2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย เนื่องจากแนวโน้มการเกิดโรคนี้ยังคงสูงมาโดยตลอด ส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในผู้ใหญ่อาจพบได้บ้าง บางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ ซึ่งที่ผ่านมายังพบการระบาด ปีเว้นปี ปีเว้นสองปี หรือปีเว้นสามปี โดยในปัจจุบันสามารถพบโรคได้เกือบทั้งปี โดยมักจะพบการระบาดมากในช่วงหน้าฝน เพราะพาหะของโรคคือยุงลาย มาตรการควบคุมโรคที่ได้ผลในขณะนี้ยังคงเป็นมาตรการควบคุมยุงพาหะนำโรค ซึ่งเป็นการยากที่จะดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายจะพบมากตามบ้านที่อยู่อาศัย ในสวน ขยายพันธุ์โดยวางไข่ในน้ำนิ่งพบบ่อยในภาชนะน้ำขัง เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ ยางรถยนต์เก่า หรือเศษวัสดุที่รองรับน้ำได้ทุกชนิดที่เหลือใช้และไม่ได้มีการจัดการที่ถูกวิธีดังนั้นการที่จะการป้องกันและควบคุมพาหนะนำโรคให้ได้ผลเต็มที่จะต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข ประชาชาชน และนักเรียนในโรงเรียนร่วมกันดำเนินงาน
จากการดำเนินโครงการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก ตั้งแต่ปี 2563 – 2565 พบว่าผลที่ได้จากการดำเนินโครงการทำให้อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกหมู่ที่ 2 บ้านกาแบงในปี 2563 – 2565ไม่พบจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออก กิจกรรมเดินรณรงค์ใส่ทรายทีมีฟอสและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเป็นประจำต่อเนื่อง ส่งผลให้ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในบ้าน (HI) ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (CI) และค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในสถานที่ราชการ เช่นโรงเรียน มัสยิด ลดลงไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ค่าดัชนีของลูกน้ำยุงลาย(HI) ในหมู่ที่ 2 บ้านกาแบง มีแนวโน้มค่าลดลงอย่างต่อเนื่องทุกเดือน โดยในปี 2566 ตั้งแต่เดือน มกราคม เป็นต้นมา เดือนที่พบค่าลูกน้ำยุงลายสูงสุดคือเดือน มกราคม ในสัปดาห์ที่ 3 พบร้อยละ 7.14 เดือน กุมภาพันธ์ พบลูกน้ำยุงลายน้อยที่สุดในสัปดาห์ ที่ 2
พบร้อยละ 4.28 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ค่า HI น้อยกว่า ร้อยละ 10 แต่ยังพบปัญหาอุปสรรคในการทำงาน เช่นกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานควบคุม และป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน ยังมีค่อนข้างน้อย โดยยังขาดความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ กระบวนการเดินรณรงค์เพื่อสำรวจ และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายตามครัวเรือนประชาชนยังมองว่าเป็นบทบาทหลักของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเท่านั้น และในหมู่บ้านยังขาดกิกาชุมชน หรือมาตรการทางสังคมที่คนในชุมชนหมู่บ้านคิดร่วมกัน ยอมรับและถือปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน
ดังนั้น ทางอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน บ้านกาแบง จึงเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงอยากต่อยอดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมที่แท้จริงในชุมชน หมู่บ้าน มีคณะกรรมการป้องกัน และควบคุมโรคในหมู่บ้าน เพื่อช่วยกันเฝ้าระวังโรคภัยในหมู่บ้านต่อไป
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 24/04/2023
กำหนดเสร็จ 30/09/2023
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายของ บ้านกาแบง หมู่ที่ 2 ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ประชาชนในหมู่บ้านมีความตระหนักในการควบคุม และป้องกันโรคไข้เลือดออก ส่งผลให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆในหมู่บ้าน จึงทำให้ลดภาวะเสี่ยงจากการเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชน อีกทั้งเกิดมาตรการทางสังคมหรือกติกาชุมชนเพื่อเป็นมาตรการในการป้องกันควบคุมโรคในชุมชนต่อไป