กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฆอเลาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชราธิวาส รพ.สต.บ้านตำเสา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฆอเลาะ

รพ.สต.บ้านตำเสา

1. นายอามิงเจ๊ะปอ
2. นางแวเมาะวัฒนเสรีกุล
3. นางสาวรุจิราสะมะแอ
4. นางสาวอารีซาบินดาโอ๊ะ
5. นางสาวสาลินีมือกะ

รพ.สต.บ้านตำเสา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สุขภาพกายและใจที่ดีเป็นสิ่งสำคัญมาก ที่จะช่วยให้คนเรานั้นมีอายุยืนปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ในปัจจุบันประชาชนมีความใส่ใจในการดูแลสุขภาพน้อยมาก ส่งผลให้เกิดโรคต่างๆที่เกิดจากการไม่ดูแลตัวเองให้ดี หรือดูแลอย่างไม่ถูกวิธี โดยเฉพาะในกลุ่มวัยผู้สูงอายุ ที่ควรได้รับการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคมากที่สุด ในปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยปี 2565 ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ หลังจากเมื่อสามปีก่อนนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงวัยอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี โดยประชากรผู้สูงอายุในปี 2565 นั้นมีมากถึง 12,116,199 คน คิดเป็นร้อยละ 18.3 ของประชากรทั้งหมด กล่าวตามนิยามของสหประชาชาติ คือเมื่อประเทศใดมีประชากร อายุ 60 ปีขึ้นไปเกินร้อยละ 10 หรือ ประชากรอายุ 65 ขึ้นไปเกินร้อยละ 7 ของประชากรทั้งหมด ถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society)
ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ มีผลกระทบต่ออัตราส่วนภาวะพึ่งพิง หรือภาระโดยรวมที่ประชากรวัยทำงานจะต้องเลี้ยงดูประชากรวัยสูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้น อาจนำไปสู่ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงปัญหาในด้านสุขภาพของผู้สูงอายุด้วย เนื่องจากผู้สูงอายุมีภาวะด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลง มีความเสื่อมของร่างกาย อวัยวะต่างๆทั่วไปเริ่มอ่อนแอ ภูมิต้านทานโรคน้อยลง รวมถึงมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและสังคม ปัญหาเหล่านี้สามารถป้องกันหรือลดอุบัติการณ์ได้โดยการที่เราส่งเสริมสุขภาพ ใส่ใจดูแลผู้สูงอายุ การแพทย์แผนไทยเป็นอีกหนึ่งศาสตร์ในการนำเอาธรรมชาติรอบตัวมาใช้เพื่อส่งเสริม ป้องกัน ดูแลรักษาและฟื้นฟูสุขภาพ เช่น การดูแลรักษาโรคด้วยสมุนไพรริมรั้วที่สามารถหาได้เองในสวนครัว การปรับสมดุลร่างกายด้วยศาสตร์มณีเวช การพอกเข่าด้วยยาสมุนไพร เป็นต้น ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถพึ่งพาตนเองในการดูแลรักษาสุขภาพ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มทางเลือกในการรักษาสุขภาพของผู้สูงอายุ และยังตอบสนองแผนยุทธศาสตร์ชาติการพัฒนาด้านสุขภาพจังหวัดนราธิวาส ปี พ.ศ. 2565 - 2566 ในรูปแบบของ House Model “555” ซึ่งจัดอยู่ใน 5 ระบบการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและควบคุมโรค (Prevention & Promotion) คือ การส่งเสริมสุขภาพและดูแลผู้สูงอายุ และยังสอดคล้องกับนโยบายของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกที่มีการส่งเสริมให้มีการทำหัตถการแพทย์แผนไทยเพื่อการรักษาผู้ป่วยในและนอกหน่วยบริการ
งานแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตำเสา เปิดให้บริการด้านการแพทย์แผนไทยมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2564 โดยเปิดให้บริการตรวจวินิจฉัยโรค จ่ายยาสมุนไพร นวดรักษา ประคบสมุนไพร การอบสมุนไพร การทับหม้อเกลือ และการพอกยาสมุนไพร ในการให้บริการเชิงรับ ปีงบประมาณ 2564 มีผู้มารับบริการคิดเป็นร้อยละ 41.90 ปีงบประมาณ 2565 มีผู้มารับบริการคิดเป็นร้อยละ 48.31 และในปีงบประมาณ 2565 มีผู้มารับบริการคิดเป็นร้อยละ 54.39 ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีผู้มารับบริการเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี ในจำนวนผู้มารับบริการทั้งหมดนั้นจะประกอบไปด้วยประชาชนทุกกลุ่มวัยมีตั้งแต่เด็กวัยเรียน วัยทำงาน ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้พิการ อัมพฤกษ์ อัมพาตที่เกิดจากภาวะโรคหลอดเลือดสมอง และมารดาหลังคลอด งานแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตำเสา ได้ตระหนักถึงคุณค่าและสุขภาพของผู้สูงอายุ รวมถึง เข้าใจสภาพปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุในทุกๆ ด้านดังที่กล่าวมาข้างต้น จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ และจัดกิจกรรมต่างๆ ให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของผู้สูงอายุในพื้นที่ โดยมุ่งหวังให้เกิดการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ ประชาชน และหน่วยงานภาครัฐ ทั้งนี้ได้มุ่งเน้นในด้านการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ให้เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ สุขภาพกายใจที่ดี ไม่เป็นภาระต่อสังคมและครอบครัวต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมการใช้ความรู้การแพทย์แผนไทยในการส่งเสริม ป้องกัน ดูแลรักษา และฟื้นฟูสุขภาพ

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ ในการส่งเสริม ป้องกัน ดูแลรักษา และฟื้นฟูสุขภาพ ด้วยการแพทย์แผนไทย

0.00
2 2. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการบริการด้านแพทย์แผนไทย การใช้ยาสมุนไพร และสามารถพึ่งพาตนเองในการดูแลรักษาสุขภาพ

ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมสามารถเข้าถึงบริการด้านแพทย์แผนไทย และการใช้ยาสมุนไพร

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 100
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
การอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม 1.การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยอาหารตามธาตุเจ้าเรือน 2.การให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับสมดุลโครงสร้างร่างกายด้วยศาสตร์มณีเวชในผู้สูงอายุ 3.การให้บริการแพทย์แผนไทยเชิงรุกโดยการตรวจวินิจฉัย รักษา ส่งเสริมสุขภาพ ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ในกลุ่มผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมและผู้ผู้ที่มีปัญหาโรคกระดูกและข้อ รายละเอียดงบประมาณ - ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าอบรมทั้งหมด 100คน มื้อละ 50 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าอบรมทั้งหมด 100 คน 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท - ค่าป้ายโครงการ 1 ผืน 1,000 บาท - ค่าวัสดุในการจัดอบรม -ปากกา 100 x 10 = 1,000 -แฟ้ม 100 x 20 = 2,000 -สมุด 100 x 10 = 1000 เป็นเงิน4,000 บาท - ค่าวิทยากร 6 ชม. ชมละ 300 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 31 ตุลาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ร้อยละ100 ของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลตาม Care Plan


>