กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แค

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการโครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ กายจิตผ่องใส

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แค

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขบ้านพะเนียด ม.4 ต.แค

1.นางปรีดา หัสเอียด
2.นางซูจีนา หัสเอียด
3.นางฮาลิเม๊าะ เด็นสว่าง
4.นางมูรินา หวังเก็ม
5.นางสุนิสา พุทธพิม

หมู่ที่ 1-5 ตำบลแค

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวน(คน)ผู้บริโภคที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย

 

30.00
2 จำนวนของเกษตรกร(คน)ที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย

 

5.00

จากนโยบายเร่งด่วนของกระทรวงสาธารณสุขในการดำเนินงานเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ กายจิตผ่องใส ซึ่งเป็นรูปแบบการบูรณาการงานของ ๔ กรมวิชาการ ได้แก่ กรมควบคุมโรค กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และกรม สุขภาพจิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการจัดบริการดูแลสุขภาพเกษตรกรทั้งกายและจิตอย่างครบวงจร ชมรม อสม.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแค ได้มีการดำเนินงานดูแลสุขภาพเกษตรกร ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม จึงมีการเฝ้าระวังทางสุขภาพของเกษตรกร โดยการคัดกรองความเสี่ยงและตรวจหาสารพิษตกค้างในเลือดและดำเนินงานเฝ้าระวังโรคพิษจากสารกำจัดศัตรูพืช ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน
ชมรม อสม.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแค ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ กายจิตผ่องใสขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปัญหาเกษตรกรมีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย

จำนวนของเกษตรกรที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย(คน)

5.00 1.00
2 เพื่อแก้ไขปัญหาผู้บริโภคมีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย

จำนวนผู้บริโภคที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย(คน)

30.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ 70
อาสาสมัครอาชีวอนามัย 25

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงาน รายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้ ประชุมคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงาน ซึ่งมีค่าใช้จ่าย ดังนี้ 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 10  คน ๆละ 25 บาท เป็นเงิน 250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะทำงานสามารถดำเนินการตามโครงการได้อย่างถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
250.00

กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครอาชีวอนามัย (อส.อช.) การวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ (JSA) การทำระบบอาสาสมัครอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม

ชื่อกิจกรรม
การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครอาชีวอนามัย (อส.อช.) การวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ (JSA) การทำระบบอาสาสมัครอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครอาชีวอนามัย (อส.อช.) การวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ (JSA) การทำระบบอาสาสมัครอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม อบรมให้ความรู้แก่อาสาสมัครอาชีวอนามัย ในพื้นที่ให้มีความรู้ความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ของตนเอง พร้อมสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ในชุมชน
โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 25 คน ๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 1,250 บาท
2.ค่าอาหารกลางวัน  จำนวน 25 คนๆละ 1 ชุด ๆละ 50 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท
3.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชม. ชม.ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
4.ค่าวัสดุอุปกรณ์และเอกสารการประชุม เป็นเงิน 1,400 บาท
5.ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ เป็นเงิน 500 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 8,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อาสาสมัครอาชีวอนามัยมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8000.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเกษตรกร (วิเคราะห์ความเสี่ยงและตรวจเลือด)

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเกษตรกร (วิเคราะห์ความเสี่ยงและตรวจเลือด)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเกษตรกร (วิเคราะห์ความเสี่ยงและตรวจเลือด) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่เกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงในการประกอบอาชีพ และมีการวิเคราะห์หาสารเคมีตกค้างในเลือด ด้วยวิธีการเจาะเลือด
โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้
1.ค่าชุดตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือด เป็นเงิน 6,000 บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 70 คน ๆละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1,750 บาท
3.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชม. ชม.ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท รวมทั้งสิ้น 9,550 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถคัดกรองหาสารตกค้างในกลุ่มเป้าหมายได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9550.00

กิจกรรมที่ 4 อบรมเชิงปฏิบัติการ อบรมเชิงปฏิบัติการ การปรับสภาพแวดล้อมเพื่อลดอันตรายจาการประกอบอาชีพ

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ อบรมเชิงปฏิบัติการ การปรับสภาพแวดล้อมเพื่อลดอันตรายจาการประกอบอาชีพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมเชิงปฏิบัติการ อบรมเชิงปฏิบัติการ การปรับสภาพแวดล้อมเพื่อลดอันตรายจาการประกอบอาชีพ เกษตรกรได้รับการตรวจเลือดได้รับคำแนะนำการป้องกันสารเคมีเข้าสู่ร่างกายชื่อกิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการ การปรับสภาพแวดล้อมเพื่อลดอันตรายจาการประกอบอาชีพ เกษตรกรได้รับการตรวจเลือดได้รับคำแนะนำการป้องกันสารเคมีเข้าสู่ร่างกายและรักษาโดยสมุนไพร อบรมเชิงปฏิบัติการแก่กลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ เกี่ยวกับการป้องกันสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย และรักษาโดยสมุนไพร โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 70 คน ๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3,500 บาท
2.ค่าอาหารกลางวัน  จำนวน 70 คนๆละ ๑ ชุด ๆละ 50 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
3.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชม. ชม.ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
4.เอกสารประกอบการอบรม เป็นเงิน 1,800 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 12,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสารเคมีตกค้างในร่างกายและสามารถหลีกเลี่ยงและใช้สมุนไพรในการรักษาตัวได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12400.00

กิจกรรมที่ 5 อบรมเชิงปฏิบัติการ เจาะเลือดหาสารเคมีตกค้างครั้งที่ 2 พร้อมสรุปผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ เจาะเลือดหาสารเคมีตกค้างครั้งที่ 2 พร้อมสรุปผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมเชิงปฏิบัติการ เจาะเลือดหาสารเคมีตกค้างครั้งที่ 2 พร้อมสรุปผลโครงการ หลังจากการอบรมให้ความรู้และเจาะเลือดหาสารเคมีตกค้างครั้งที่ 1 แล้วให้กลุ่มเป้าหมายปรับเปลี่ยน ลดการใช้สารเคมีในการประกอบอาชีพ จึงจัดการเจาะเลือดเพื่อหาสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอีกครั้ง พร้อมสรุปผลการดำเนินโครงการ โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 70 คน ๆละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1,750 บาท
2.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชม. ชม.ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
3.ค่าเอกสารสรุปผลโครงการ เป็นเงิน 300 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 3,850 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีรายงานสรุปผลโครงการ จำนวน 1 เล่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3850.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 34,050.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพของตนเองและการป้องกันสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย
2.เกษตรกรได้รับการตรวจเลือดพบในรัชะดับเสี่ยงและระดับอันตรายได้รับคำแนะนำและการรักษาโดยสมุนไพร


>