กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองเฉลิม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาวะและลดการตั้งครรภ์วัยรุ่น ปี 2566 ตำบลคลองเฉลิม (ทดลอง)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองเฉลิม

รพ.สต.บ้านคู

หมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ หมู่ที่ 3,4,6,7 และหมู่ 14 ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น(อายุน้อยกว่า 20 ปี) (คน)

 

4.00

ประเทศไทยมีแนวโน้มของการคลอดบุตรจากแม่วัยรุ่นอายุ 10-19 ปีเพิ่มอย่างต่อเนื่อง และ มีการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นที่มีอายุน้อยกว่า 15 ปีเพิ่มขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง นอกจากนี้จำนวนในการคลอดซ้ำของวัยรุ่นก็พบว่ายังมีอัตราที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย ซึ่งการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นส่งผลกระทบตามมาหลายด้าน เช่น เด็กแรกเกิดมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ การยุติการตั้งครรภ์ การขาดโอกาสทางการศึกษา ฯลฯจากรายงานการเฝ้าระวังทางพฤติกรรมของสำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุขพบว่า วัยรุ่นเริ่มมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกอายุน้อยลงเรื่อย ๆ ระหว่าง 13-15 ปีและยังพบว่าการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกส่วนใหญ่ไม่มีการใช้ถุงยางอนามัย มากถึงร้อยละ 50 ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัย ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ของวัยรุ่น พบว่า ส่วนใหญ่เกิดจากการใช้วิธีการคุมกำเนิดไม่สม่ำเสมอ หรือไม่ได้ใช้วิธีการป้องกันใดๆผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมพบว่า มารดาวัยรุ่นมีโอกาสสูงที่จะหยุดการศึกษากลางคันหรือ เรียนไม่จบ เนื่องจากในหลายๆ ประเทศ การตั้งครรภ์ในขณะที่เป็นนักเรียนยังไม่เป็นที่ยอมรับ เป็นเรื่องน่าอับอายทำให้หญิงวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ถูกบังคับทั้งทางตรงหรือทางอ้อมให้ออกจากโรงเรียน
การป้องกันปัญหาวัยรุ่นตั้งครรภ์ จึงเป็นเรื่องสำคัญ นอกเหนือจากโรงเรียนต้องให้ความรู้แก่ตัววัยรุ่นเองเพื่อให้มีภูมิคุ้มกันและมีทักษะในการใช้ชีวิตทางเพศ แล้วครอบครัวก็ต้องเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งหน้าที่สำคัญของพ่อแม่ /ผู้ปกครองในการช่วยให้เด็กมีภูมิคุ้มกันในเรื่องเพศ คือ การสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดผ่านการสนทนาแบบ“เปิดใจคุย” หัวใจสำคัญคือการมีส่วนร่วมของกลุ่มพ่อแม่ ผู้ปกครองลุกขึ้นมาเป็นภาคีสำคัญในการร่วมกันพัฒนาและแก้ไขปัญหาสุขภาวะทางเพศของเยาวชนเพื่อป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบอันเกิดจากการใช้ชีวิตทางเพศไม่ว่าจะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เอชไอวี และ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคู จึงได้เสนอโครงการส่งเสริมสุขภาวะและลดการตั้งครรภ์วัยรุ่น ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างความตระหนักและมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 2. เพื่อปรับทัศนคติหรือมุมมองให้แก่พ่อแม่ และบุตรวัยรุ่น ที่เปิดกว้างในเรื่องเพศวิถี 3. เพื่อเสริมสร้างทักษะการสื่อสาร/การรับฟังที่มีประสิทธิภาพ ระหว่างพ่อแม่ ผู้ปกครอง กับลูกวัยรุ่น

1.พ่อแม่ ผู้ปกครอง มีความรู้ และเข้าใจในการสื่อสารเรื่องเพศกับลูก หลังอบรม ≥ 80 %

4.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2023

กำหนดเสร็จ 31/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้แก่พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ให้มีความรู้และเข้าใจในการสื่อสารเรื่องเพศกับลูก

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้แก่พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ให้มีความรู้และเข้าใจในการสื่อสารเรื่องเพศกับลูก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน x 50 บาท x 1 มื้อ x 2 รุ่น5,000 บาท
    1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50คน x 25 บาท x 2 มื้อ x 2 รุ่น 5,000 บาท
    2. ค่าจ้างถ่ายเอกสารแนวทางการป้องกันวัยรุ่นตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร จำนวน 50 ชุด x 5 บาท x2 รุ่น 500 บาท
    3. ค่าตอบแทนวิทยากร 3 คน x 600 บาท x คนละ 2 ชั่วโมง x 2 รุ่น 7,200 บาท
    4. ค่าป้ายไวนิล (ขนาด 1.2 เมตร x 2.5 เมตร x 140 บาท) 1ผืน 420บาท
    5. ค่าวัสดุในการอบรม 1,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 19,120 บาท (ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถจ่ายถัวเฉลี่ยกันได้)
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 2 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. พ่อแม่ ผู้ปกครอง มีความรู้ และเข้าใจในการสื่อสารเรื่องเพศกับลูก หลังอบรม ≥ 80%
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19120.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,120.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ปกครองมีความตระหนักและมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
2. พ่อแม่มีการปรับทัศนคติหรือมุมมองต่อบุตรวัยรุ่น ที่เปิดกว้างในเรื่องเพศวิถี
3. พ่อแม่ผู้ปกครองได้รับการเสริมสร้างทักษะการสื่อสาร/การรับฟังที่มีประสิทธิภาพกับลูก


>