กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเกาะนางคำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง รพ.สต.บ้านเกาะนางคำ ประจำปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเกาะนางคำ

รพ.สต.บ้านเกาะนางคำ

ตำบลเกาะนางคำ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากผลการคัดกรองโรคเบาหวานในกลุ่มประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ในปี 2565 จำนวน 1,284 คน โดยจำแนกเป็นกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงสูง และกลุ่มสงสัยว่าจะเป็นผู้ป่วยรายใหม่ พบมีประชาชนที่คัดกรองจัดอยู่ในกลุ่มปกติ จำนวน 638 คน คิดเป็นร้อยละ 49.69 และพบกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเบาหวานจำนวน 611 คน คิดเป็นร้อยละ 47.59 รองลงมาคือ กลุ่มสงสัยว่าจะเป็น ผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 34 คน คิดเป็นร้อยละ 2.65 ผลการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ในปี 2565 จำนวน 1,084 คน โดยได้จำแนกเป็นกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงสูง และกลุ่มสงสัยว่าจะเป็นผู้ป่วยรายใหม่ พบมีประชาชนที่คัดกรองจัดอยู่ในกลุ่มปกติ จำนวน 686 คน คิดเป็นร้อยละ 63.28 และพบกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 269 คน คิดเป็นร้อยละ 24.82 รองลงมาคือกลุ่มสงสัยว่าจะเป็นผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 118 คน คิดเป็นร้อยละ 10.89 ซึ่งถือว่าผลการคัดกรองพบมีกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่สงสัยเป็นโรค สูง ทั้ง 2 โรค
ฉะนั้น การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประชากรกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปี ขึ้นไปและกลุ่มเสี่ยงต้องได้รับการวัดความดันโลหิตหรือตรวจหาน้ำตาลในเลือด อย่างน้อยปีละ 1ครั้ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะนางคำร่วมกับ อสม.ของหมู่บ้านจึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ประจำปี 2566 ขึ้น เพื่อสร้างความตระหนักให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้ดูแลสุขภาพของตนเอง รับรู้และใส่ใจด้านสุขภาพ มีการเข้าถึงข้อมูลทางสุขภาพ ลดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา และภาระต่าง ๆ ต่อครอบครัวและสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเบื้องต้นอย่างน้อย 1 ครั้งในรอบปี

ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเบื้องต้นอย่างน้อย
ร้อยละ 90

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงได้รับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง

กลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยง ร้อยละ 80 ได้รับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง

0.00
3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายซึ่งตรวจพบความผิดปกติและสงสัยเป็นโรคได้รับการส่งต่อและรับการรักษาที่ถูกต้องต่อเนื่อง

กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 100 ที่ตรวจพบความผิดปกติและสงสัยเป็นโรคได้รับการส่งต่อและรับการรักษาที่ถูกต้องต่อเนื่อง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,360
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 09/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงสำหรับประชากรกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปี ขึ้นไป จำนวน 1,360 คน และ ติดตามกลุ่มเป้าหมายที่มีระดับน้ำตาลในเลือดเสี่ยงสูง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงสำหรับประชากรกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปี ขึ้นไป จำนวน 1,360 คน และ ติดตามกลุ่มเป้าหมายที่มีระดับน้ำตาลในเลือดเสี่ยงสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าแถบตรวจเบาหวานพร้อมเข็มเจาะ จำนวน 1,500 ชิ้น ๆ ละ 8.61 บาท เป็นเงิน 12,915 บาท 2. ค่าเครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด จำนวน 2 เครื่อง ๆ ละ 2,500 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท 3.ค่าจ้างถ่ายเอกสารแบบคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 1,300 แผ่น ๆ ละ 1 บาท เป็นเงิน 1,300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19215.00

กิจกรรมที่ 2 รวบรวมข้อมูลการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง และติดตามประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ยังไม่ได้รับการตรวจคัดกรอง รวมถึงการส่งต่อกลุ่มเสี่ยงสูง/มีความผิดปกติไปยังโรงพยาบาลแม่ข่ายตามขั้นตอน

ชื่อกิจกรรม
รวบรวมข้อมูลการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง และติดตามประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ยังไม่ได้รับการตรวจคัดกรอง รวมถึงการส่งต่อกลุ่มเสี่ยงสูง/มีความผิดปกติไปยังโรงพยาบาลแม่ข่ายตามขั้นตอน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 สรุปผลการตรวจคัดกรองระดับน้ำตาลในเลือด และความดันโลหิต ประชาชนกลุ่มเป้าหมายให้ เพื่อคืนข้อมูลสู่ชุมชน

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการตรวจคัดกรองระดับน้ำตาลในเลือด และความดันโลหิต ประชาชนกลุ่มเป้าหมายให้ เพื่อคืนข้อมูลสู่ชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,215.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานอย่างต่อเนื่องทุกปี ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80
2. ประชาชนที่ทราบว่ามีความเสี่ยงได้รับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพ ร้อยละ 80
3. กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการส่งต่อไปยัง รพ.แม่ข่าย ร้อยละ 100


>