กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แค

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แค

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขบ้านพะเนียด ม.4 ต.แค

1.นางปรีดา หัสเอียด
2.นางซูจีนา หัสเอียด
3.นางฮาลิเม๊าะ เด็นสว่าง
4.นางมูรินา หวังเก็ม
5.นางสุนิสา พุทธพิม

หมู่ที่ 1-5 ตำบลแค อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

35.35
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

47.25
3 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

 

20.25
4 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

 

23.25

โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังตลอดชีวิต การรักษาเป็นเพียงแค่การประคับประคองไม่ให้โรคลุกลามขึ้น และผู้ป่วยต้องรับการรักษาต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน หรือส่วนใหญ่ต้องรักษาไปตลอดชีวิต หากไม่ได้รับการรักษาหรือได้รับการรักษาไม่ถูกต้องจะเป็นอันตรายต่อชีวิตผู้ป่วย นอกจากโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานส่งผลต่อสุขภาพทางกายและสุขภาพจิตแล้ว ยังเป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจของตัวผู้ป่วยเอง และส่งผลถึงเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมด้วย และหากผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมโรคได้ ก็จะส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพที่รุนแรงตามมา โรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นภาวะวิกฤตในปัจจุบัน คือ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง
ปัจจัยสำคัญที่เชื่อว่าเป็นสาเหตุของโรคเรื้อรังคือ พฤติกรรมในการดำเนินชีวิตของบุคคลขาดความสมดุล เช่น การรับประทานอาหารไขมันสูง อาหารรสหวานจัดและเค็มจัดความเคยชินต้องประกอบอาชีพนอกบ้านทำให้ไม่มีเวลาในการประกอบอาหารเอง รวมถึงขาดการออกกำลังกาย ไม่สามารถปรับพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกหลักได้อย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแค จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นโครงการที่จัดการความรู้โรคเรื้อรัง ที่มีประสิทธิภาพ ให้ผู้ป่วยมีความตระหนักเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจัดการกับปัจจัยที่เป็นความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนที่ตรวจพบตั้งแต่เริ่มแรก เป็นการชะลอภาวะแทรกซ้อนและลดค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ช่วยให้ผู้ที่เป็นเบาหวานและความดันโลหิตสูงครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีในภาวะเจ็บป่วย และสามารถดำเนินชีวิตปัจจุบันอย่างเป็นปกติสุข

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

35.35 20.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

47.25 30.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA) ลดลง

20.25 15.00
4 เพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น  เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย ลดลง

23.25 15.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการคัดกรองกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการคัดกรองกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการคัดกรองกลุ่มเสี่ยง โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้ ๑. ค่าตอบแทนวิทยากร ๓ คนๆละ ๒ ชั่วโมงๆละ ๖๐๐ บาท/วัน จำนวน ๒ วัน
เป็นเงิน ๓,๖๐๐ บาท ๒. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน ๑ มื้อๆละ ๕๐ บาท/คน จำนวน ๑๐๐ คน เป็นเงิน ๕,๐๐๐ บาท ๓. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม วันละ ๒ มื้อๆละ ๒๕ บาท/คน/วัน จำนวน ๑๐๐ คน
เป็นเงิน ๕,๐๐๐ บาท
๔.  ค่าวัสดุฝึกอบรม เป็นเงิน ๙,๙๕๐ บาท         -  สมุด  จำนวน  ๑๐๐ เล่มๆละ ๒๐  บาท  รวมเป็น  ๒,๐๐๐         -  ปากกา จำนวน  ๑๐๐ ด้ามๆละ ๗  บาท  รวมเป็น  ๗๐๐ บาท         -  ถุงผ้า จำนวน ๑๐๐ ใบๆละ ๕๐ บาท รวมเป็น ๕,๐๐๐ บาท         -  แถบตรวจน้ำตาลปลายนิ้ว ๑ กล่องๆละ ๑,๕๐๐ บาท รวมเป็นเงิน ๑,๕๐๐ บาท         -  เข็มเจาะน้ำตาล ๑ กล่องๆละ ๗๕๐ บาท รวมเป็นเงิน ๗๕๐ บาท ๕.  ค่าจ้างทำป้าย  จำนวน  ๑ ป้าย ดังนี้         -  ป้ายโครงการ  จำนวน ๑ ป้าย  เป็นเงิน  ๕๐๐  บาท  รวมเป็นเงิน  ๕๐๐ บาท          รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๒๔,๐๕๐-  บาท ( สองหมื่นสี่พันห้าสิบบาทถ้วน )

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๙.๑  ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง      ๙.๒ ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง  และภาวะแทรกซ้อนได้อย่างยั่งยืน        ๙.๓ เกิดเครือข่ายกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและภาวะแทรกซ้อน ของกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง
๒ ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและภาวะแทรกซ้อนได้อย่างยั่งยืน
๓ เกิดเครือข่ายกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและภาวะแทรกซ้อน ของกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ


>