กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิตูมุดี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โดยการมีส่วนร่วมกับชุมชน "การสร้างเสริมสุขภาพหรือการป้องกันโรค"

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิตูมุดี

โรงเรียนตลาดนัดบาซาเอ

โรงเรียนตลาดนัดบาซาเอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ ระบุว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่าน มีขยะพลาสติกเกิดขึ้นประมาณ 12% ของปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมด หรือประมาณปีละ 2,000,000 ตัน มีการนำขยะพลาสติกกลับไปใช้ประโยชน์เฉลี่ยประมาณปีละครึ่งล้านตัน ส่วนที่เหลือ 1,500,000 ตัน ส่วนใหญ่เป็นเศษขยะถุง พลาสติกที่ปนเปื้อน อาทิ ถุงร้อน ถุงเย็นบรรจุอาหาร ถุงหูหิ้ว เป็นต้น ทำให้ปริมาณขยะพลาสติกเฉลี่ยสูงประมาณ 3,200,000 ตัน นอกจากนี้แต่ละปีมีปริมาณขยะพลาสติกกว่า 13 ล้านตันไหลลงสู่ทะเล ซึ่งประเทศไทยได้ถูกจัดให้อยู่ในลำดับที่ 6 ของประเทศที่มีขยะพลาสติกในทะเลมากที่สุดในโลก ส่งผลต่อระบบนิเวศทางทะเลและสัตว์ทะเล สอดคล้องกับทีมนักวิชาการของคณะสิ่งแวดล้อม ที่ชี้ว่าสถานการณ์ขยะในประเทศไทยระดับความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะ แนะนำให้ทุกคนใช้หลักความพอเพียง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคการบริหารจัดการขยะ และต้องจัดโซนนิ่งเพื่อการกำจัดขยะ แก้ปัญหาประชาชนต่อต้านการสร้างโรงงานแปรรูปขยะ ทีมนักวิชาการยังยอมรับว่าการณรงค์คัดแยกขยะในประเทศไทยไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เพราะไม่ได้ปลูกฝังมาตั้งแต่วัยเยาว์ ทำได้เพียงการกระตุ้นจิตสำนึกเท่านั้น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดงานวันคุ้มครองโลก 2561 หรือ Earth Day 2018 Thailand ภายใต้แนวคิด "คนรุ่นใหม่ลดขยะพลาสติก กู้วิกฤติโลกร้อน" เพื่อเชิญชวนประชาชนร่วมเป็นพลังในการขับเคลื่อนประเทศไทย เพื่อกู้วิกฤตขยะพลาสติก โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่จะเป็นพลังสำคัญในการช่วยลด และแก้ปัญหาขยะพลาสติก
อีกทั้ง สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ดำเนินโครงกาารโรงเรียนปลอดขยะ Zero Waste School ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี และเพื่อส่งเสริม สนับสนุนการสร้างเครือข่ายสถานศึกษาที่ดำเนินกิจกรรม ลด คัดแยก และนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ การรวบรวมขยะเพื่อส่งไปกำจัดอย่างถูกต้อง ปลูกจิตสำนึกการลด คัดแยก และนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ในสถานศึกษา สร้างระบบการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้เรียนในการจัดการขยะในสถานศึกษา ปลูกฝังลักษณะนิสัยรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมแก่ผู้เรียน เพื่อมุ่งสู่สถานศึกษาปลอดขยะอย่างแท้จริงและขยายผลต่อจนกลายเป็นสังคมรีไซเคิลต่อไป
ดังนั้นทางโรงเรียนตลาดนัดบาซาเอ ได้เล็งเห็นและสร้างความตระหนักในปัญหาขยะพลาสติกดังกล่าวจึงดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ Zero Waste School โดยการมีส่วนร่วมกับชุมชนขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นและส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อกระตุ้น รณรงค์สร้างจิตสำนึกและความรู้ความเข้าใจถึงแนวทางในการลดปริมาณขยะ การแยกขยะและการนำขยะไปใช้ประโยชน์ รวมทั้งการรวบรวมขยะเพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีให้กับสถานศึกษา
2. เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถานศึกษาได้มีโอกาสพัฒนาการเรียนการสอนการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดกิจกรรมโดยใช้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมของครูอาจารย์ ผู้เรียนและชุมชนโดยรอบสถานศึกษา

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ครูและบุคลากร 30
นักเรียน 370
ผู้ปกครองนักเรียน 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โดยการมีส่วนร่วมกับชุมชน "การสร้างเสริมสุขภาพหรือการป้องกันโรค"

ชื่อกิจกรรม
โครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โดยการมีส่วนร่วมกับชุมชน "การสร้างเสริมสุขภาพหรือการป้องกันโรค"
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ขั้นเตรียมการ 1.1โรงเรียนสำรวจสถานที่ภายในโณงเรียนเพื่อพัฒนาส่งเสริมการดำเนินงานโครงการโรงเรียนปลอดขยะ 1.2 ประชุมคณะครู เพื่อกำหนดแนวทาง 1.3นำเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 2.ขั้นดำเนินงาน 2.1แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการโรงเรียนปลอดขยะ 2.2 จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะให้กับผู้ปกครอง นักเรียน 2.3 ประชุมคณะกรรมการดำเนินโ๕รงการโรงเรียนปลอดขยะ เพื่อร่วมกันวางแผน และแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ 2.4 ทำหนังสือเชิญเจ้าหน้าที่จาก อบต.ปิตูมุดี ร่วมสังเกตการณ์ในการจัดอบรมให้ความรู้โครงการโรงเรียนปลอดขยะ 2.5 ดำเนินการตามแผนงานที่วางไว้ ประกอบด้วยกิจกรรม เช่น - กิจกรรมธนาคารขยะในโรงเรียน - กิจกรรมการประกวดสิ่งประดิษฐ์จากเศษวัสดุเหลือใช้ - กิจกรรมทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากเศษอาหาร - กิจกรรมการรณรงค์เก็บขยะในโรงเรียนและชุมชน - กิจกรรมส่งเสริมต่าง ๆ การประชาสัมพันณ์เสียงตามสาย - จัดแหล่งเรียนรู้/ห้องเรียนด้านการจัดการขยะมูลฝอย - กิจกรรม Big Cleaning Day ในโรงเรียน ศาสนสถาน และชุมชน - กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ - กิจกรรมประกวดครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะ 3.2 สรุปผลการดำเนินงานเป็นรูปเล่ม 3.3 รายงานผลการดำเนินการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ครู บุคลากร และนักเรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
2. โรงเรียนมีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี
3.สภาพแวดล้อมในโรงเรียนดีขึ้น ไม่มีมลพิษในสิ่งแวดล้อม


>