กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาวง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพหนังศีรษะ เส้นผม และผิวหนังนักเรียน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาวง

โรงเรียนวัดไตรสามัคคี

โรงเรียนวัดไตรสามัคคี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่เป็นเหา

 

19.18

จากการสำรวจติดตามสุขภาพนักเรียนโรงเรียนวัดไตรสามัคคีตำบลวังคีรีอำเภอห้วยยอดจังหวัดตรังรายบุคคล พบว่าในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2565มีนักเรียนหญิงเป็นเหา จำนวนทั้งสิ้น80คน คิดเป็นร้อยละ19.18และจากการสำรวจล่าสุด ภาคเรียนที่ 1 (เดือนสิงหาคม)ปีการศึกษา 2565 จากการสอบถามผู้ปกครองนักเรียน พบว่า จากการที่นักเรียนมาโรงเรียน มีการใกล้ชิดกับเพื่อนๆ ทำให้มีนักเรียนที่เป็นเหา 47คน คิดเป็นร้อยละ 11.27 ซึ่งอาจเกิดจากการไม่รักษาความสะอาดสุขภาพเส้นผม และหนังศีรษะ และจากการคลุกคลีกับเพื่อนในวัยเดียวกัน ทำให้เป็นเหาจนเป็นที่รังเกียจของเพื่อนๆ ทำให้นักเรียนขาดความมั่นใจเสียบุคลิกภาพและมีผลกระทบต่อการเรียนเป็นอย่างมาก จากปัญหาดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่านักเรียนไม่เห็นความสำคัญในการดูแลรักษาสุขภาพและเนื่องมาจากนักเรียนบางส่วนฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดี จึงไม่มีเงินสำหรับรักษา ประกอบกับไม่ได้รับการดูแลรักษาสุขภาพจากครอบครัวเท่าที่ควรโรงเรียนวัดไตรสามัคคีได้เล็งเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพของนักเรียนจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพหนังศีรษะขึ้นเพื่อแก้ปัญหาเหาให้กับนักเรียนกลุ่มดังกล่าวให้มีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนได้รับการตรวจสุขภาพหนังศีรษะและการเป็นเหา

ร้อยละ  100 ของนักเรียนที่ได้รับการตรวจสุขภาพ หนังศีรษะ และการเป็นเหา

20.00 10.00
2 เพื่อให้นักเรียนได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบในการกำจัดเหา

ร้อยละ  100  ของนักเรียนที่เป็นเหาได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบในการกำจัดเหา

20.00 15.00
3 เพื่อให้นักเรียนและผู้ปกครอง ได้รับความรู้และรู้จักวิธีการปฏิบัติตนเพื่อให้ปราศจากเหาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

ร้อยละ  100  ของนักเรียนที่เป็นเหาได้รับความรู้และรู้จักวิธีการปฏิบัติตนเพื่อให้ปราศจากเหาย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

15.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 150
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2022

กำหนดเสร็จ 20/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ตรวจสุขภาพหนังศีรษะและการเป็นเหา

ชื่อกิจกรรม
ตรวจสุขภาพหนังศีรษะและการเป็นเหา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจสุขภาพหนังศีรษะและการเป็นเหา เพื่อคัดครองปีละ 2 ครั้ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 15 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนโรงเรียนวัดไตรสามัคคีมีสุขภาพหนังศีรษะเส้นผมที่ดีและปราศจากเหา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้แก่นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนที่เป็นเหา

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 10 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้และรู้จักวิธีการปฏิบัติตนเพื่อให้ปราศจากเหาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมกำจัดเหา

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมกำจัดเหา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ทำการกำจัดเหานักเรียนโดยการตัดผมและใช้ยากำจัดเหา ภาคเรียนละ  1 ครั้ง  (2 ครั้ง/ปี)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 15 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนโรงเรียนวัดไตรสามัคคีมีสุขภาพหนังศีรษะ เส้นผมดีขึ้น และปราศจากเหา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14810.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,810.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

นักเรียนโรงเรียนวัดไตรสามัคคีมีสุขภาพหนังศีรษะเส้นผมดีขึ้นและปราศจากเหา


>