กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กายูบอเกาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแก้ปัญหาทุพโภชนาการ เด็กอายุ 0 – 5 ปี ตำบลกายูบอเกาะ ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กายูบอเกาะ

โรงพยาบาลรามัน

โรงพยาบาลรามัน

ตำบลกายูบอเกาะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศ กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะ ทั้งมิติทางกาย ใจ สังคม และปัญญา โดยเริ่มจากวัยต้นของชีวิต คือเด็กอายุ 0- 5 ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และเป็นวัยที่เริ่มต้นการรับรู้เพื่อเป็นพื้นฐานของช่วงวัยต่อไป อาหารและภาวะโภชนาการที่ดี เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กวัยก่อนวัยเรียนปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัย จากโรคขาดสารอาหารภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีนภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กโดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลงการให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้องและจากการประเมินผลการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน (0-5 ปี) ของตำบลกายูบอเกาะ ในช่วงไตรมาสที่ 1 งวดที่ 1 ตุลาคม – 31 ธันวาคม 2565 เด็กอายุ 0-5 ปีทั้งหมด 506 คน ได้รับการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงทั้งหมด 506 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ส่วนสูงดีสมส่วนคิดเป็น ร้อยละ 50 ซึ่งไม่ได้ตามเกณฑ์ตามตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุขปีงบประมาณ 2566กำหนดไว้ เด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วน ร้อยละ 66 สาเหตุเกิดจากผู้ปกครองไม่เห็นความสำคัญของเรื่องโภชนาการ ปัญหาเศรษฐกิจของครอบครัว กรรมพันธุ์ พฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กและทานขนมกรุบกรอบ จากข้อมูลสถิติจะเห็นไห้ได้ว่า เด็กอายุ 0-5 ปีในเขตรับผิดชอบยังมีปัญหาภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัย เตี้ย น้ำหนักน้อย การดำเนินงานแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยเจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก และส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก โดยเฉพาะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต้องมีความรู้ และมีเครื่องมืออุปกรณ์ในการติดตามเฝ้าระวังโภชนาการเด็กเพียงพอและได้มาตรฐานตามที่กำหนด จากสภาพปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำโครงการส่งเสริมและแก้ปัญหาทุพโภชนาการ เด็กอายุ 0 – 5 ปี เพื่อสร้างความตระหนักให้ครอบครัวและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กมีความรู้ ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของการฝ้าระวังทางโภชนาการและแก้ปัญหาทุพโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี (น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ )

ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กที่ผ่านการอบรม มีความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการฝ้าระวังทางโภชนาการและแก้ปัญหาทุพโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี (น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 90

1.00 0.00
2 2.เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม.เรื่องความรู้และการเฝ้าระวังทางโภชนาการ และการใช้เครื่องมือ ที่ถูกต้อง และ เหมาะสม

อสม.ที่ผ่านการอบรมมีความรู้เรื่องการเฝ้าระวังทางโภชนาการ และการใช้เครื่องมือ ที่ถูกต้อง และ เหมาะสม เพิ่มขึ้นร้อยละ 90

0.00 0.00
3 3.เพื่อเป็นการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านสาธารณสุข ตัวชี้วัด เด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วน

เด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการต่ำมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ร้อยละ 50

0.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 30
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 -ดำเนินการอบรมให้ความรู้เรื่องความสำคัญของการฝ้าระวังทางโภชนาการและแก้ปัญหาทุพโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี (น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ )

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 -ดำเนินการอบรมให้ความรู้เรื่องความสำคัญของการฝ้าระวังทางโภชนาการและแก้ปัญหาทุพโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี (น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ )
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 -ดำเนินการอบรมให้ความรู้เรื่องความสำคัญของการฝ้าระวังทางโภชนาการและแก้ปัญหาทุพโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี (น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ) แก่ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก จำนวน 30 คน

-สาธิตการทำอาหารเสริมเมนูง่ายๆ สำหรับเด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการ (เมนูเพิ่มน้ำหนัก)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6600.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 -ดำเนินการอบรมให้ความรู้ พัฒนาศักยภาพ อสม.เรื่องการเฝ้าระวังทางโภชนาการ การแปรผล และการใช้เครื่องมือ ที่ถูกต้องและเหมาะสม ใน อสม.หมู่ 2,3,4,5 จำนวน 44 คน -สุ่มประเมิน อสม. สาธิตวิธีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ในเด็กอายุ 0-5 ปี ที่ถูกวิธี

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 -ดำเนินการอบรมให้ความรู้ พัฒนาศักยภาพ อสม.เรื่องการเฝ้าระวังทางโภชนาการ การแปรผล และการใช้เครื่องมือ ที่ถูกต้องและเหมาะสม ใน อสม.หมู่ 2,3,4,5 จำนวน 44 คน -สุ่มประเมิน อสม. สาธิตวิธีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ในเด็กอายุ 0-5 ปี ที่ถูกวิธี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 2  -ดำเนินการอบรมให้ความรู้ พัฒนาศักยภาพ อสม.เรื่องการเฝ้าระวังทางโภชนาการ การแปรผล และการใช้เครื่องมือ  ที่ถูกต้องและเหมาะสม  ใน อสม.หมู่ 2,3,4,5 จำนวน  44 คน  -สุ่มประเมิน อสม. สาธิตวิธีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ในเด็กอายุ 0-5 ปี ที่ถูกวิธี

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2220.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 .-จัดซื้ออาหารเสริม (นมและไข่) ให้แก่เด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการต่ำ จำนวน 30 คน รับประทานทุกวันโดยให้อยู่ภายไต้การควบคุมและกำกับโดย อสม. ในเขตที่รับผิดชอบ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 .-จัดซื้ออาหารเสริม (นมและไข่) ให้แก่เด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการต่ำ จำนวน 30 คน รับประทานทุกวันโดยให้อยู่ภายไต้การควบคุมและกำกับโดย อสม. ในเขตที่รับผิดชอบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 3 .-จัดซื้ออาหารเสริม (นมและไข่) ให้แก่เด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการต่ำ จำนวน 30 คน รับประทานทุกวันโดยให้อยู่ภายไต้การควบคุมและกำกับโดย อสม. ในเขตที่รับผิดชอบ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
40500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 49,320.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เพื่อสร้างความตระหนักให้ครอบครัวและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง ต่อไป


>