กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาปู่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการดูแลกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาปู่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาปู่

ตำบลเขาปู่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง และหลอดเลือดสมอง เป็นโรคเรื้อรังที่มีสถิติการเสียชีวิตเป็นอันดับต้นๆ ของคนไทย เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและเร่งด่วนของประเทศจากปัจจัยต่างๆเช่นพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่ถูกสุขลักษณะการบริโภคอาหารที่มีรสเค็มไขมันและน้ำตาลสูง ขาดการออกกำลังกายน้ำหนักตัวมากเกินเกณฑ์การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ น้ำชา กาแฟมีความเครียดเป็นต้น โดยจากสถิติของกระทรวงสาธารณสุข ปี 2562 พบว่าสาตุการเสียชีวิตของคนไทยจากเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นอันดับ 2รองจาก อุบัติเหตุ และมีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุกปี
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาปู่รับผิดชอบ 9 หมู่บ้าน มีประชากรทั้งสิ้น4,789 คนมีผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 177 คน อัตราป่วย 3,292.09 ต่อแสนประชากร และมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 668 คนอัตราป่วย 11,910.25ต่อแสนประชากร
การป้องกันภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในประชาชนที่เป็นกลุ่มป่วย จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่มีความสำคัญภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง เช่น แผลเรื้อรัง ปัญหาการมองเห็น ปัญหาทางไต อัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นต้น ผู้ป่วยเบาหวานที่รับการรักษาใน รพ.สต. จำนวน 120 คน มีภาวะแทรกซ้อนทางตา 3 คน ทางไต 27 คน และทางเท้า 11คน เนื่องจากผู้ป่วยขาดความตระหนักในการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาปู่ จึงได้จัดทำโครงการดูแลกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนปี 2566 ขึ้นเพื่อให้กลุ่มผู้ป่วย
ตระหนักและเห็นความสำคัญ ในการปฏิบัติตน เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ของโรคเรื้อรัง เบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วย มีความรู้ ความเข้าใจ อาการของโรค

ร้อยละ 80  ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ เรื่องโรคและภาวะแทรกซ้อน

0.00
2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดภาวะแทรกซ้อน

ร้อยละ 60  ของกลุ่มป่วยที่รับยาที่รพ.สต. สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด/ความดันโลหิต ให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด

0.00
3 เพื่อติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนอย่างต่อเนื่อง

ร้อยละ 80  ของกลุ่มป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 120
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2023

กำหนดเสร็จ 29/12/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มป่วยที่รับยา ในคลินิก เรื่องความรู้ของโรคและภาวะแทรกซ้อน
-จัดอบรมให้ความรู้
- ประเมินความรู้ความเข้าใจในกลุ่มป่วย - จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องอาหารและการออกกำลังกายเพื่อเฝ้าระวังและลดภาวะแทรกซ้อน
-ค่าวิทยากร.6 ชม. * 300 =1,800 บ. -ค่าอาหารกลางวัน 60บ x 120 คน
=7,200 บ. -ค่าอาหารว่าง 50บ x 120 คน
=6,000 บ. -ค่าวัสดุจัดอบรม =6,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 29 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21000.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามเยี่ยมบ้าน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเยี่ยมบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยง ทุก 3 เดือน 2.1 กิจกรรมย่อย -ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยในกลุ่มป่วยที่แทรกซ้อน -ให้ความรู้เรื่องการรักษาและปฏิบัติตัวเกี่ยวกับโรค

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 29 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามผู้ป่วย

ชื่อกิจกรรม
ติดตามผู้ป่วย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามผู้ป่วยตรวจตามนัดทุกเดือน    - ติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มผู่ป่วยแทรกซ้อน    - ส่งต่อกรณีไม่สามารถรักษาได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 29 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคได้ถูกต้อง สามารถปฏิบัติตน ได้ถูกต้อง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีสุขภาพที่ดีควบคุมอาการของโรคได้ไม่มีภาวะแทรกซ้อน


>