กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตาเนาะปูเต๊ะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอาหารดีมีประโยชน์เพื่อสุขภาพดีของลูกน้อย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตาเนาะปูเต๊ะ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตาเนาะปูเต๊ะใน

นางสาวอาแอเสาะสิยะ

ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตาเนาะปูเต๊ะในตำบลตำเนาะปูเต๊ะอำเภอบันนังสตาจังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อาหาร มีความสำคัญต่อการพัฒนาเด็ก การรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์จะทำให้เด็กมีภาวะโภชนาการที่สมบูรณ์ซึ่งก่อให้เกิดภาวะสุขภาพที่ดีตามมาด้วยเด็กในช่วงอายุ 2-6 ปี เป็นวัยที่มีความสำคัญที่สุดวัยหนึ่งของชีวิต เพราะเป็นวัยที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาครบทุกด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา ไปพร้อม ๆกัน การให้เด็กได้รับอาหารที่เหมาะสม มีคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วนเพียงพอกับความต้องการของร่างกายเด็ก คือ อาหารต้องได้ครบ 5 หมู่ในปริมาณและคุณภาพที่เพียงพอเหมาะสมกับวัยทุกวัน โดยมีอาหารหลัก 5 หมู่ ที่หลากหลายและอาหารว่างไม่เกิน 2 มื้อ นม 2-3 แก้วต่อวัน หลักการเลือกรับประทานอาหารสำหรับลูกน้อยควรจัดอาหารให้เด็กบริโภคให้ครบทั้ง 3 มื้อ โดยเฉพาะมื้อเช้าเป็นมื้อที่สำคัญให้ครบถ้วนได้สัดส่วนเพียงพอกับความต้องการของร่างกายให้บริโภคอาหารให้ตรงเวลา ไม่ควรให้เด็กรับประทานขนมจุกจิก ผู้ปกครองควรให้ความสนใจกับสภาพจิตใจของเด็กเพราะมีผลกระทบถึงการกินอาหารและภาวะโภชนาการของเด็ก จึงเป็นการวางรากฐานชีวิตที่ดีสำหรับเด็กทั้งปัจจุบันและอนาคต และนิสัยในการบริโภคจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ของและสิ่งที่ต้องคำนึงและพิจารณาควบคู่ไปด้วย คือคุณค่าตามหลักโภชนาการ คุณภาพ ความสะอาดและปราศจากสารปนเปื้อน เพราะเด็กเล็กมีโอกาสเสี่ยงต่อการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาดจากผู้ประกอบอาหารหรือผู้ที่สัมผัสอาหาร ที่ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสุขาภิบาลอาหารไม่ปฏิบัติตนให้ถูกต้องในระหว่างการเตรียม ปรุง ประกอบอาหาร ซึ่งจะทำให้เกิดการปนเปื้อน เชื้อโรคลงสู่อาหาร ฉะนั้น การบริโภคอาหารเพื่อให้ได้อาหารที่สะอาด ปลอดภัย มีคุณค่าตามหลักโภชนาการและปราศจากสารปนเปื้อน จำเป็นต้องมีระบบการดูแล ควบคุม ตรวจสอบคุณค่า คุณภาพ ความปลอดภัยของอาหาร ของผู้ประกอบอาหารหรือผู้สัมผัสอาหารจากความสำคัญของอาหาร และพฤติกรรมการกินอาหารของเด็ก ส่งผลต่อภาวะโชนาการของเด็กนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตาเนาะปูเต๊ะใน ได้เล็งเห็นความสำคัญของโภชนาการในเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จึงได้จัดทำโครงการอาหารดีมีประโยชน์เพื่อสุขภาพหนูน้อย ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตาเนาะปูเต๊ะใน เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ประกอบอาหารและผู้ปกครอง ให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกและให้บริโภคอาหารที่ดีเหมาะสมกับวัยของเด็กตามวัยต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ ครูและผู้ปกครอง เห็นความสำคัญของอาหารที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็กมากขึ้น

 

0.00
2 เพื่อให้ ครูและผู้ปกครอง สามารถ จัดเมนูอาหารกลางวันที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

 

0.00
3 เพื่อให้ ครูและผู้ปกครอง ร่วมฝึกทำอาหารเมนู อาหารดีมีประโยชน์เพื่อสุขภาพหนูน้อย

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 46
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมและให้ความรู้เรื่อง โภชนาการอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย

