กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ประจัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมโภชนาการสำหรับเด็กเล็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านประจัน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ประจัน

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลประจันและบราโอ

1.นายมะรูดิงยาโงะ
2.นางสาวนิตยา หลีหมัน
3นางสาวซารีฟ๊ะยาโงะ
4นางแวนูรีตาบูงอ
5นางสาวอามีซะห์มะแอ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลประจันและบราโอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะ (Well-being) ทั้งมิติทางกาย ใจ สังคม และปัญญา (จิตวิญญาณ) และมิติของคน ครอบครัว และสังคมมากขึ้น โดยเริ่มจากวัยต้นของชีวิต คือ เด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และเป็นวัยที่เริ่มต้นการรับรู้และรับรู้เพื่อเป็นพื้นฐานของช่วงวัยต่อไป ปัญหาในการดำเนินส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย พบว่า เด็กยังประสบปัญหาภาวะทุพโภชนาการเป็นจำนวนมาก จำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของชีวิต การแก้ไขปัญหาโดยการมีมุมส่งเสริมโภชนากการและพัฒนาการเด็กในสถานพยาบาล และการดำเนินงานแก้ไขปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยเจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก และส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก จากสภาพปัญหาดังกล่าว ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านประจันและบ้านบราโอจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมโภชนาการสำหรับเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านประจันขึ้น เพื่อสร้างความตระหนักให้ครอบครัวและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมโภชนาการสำหรับเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านประจันอย่างต่อเนื่อง
จากการติดตามและเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านประจัน จำนวน 79 คน และ พบเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านประจัน จำนวน 10คน เนื่องจากเป้าหมายส่วนใหญ่ยังบริโภคอาหารประเภทกรุบกรอบมากขึ้นรับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ ด้วยปัจจัยต่างๆ เช่น สังคม เศรษฐกิจ รวมไปถึงการขาดความรู้ความเข้าใจด้านโภชนาการ ขาดการใส่ใจดูแลเท่าที่ควรของพ่อแม่ผู้ปกครองที่ดูแลเด็ก เป็นผลให้เด็กมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ซึ่งอาจส่งผลต่อภาวะโภชนาการและพัฒนาการในอนาคตต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.๑ เพื่อให้ผู้ปกครองและบุคลากร ได้รับความรู้ความเข้าใจและทักษะเกี่ยวกับการส่งเสริมโภชนาการสำหรับเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
๑.๒เพื่อลดโอกาสเสี่ยงในเรื่องการขาดสารอาหารในเด็ก
1.3เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กนักเรียน และผู้ประกอบอาหารกลางวันสามารถนำความรู้ที่ได้รับมาใช้ในชีวิตประจำวันได้

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 79
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการส่งเสริมโภชนาการสำหรับเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านประจัน

ชื่อกิจกรรม
โครงการส่งเสริมโภชนาการสำหรับเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านประจัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพได้อนุมัติโครงการส่งเสริมโภชนาการสำหรับเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลประจัน ประจำปี 2566 เมื่อคราวการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ 2/2564 วันที่ 22 มกราคม 2566 จำนวน 20,000 บาท หมวดเงินฝาก สปสช. แผนงานสารธารณสุข งานบริหารทั่วไปเกี่ยวกับสาธารณสุข หมวดรายจ่ายค่าใช้สอย ประเภทรายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายหมวดอื่น ๆ เพื่อจัดทำโครงการส่งเสริมโภชนาการสำหรับเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านประจัน ประจำปี 2566 นั้น ตามรายละเอียด ดังนี้ -  ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่มผู้ปกครอง (จำนวน 79 คนๆละ1 มื้อๆละ 50 บาท)     เป็นเงิน  3,950.-  บาท -  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้ปกครอง (จำนวน 79 คนๆละ 2มื้อๆละ25 บาท)          เป็นเงิน  3,950.- บาท
-  ค่าวิทยากรผู้เข้าอบรม (จำนวน 2 คนๆละ3 ชม.ละๆ 600 บาท)                        เป็นเงิน  3,6๐0.- บาท
-  ค่าป้ายไวนิลโครงการ (ขนาด 1x3 เมตรๆละ300 บาท)  จำนวน 1 ผืน                  เป็นเงิน  900.-   บาท -  ค่าวัสดุการสาธิตประกอบอาหารตามหลักโภชนาการ                                   เป็นเงิน  2,0๐0.- บาท                                                รวมเป็นเงิน 14,400.- บาท รวมเป็นเงินทั้งโครงการ  14,400.- บาท  (เงินหนึ่งหมื่นสี่พันสี่ร้อยบาทถ้วน) หมายเหตุ  ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

7.๑  ปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านประจันลดลง 7.2  เด็ก 2-5 ปี ได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะทุพโภชนาการอย่างครอบคลุม 7.3  ครู ผู้ปกครองและแม่ครัวในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีความรู้ความเข้าใจถึงภาวะทางโภชนาการเด็ก     7.4  เด็กมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามวัย 7.5   ทำให้ผู้ปกครองของเด็กตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาภาวะโภชนาการในเด็ก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

7.๑ปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านประจันลดลง
7.2เด็ก 2-5 ปี ได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะทุพโภชนาการอย่างครอบคลุม
7.3ครู ผู้ปกครองและแม่ครัวในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีความรู้ความเข้าใจถึงภาวะทางโภชนาการเด็ก
7.4เด็กมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามวัย
7.5 ทำให้ผู้ปกครองของเด็กตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาภาวะโภชนาการในเด็ก


>