กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเกาะนางคำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

อบรมการทำยาหม่อง และยาดมสมุนไพร เพื่อสุขภาพประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเกาะนางคำ

ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลเกาะนางคำ

ตำบลเกาะนางคำ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประเทศไทยเป็นแหล่งที่มีทรัพยากรด้านการเกษตรและพืชสมุนไพรที่สำคัญหลากหลายชนิด โดยแต่ละชนิดมีคุณสมบัติในการรักษาอาการเจ็บป่วย และยังช่วยบำรุงร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงได้อีกด้วย ซึ่งตำบลเกาะนางคำก็เป็นพื้นที่หนึ่งที่มีพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย จึงเกิดแนวคิดในการส่งเสริมให้มีการนำสมุนไพรและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงส่งเสริมให้ประชาชนตื่นตัวในการนำสารสกัดจากพืชสมุนไพรมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย อีกทั้งสนับสนุนให้ประชาชนรู้จักการนำสมุนไพรพื้นบ้านมาใช้ในการรักษาอาการเจ็บปวดเบื้องต้นแก่ตนเองและบุคคลในครอบครัวได้ เช่น การทำยาสมุนไพรประเภทสูดดม พิมเสนน้ำ ยาหม่อง น้ำมันเหลืองผลิตภัณฑ์กันยุงหรือใช้เป็นส่วนผสมในการทำผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในรูปแบบต่างๆ เป็นต้น ซึ่งการใช้สมุนไพรในรูปแบบต่างๆ ทำให้ผู้ใช้ปลอดภัยจากสารพิษตกค้างที่อาจเป็นอัตรายต่อสุขภาพ ส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีขึ้นได้ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษา รวมถึงมีความรู้ในการใช้สมุนไพรอย่างถูกต้องและเกิดประโยชน์ในการรักษาสุขภาพเบื้องต้นด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลเกาะนางคำเห็นถึงความสำคัญของพืชสมุนไพร และการนำมาใช้ในชีวิตประจำ จึงได้จัดทำโครงการอบรมการทำยาหม่องและยาดมสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2566 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ รู้จักการรักษาสุขภาพโดยการใช้สมุนไพรรักษาอาการเบื้องต้นด้วยตนเองได้

ผู้เข้าร่วมโครงการฯ รู้จักใช้สมุนไพรรักษาอาการเจ็บปวดเบื้องต้นได้ ร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ตระหนักถึงประโยชน์ของสมุนไพรเพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น

ผู้เข้าร่วมโครงการฯ รู้ถึงประโยชน์ของสมุนไพร และมีการปลูกสมุนไพรไว้ใช้ในครัวเรือน ,ชุมชน เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยหรือเพื่อบำรุงสุขภาพได้ ร้อยละ 80

0.00
3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ มีความรู้และเกิดทักษะในการแปรรูปสมุนไพรเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่ปลอดภัยจากสารเคมี

ผู้เข้าร่วมโครงการฯ มีผลิตภัณฑ์ยาดม ยาหม่องสมุนไพร ไว้ใช้เพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยของตนเองได้ร้อยละ 90

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสาระน่ารู้ของพืชสมุนไพร

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสาระน่ารู้ของพืชสมุนไพร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยาย จำนวน 1 คน ๆ ละ 2   ชม.ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คนๆละ 1 มื้อ ๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน  2,400 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการฯ จำนวน 1 ป้าย ขนาด 1 x 2   เมตร ละ 150 บาท เป็นเงิน 300 บาท รวม 6,300 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6300.00

กิจกรรมที่ 2 สาธิตและฝึกปฏิบัติการทำยาหม่องและยาดมสมุนไพร

ชื่อกิจกรรม
สาธิตและฝึกปฏิบัติการทำยาหม่องและยาดมสมุนไพร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

แบ่งกลุ่มสาธิตทำยาหม่องและยาดมสมุนไพร - ค่าวิทยากรฝึกปฏิบัติ จำนวน 1 คน ๆ ละ 4 ชม.ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท - ค่าวัสดุ (วัตถุดิบ/วัสดุฝึกอบรม)
  1. ค่าขวดพร้อมฝาปิดเกรียว ขนาด 40   กรัม จำนวน 100 ขวด ๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท   2. ค่าสมุนไพรสำหรับทำยาดม จำนวน    2 ชุด ๆ ละ 450 บาท เป็นเงิน 900 บาท                                   1 ชุด ประกอบด้วย
        - โกฐหัวบัว 100 กรัม    - พริกไทยดำ 100 กรัม         - การพลู 100 กรัม       - การบูร 100 กรัม         - ดอกจันทร์ 100 กรัม   - เมนทอล 200 กรัม         - กระวาน 100 กรัม      - พิมเสน 100 กรัม    3. ค่าสมุนไพรสำหรับทำยาหม่อง จำนวน 5 ชุด ๆ ละ 480 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท 1 ชุด ประกอบด้วย
        - วาสลีน 100 กรัม    - พาราฟิน 35 กรัม         - เมนทอล 50 กรัม    - การบูร 20 กรัม         - พิมเสน 20 กรัม      - น้ำมันแก้ว 60 มล.         - น้ำมันยูคาลิปตัส 20 มล.
        - น้ำมันระกำ 30 มล.         - น้ำมันไพล 60 มล.         - น้ำมันเสลดพังพอน 60 มล.         - น้ำมันตะไคร้ 15 มล. รวม 6,700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6700.00

กิจกรรมที่ 3 รายงานผลการดำเนินงานให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ

ชื่อกิจกรรม
รายงานผลการดำเนินงานให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ไม่ใช้งบประมาณ-
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมโครงการฯ รู้ถึงประโยชน์ของพืชสมุนไพรแต่ละชนิดมากขึ้น
2. ผู้เข้าร่วมโครงการฯ มีความรู้ความเข้าใจในการใช้พืชสมุนไพรในการรักษาสุขภาพของตนเองและผู้อื่น
3. ผู้เข้าร่วมโครงการฯ สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ในการแปรรูปสมุนไพรเพื่อใช้ในการรักษาสุขภาพเบื้องต้นแก่ผู้อื่นได้
4. ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ได้ใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่ปลอดภัยจากสารเคมี
5. ประชาชนในพื้นที่นำพืชสมุนไพรมาใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น


>