กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แหลมสน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 6 บ้านสนใหม่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แหลมสน

อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 6 บ้านสนใหม่

1. นางห่อดียะ หมีนแดง
2. นายวรินทร หมีนแดง
3. นายฉาหรี สงบ
4. นางสาวสุกัญญา มีนวัฒนกุล
5. นางเจ๊ะโสน หมีนแดง

ตำบลแหลมสน อำเภอละงู จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย เนื่องจากแนวโน้มการเกิดโรคนี้ยังคงสูงมาโดยตลอด ส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในผู้ใหญ่อาจพบได้บ้าง บางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ ซึ่งที่ผ่านมายังพบการระบาด ปีเว้นปี ปีเว้นสองปี หรือปีเว้นสามปี โดยในปัจจุบันสามารถพบโรคได้เกือบทั้งปี โดยมักจะพบการระบาดมากในช่วงหน้าฝน เพราะพาหะของโรคคือยุงลาย มาตรการควบคุมโรคที่ได้ผลในขณะนี้ยังคงเป็นมาตรการควบคุมยุงพาหะนำโรค ซึ่งเป็นการยากที่จะดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายจะพบมากตามบ้านที่อยู่อาศัย ในสวน ขยายพันธุ์โดยวางไข่ในน้ำนิ่งพบบ่อยในภาชนะน้ำขัง เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ ยางรถยนต์เก่า หรือเศษวัสดุที่รองรับน้ำได้ทุกชนิดที่เหลือใช้และไม่ได้มีการจัดการที่ถูกวิธีดังนั้นการที่จะการป้องกันและควบคุมพาหนะนำโรคให้ได้ผลเต็มที่จะต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข ประชาชาชน และนักเรียนในโรงเรียนร่วมกันดำเนินงาน
จากการดำเนินโครงการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก ตั้งแต่ปี 2563 – 2565 พบว่าผลที่ได้จากการดำเนินโครงการทำให้อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกหมู่ที่ 6 บ้านสนใหม่ ในปี 2563 – 2565ไม่พบจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออก กิจกรรมเดินรณรงค์ใส่ทรายทีมีฟอสและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเป็นประจำต่อเนื่อง ส่งผลให้ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในบ้าน (HI) ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (CI) และค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในสถานที่ราชการ เช่นโรงเรียน มัสยิด ลดลงไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ค่าดัชนีของลูกน้ำยุงลาย(HI) ในหมู่ที่ 6 บ้านสนใหม่ มีแนวโน้มค่าลดลงอย่างต่อเนื่องทุกเดือน โดยในปี 2566 ตั้งแต่เดือน มกราคม เป็นต้นมา เดือนที่พบค่าลูกน้ำยุงลายสูงสุดคือเดือน มกราคม ในสัปดาห์ที่ 1 พบร้อยละ 8.74 เดือน กุมภาพันธ์ พบลูกน้ำยุงลายน้อยที่สุดในสัปดาห์ ที่ 1
พบร้อยละ 5.78 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ค่า HI น้อยกว่า ร้อยละ 10 แต่ยังพบปัญหาอุปสรรคในการทำงาน เช่นกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานควบคุม และป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน ยังมีค่อนข้างน้อย โดยยังขาดความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ กระบวนการเดินรณรงค์เพื่อสำรวจ และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายตามครัวเรือนประชาชนยังมองว่าเป็นบทบาทหลักของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเท่านั้น และในหมู่บ้านยังขาดกิกาชุมชน หรือมาตรการทางสังคมที่คนในชุมชนหมู่บ้านคิดร่วมกัน ยอมรับและถือปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน
ดังนั้น ทางอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน บ้านสนใหม่ จึงเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงอยากต่อยอดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมที่แท้จริงในชุมชน หมู่บ้าน มีคณะกรรมการป้องกัน และควบคุมโรคในหมู่บ้าน เพื่อช่วยกันเฝ้าระวังโรคภัยในหมู่บ้านต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดความชุกของลูกน้ำยุงลายไม่ให้เกินเกณฑ์มาตรฐานสาธารณสุข

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน โรงเรียน มัสยิด ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด (ค่า HI ไม่เกิน  10 ค่า CI ไม่เกิน 10)

0.00
2 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายทุกหลังคาเรือนในหมู่บ้านไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมรณรงค์ใส่ทรายทีมีฟอส และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในทุกหมู่บ้าน ตามแผนการณรงค์ จำนวน 5 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ใส่ทรายทีมีฟอส และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในทุกหมู่บ้าน ตามแผนการณรงค์ จำนวน 5 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน x 25 บาท x 1 มื้อ x 5 ครั้ง     เป็นเงิน 3,750 บาท
  • ค่าจัดซื้อทรายทีมีฟอส จำนวน 1 ถัง ๆ ละ 4,800 บาท   เป็นเงิน 4,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8550.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 8,550.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายของ บ้านสนใหม่ หมู่ที่ 6 ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ประชาชนในหมู่บ้านมีความตระหนักในการควบคุม และป้องกันโรคไข้เลือดออก ส่งผลให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆในหมู่บ้าน จึงทำให้ลดภาวะเสี่ยงจากการเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชนได้


>