กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเกาะนางคำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

หนูน้อยสุขภาพดี (ส่งเสริมโภชนาการสมวัย) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่าเนียน ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเกาะนางคำ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่าเนียน

ตำบลเกาะนางคำ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
เนื่องด้วยปัจจุบันศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่าเนียนได้รับเด็กตามเกณฑ์ตั้งแต่ อายุ 2 – 5 ปีประสบปัญหาเรื่องรูปร่างที่ไม่สมส่วน เนื่องจากทั้ง 3 คน คลอดก่อนกำหนดจึงมีปัญหาในน้ำหนักตัวและปัญหาการรับประทานอาหารค่อนข้างมากเด็กจะดื่มนมเป็นอาหารหลักจึงให้เกิดปัญหารูปร่างไม่สมส่วน หากปล่อยทิ้งไว้จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตประจำวันและการเรียนของเด็ก ดังนั้นโครงการพัฒนาระบบกลไกลเพื่อให้เด็กมีโภชนาการสมวัยและมีโภชนาการที่ดี ด้วยการกินอาหารถูกหลักโภชนาการครบ 5 หมู่ ลดขนมกรุบกรอบ อาหารถือเป็นสิ่งจำต่อคนเราและส่งผลไปถึงการพัฒนาสมองของเด็กในอนาคตต่อไป ทุกคนอยากมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย ต้องกินอาหารถูกต้อง เหมาะสมและพอเพียงจะทำให้สุขภาพร่างกายดีและนำไปสู่การมีคุณภาพดีในทางตรงกันข้ามหากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ไม่เพียงพอจะทำให้ขาดสารอาหาร หากกินมากเกินทำให้เป็นโรคอ้วน และเด็กในวัยนี้เป็นวัยที่มีความสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา สมองเจริญเติบโตรวดเร็ว จำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุด เพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน ปัญหาที่พบปอยในเด็กวัยนี้ เจริญเติบโตไม่สมวัย ขาดสารอาหาร ชาดสารไอโอดีน โลหิตจาง ขาดธาตุเหล็ก พฤติกรรมเลี้ยงดูไม่เหมาะสมเลี้ยงดูด้วยนมแม่น้อยลง
ภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน (2 – 5 ปี) พบว่าเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่าเนียนในช่วงปีที่ผ่านมาเด็กมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ 2 คน จากเด็ก 13 คน คิดเป็นร้อยละ 15.38 ในอนาคตมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่าเนียนได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียนเพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย เติมโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าและเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมโภชนาการสมวัยสำหรับเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่าเนียนขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเป็นการให้ความรู้ด้านโภชนาการแก่ครู ผู้ปกครอง และเด็ก

ผู้ปกครอง ครู และเด็กมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารหลัก 5  หมู่ อาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

0.00
2 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการภาวะโภชนาการสมวัยให้เด็กก่อนวัยเรียน

ผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้ความเข้าใจ ด้านโภชนาการสมวัยในเด็กก่อนวัยเรียน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 14
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 21
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 08/05/2023

กำหนดเสร็จ 29/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การอบรมให้ความรู้ เกี่ยวกับส่งเสริมโภชนาการสมวัยสำหรับเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่าเนียน

ชื่อกิจกรรม
การอบรมให้ความรู้ เกี่ยวกับส่งเสริมโภชนาการสมวัยสำหรับเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่าเนียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนวิทยากร  จำนวน 1 คน  2 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 35 คนๆละ 35 บาท จำนวน 1 มื้อ คิดเป็นเงิน  1,225 บาท
  • ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1 × 4 เมตรๆละ 150 บาท เป็นเงิน 600 บาท

รวม 3,025 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 พฤษภาคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3025.00

กิจกรรมที่ 2 สาธิตแยกอาหาร/จัดอาหารเปรียบเทียบที่ประโยชน์/ไม่มีประโยชน์กับเด็กปฐม

ชื่อกิจกรรม
สาธิตแยกอาหาร/จัดอาหารเปรียบเทียบที่ประโยชน์/ไม่มีประโยชน์กับเด็กปฐม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • อาหารสาธิต รวมเป็นเงิน 400 บาท (อาหารที่มีประโยชน์ เช่น นม  ผัก ผลไม้ต่างๆ) (อาหารที่ไม่มีประโยชน์ เช่น ขนมกรุบกรอบ  ลูกอม  น้ำอัดลม  เยลลี่) อุปกรณ์ที่ใช้ในการสาธิตและตลอดปีการศึกษา
  • ที่วัดส่วนสูงสำหรับเด็กปฐมวัย 1 อัน คิดเป็นเงิน 1,500 บาท
  • โปสเตอร์อาหารหลัก 5 หมู่ 4 แผ่นๆละ 45 บาท คิดเป็นเงิน 180 บาท
  • หนังสือนิทานเกี่ยวกับอาหารดีมีประโยชน์ 10 เล่มๆ  45 บาทคิดเป็นเงิน 450 บาท

รวม 2,530 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 พฤษภาคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2530.00

กิจกรรมที่ 3 ระบายสีภาพอาหารฝึกพัฒนาการสำหรับเด็กปฐม

ชื่อกิจกรรม
ระบายสีภาพอาหารฝึกพัฒนาการสำหรับเด็กปฐม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ภาพสำหรับระบายสี จำนวน 50 ภาพ ภาพละ 1 บาท เป็นเงิน 50 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 พฤษภาคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
50.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามการประเมินผลการดำเนินงานและรายงานผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามการประเมินผลการดำเนินงานและรายงานผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 พฤษภาคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 5,605.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กนักเรียนที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการได้รับการเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ
2.เด็กนักเรียนมีพัฒนาการทางด้านร่างกายและสมองเจริญเติมโตสมวัย
3.ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ ด้านโภชนาการในเด็ก อายุ 0-5 ปี


>