข้าร่วมการแข่งขันในระดับต่างๆ การสอนและฝึกทักษะกีฬาและอื่นๆ
4. ส่งเสริมกิจกรรมจิตอาสาเพื่อพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่
- จิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม เช่น การเก็บขยะตกค้าง 2 ข้างทางสาธารณะ การปลูกต้นไม้ในบริเวณต่างๆในหมู่บ้าน กิจกรรมพัฒนาพื้นที่สถานที่สาธารณประโยชน์ต่างๆ กิจกรรมรณรงค์ถังขยะเปียกลดโลกร้อน กิจกรรมการคัดแยกขยะ เป็นต้น
- จิตอาสาเพื่อนดูแลเพื่อนหรือตาสัปปะรด ห่างไกลยาเสพติด
5. สรุปผลการดำเนินงาน

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เยาวชนได้ตระหนักให้ความสำคัญต่อสุขภาพของตนเอง และคนรอบข้าง
2. เยาวชนมีพฤติกรรมไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด สามารถปฏิบัติตนในแนวทางที่ถูกต้อง เหมาะสมและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้อืน ในสถานศึกษา และชุมชุน
3. เยาวชนตระหนักในกิจกรรมจิตอาสา
4. เยาวชนเป็นกำลังหลักของหมู่บ้านในทุกเรื่อง
5. เยาวชนมีความรู้สึกสำคัญมีคุณค่าในตนเอง และชุมชน


>