ชื่อกิจกรรม
อบรมและให้ความรู้เรื่อง โภชนาการอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม 1 : อบรมและให้ความรู้เรื่อง โภชนาการอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย - ค่าอาหารกลางวัน แก่ผู้เข้าอบรม ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ดูแลเด็กและวิทยากรจำนวน 46 คน X 50 บาท 1 มื้อเป็นเงิน 2,300 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม แก่ผู้เข้าอบรม ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ดูแลเด็กและวิทยากร จำนวน 46 คนX 25 บาท 2 มื้อเป็นเงิน 2,300 บาท - ค่าวิทยากร 4 ชม. X 1 คน X 300 บาทเป็นเงิน 1,200 บาท - ค่าป้ายโครงการ 1.5 X 2.5 เมตร จำนวน 1 ผืนเป็นเงิน 1,000 บาท
- ค่ากระเป๋าใส่เอกสารในการอบรม จำนวน 46 ชุด ๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 1,840บาท - ค่าปากกาเขียน จำนวน 46 ชุด ๆ ละ 5 บาทเป็นเงิน230 บาท - ค่าคู่มือการอบรม จำนวน 46 ชุด ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 2,300บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ครู และผู้ปกครอง เห็นความสำคัญของอาหารที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็กมากขึ้น 2.ครูและผู้ปกครอง สามารถ จัดเมนูอาหารกลางวันที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย  ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้ 3.ครูและผู้ปกครอง สามารถทำอาหารเมนู อาหารดีมีประโยชน์เพื่อสุขภาพหนูน้อย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11235.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสาธิตการประกอบอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสาธิตการประกอบอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม 2 : กิจกรรมสาธิตการประกอบอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย - ค่าวัสดุในการสาธิตอาหารตาม เมนูอาหาร 1,735 บาท ดังนี้ 1. ขนมปังหน้าไก่ทอด - ขนมปัง 4ถุงๆละ50บาทเป็นเงิน200บาท - เนื้อไก่ 1 แพคๆละ 215 บาท เป็นเงิน215บาท - ไข่1 แผงๆละ140บาทเป็นเงิน 140บาท - น้ำมัน3ขวดๆละ70บาท เป็นเงิน 210บาท - แป้งทอดกรอบ2 ถุงๆละ40 บาทเป็นเงิน 80บาท
-ซีอิ้วขาว 1 ขวดๆละ20 บาท เป็นเงิน20บาท - ต้นหอม2 ขีดๆละ 10 บาทเป็นเงิน 20บาท - แครอท½ ก.กๆละ 35 บาท เป็นเงิน35บาท - น้ำตาลทราย 1 ก.กๆละ 20 บาท เป็นเงิน 20บาท - ซอสมะเขือเทศ 1 ถุงๆละ 40 บาท เป็นเงิน40 บาท - น้ำจิ้มไก่แม่ประนอม 1 ขวดๆละ 80 บาท เป็นเงิน 80บาท 2.ข้าวผัดไก่ - ข้าวสาร 1ถุงๆละ 180 บาท เป็นเงิน 180บาท - เนื้อไก่ 1แพคๆละ215บาทเป็นเงิน215 บาท - ผักๆ 100 บาทเป็นเงิน100บาท - กระเทียม 30 บาท เป็นเงิน30บาท - น้ำตาล 1กก.ๆละ25บาท เป็นเงิน 25บาท - เกลือ 1 ถุงๆละ10บาท เป็นเงิน 10บาท - มะเขือเทศ ½ ก.ก ละ 30บาท เป็นเงิน30 บาท - ข้าวโพค1 ถุงๆละ 50 บาท เป็นเงิน50 บาท - แครอท½ ก.กๆละ 35 บาท เป็นเงิน 35 บาท - ซอสมะเขือเทศ 1 ขวดๆละ 20 บาท เป็นเงิน20บาท - ซอสพริก 1 ขวดๆละ 20 บาทเป็นเงิน20บาท - ซีอิ้วดำ 1 ขวดๆละ 25 บาทเป็นเงิน25บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ครู และผู้ปกครอง เห็นความสำคัญของอาหารที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็กมากขึ้น 2.ครูและผู้ปกครอง สามารถ จัดเมนูอาหารกลางวันที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย  ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้ 3.ครูและผู้ปกครอง สามารถทำอาหารเมนู อาหารดีมีประโยชน์เพื่อสุขภาพหนูน้อย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1735.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,970.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ครู และผู้ปกครอง เห็นความสำคัญของอาหารที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็กมากขึ้น
2.ครูและผู้ปกครอง สามารถ จัดเมนูอาหารกลางวันที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้
3.ครูและผู้ปกครอง สามารถทำอาหารเมนู อาหารดีมีประโยชน์เพื่อสุขภาพหนูน้อย


>