กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

เสริมสร้างความรู้ส่งเสริมสุขภาพห่างไกลโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ ๒๕๖๖

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

โรงพยาบาลกาบัง

-

ลานหน้ากลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลกาบัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในสถาณการณ์ปัจจุบันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือด ซึ่งโรคดังกล่าวยังเป็นสาเหตุที่นำไปสู่โรคแทรกซ้อนร้ายแรงอันเป็นภัยแก่ชีวิตอีกหลายโรค อาทิเช่น โรคจอประสาทจาเสื่อม โรคไตวายเรื้องรัง โรคหัวใจและหงอดเลือด แผลเรื้อรัง เป็นต้น การเกิดโรคมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยที่มาจากพฤติกรรมการดูแลตนเองและการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น ดังนั้น กระทรวงสาธรณสุขจึง ได้มีนโยบายให้ดำเนินการพัฒนาสุขภาพเพื่อให้ประชาชนทุกคนมีสุขภาพดีอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตและได้กำหนดให้ดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตครอบคลุมในมิติด้านสุขภาพทั้ง ๔ มิติ คือ การป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพ เน้นการสรางสุขภาพมากกว่าการซ่อมแซมสุขภาพซึ่งเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจและความตระหนักด้านสุขภาพ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากความเคยชินให้เป็นที่ต้องมีมาตรการลดพฤติกรรมอันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคโดยเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก ๓ อ. ๒ ส. “ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการความเครียด การดื่มสุราและการสูบบุหรี
จากการคัดกรองความดัน-เบาหวานปี ๒๕๖4 – ๒๕๖6 ประชาชนในเขตรับผิดชอบ ม.๔,ม.๕,ม.๗ รพ.กาบัง พบว่ามีกลุ่มเสี่ยงโรคความดัน-เบาหวาน ค่อนข้างสูง ตามลำดับดังนี้๔๓.๗๖ %, ๒๕.๘๘ % และ 14.98% อสม.รพ.กาบัง พบกลุ่มปกติ ๔๐% กลุ่มเสี่ยง ๕4.๕%กลุ่มป่วย ๗.๕%ค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ ๕๐% มีภาวะน้ำหนักเกิน ๓๗.๕% และมีภาวะอ้วน ๑๕.๕%จากข้อมูลจะเห็นว่ามีแนวโน้มของโรค NCD สูงขึ้น แสดงให้เห็นว่า มาตรการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานที่ผ่านมายังไม่เพียงพอที่จะทำให้ค่าระดับน้ำตาลในเลือดลดลงและยังเกิดโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นประชาชนมากกว่าครึ่งขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของโรคดังนั้นการดำเนินการในการแก้ไขปัญหาจำเป็นต้องพัฒนาประชาชนให้มีองค์ความรู้และทักษะที่จำเป็น และพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม ทั้งระดับครอบครัว และชุมชนครอบคลุมกลุ่มประชากรเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนสามารถส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้แก่ตนเอง ครอบครัวและชุมชนได้
กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลกาบัง ซึ่งมีบทบาทในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนการมี่ส่วนร่วมของชุมชนและพัฒนาศักยภาพของอสมและประชาชนในพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการเสริมสร้างความรู้ส่งเสริมสุขภาพห่างไกลโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงปีงบประมาณ 2566 เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการดำเนินงานและลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคลเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ของชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง

ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

50.00 60.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้นำความรู้ที่ได้รับไปปฎิบัติ ได้อย่างถูกต้อง

ผู้เข้าร่วมอบรมนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติตนเองในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง

0.00
3 เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีสุขภาพดี ลดอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และได้รับ ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วย ๓ อ. ๒ ส

ผู้เข้าอบรมมีสุขภาพดีและลดอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงลดลงและรู้จักการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลักด้วย ๓ อ. ๒ ส และปฎิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 110
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 22
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางจำนวน ๑ มื้อๆละ ๕๐ บาท x ๑๑๐ คน                              เป็นเงิน ๕,๕๐๐ บาท
  • ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่มจำนวน ๒ มื้อๆละ ๓๕ บาท x ๑๑๐ คน               เป็นเงิน ๗,๗๐๐ บาท
  • ค่าวิทยากร ๑ คน x ๓๐๐ บาท x ๖ ชั่วโมง                           เป็นเงิน ๑,๘๐๐ บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 1 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต:-เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง
           -เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้นำความรู้ที่ได้รับไปปฎิบัติ ได้อย่างถูกต้อง
           -เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีสุขภาพดี ลดอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และได้รับความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วย ๓ อ. ๒ ส
ผลลัพธ์:-ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
           -ผู้เข้าร่วมอบรมนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติตนเองในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง            -ผู้เข้าอบรมมีสุขภาพดีและลดอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงลดลงและรู้จักการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลักด้วย ๓ อ. ๒ ส และปฎิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามและออกเยี่ยมบ้าน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและออกเยี่ยมบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนติดตามเยี่ยมบ้านจำนวน ๒๒ คน x ๑๐๐ บาท x ๒ วัน (กลุ่มเสี่ยงที่สงสัยป่วย)     เป็นเงิน ๔,๔๐๐ บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 1 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต:เพื่อติดตามกลุ่มเสี่ยงเพิ่มเติม ผลลัพธ์:สามารถ ลดอัตาเสี่ยงลง ในกลุ่มเสี่ยงและนำความรู้ไปปฎิบัติในชีวิตประจำวันได้จริง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

-ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
-ผู้เข้าร่วมอบรมนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติตนเองในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง
-ผู้เข้าอบรมมีสุขภาพดีและลดอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงลดลงและรู้จักการ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลักด้วย ๓ อ. ๒ ส และปฎิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง


>