กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วยการกระโดดเชือก เพื่อเด็กไทยโภชนาการสมส่วน

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านนา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วยการกระโดดเชือก เพื่อเด็กไทยโภชนาการสมส่วน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านนา

โรงพยาบาลศรีนครินทร์(ปัญญานันทภิกขุ)

โรงเรียนบ้านนาวง ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็ก 6-14 ปี ที่มีภาวะสูงดีสมส่วน

 

59.13

เด็กและเยาวชนถือเป็นกำลังหลักในการพัฒนาประเทศ จากรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไป เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น ส่งผลให้การมีกิจกรรมทางกายเพียงพอลดลง การกระโดดเชือกจึงเป็นทางเลือกหนึ่ง เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมและเพียงพอ คือ มีกิจกรรมทางกายระดับปานกลางถึงหนัก จนรู้สึกเหนื่อย อย่างน้อย 60 นาที ทุกวัน โดยสะสมต่อเนื่อง 10 นาทีขึ้นไป ช่วยลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง ป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีร่างกายแข็งแรง จิตใจเข้มแข็ง มีภูมิต้านทานในยุคใหม่อย่างสมดุล

ผลการสํารวจระดับกิจกรรมทางกายในประชากรไทย พบว่า เด็กและเยาวชน มีกิจกรรมทางกายเพียงพอต่ำกว่าค่าเป้าหมายที่ร้อยละ 16.1 มีพฤติกรรมเนือยนิ่งสูง ร่วมกับการบริโภคอาหารเกินความต้องการและนอนหลับไม่เพียงพอ ส่งผลให้ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน รวมถึงภาวะเตี้ยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้เด็กไทยกำลังเผชิญกับปัญหาด้านสุขภาพ ซึ่งเป็นประเด็นท้าทายที่ต้องแก้ไขอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

ปีการศึกษา 2566 ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลศรีนครินทร์(ปัญญานันทภิกขุ) นักเรียน อายุ 6 - 14 ปี มีภาวะโภชนาการสมส่วน ร้อยละ 59.13 กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลศรีนครินทร์ (ปัญญานันทภิกขุ) ให้ความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพเด็กและเยาวชนให้มีทักษะการดำเนินชีวิตตามช่วงวัย ทั้งทักษะการเรียนรู้ การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์และสังคม การสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย จึงนำการกระโดดเชือกเข้ามาส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายควบคู่กับการรับประทานอาหารและการนอนหลับที่เหมาะสมและเพียงพอ สร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีร่างกายแข็งแรง จิตใจเข้มแข็ง เก่ง ดี มีทักษะ มีความคิดดี ความรู้ดี ก้าวสู่การเป็นเยาวชนที่ดีมีคุณภาพ โดยในปีงบประมาณ 2567 โรงพยาบาลศรีนครินทร์(ปัญญานันทภิกขุ) ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วยการกระโดดเชือก เพื่อเด็กไทยโภชนาการสมส่วน โดยดำเนินการจัดกิจกรรมนำร่องในพื้นที่โรงเรียนบ้านนาวง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มภาวะสูงดีสมส่วนในเด็ก 6-14 ปี

ร้อยละของเด็ก 6-14 ปี ที่มีภาวะสูงดีสมส่วน

59.13 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2024

กำหนดเสร็จ 30/11/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ ๑ ชี้แจงโครงการแก่โรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ ๑ ชี้แจงโครงการแก่โรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมโครงการกับทางโรงเรียน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

โรงเรียนเข้าใจกระบวนการดำเนินโครงการและให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ประเมินภาวะโภชนาการนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
ประเมินภาวะโภชนาการนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 10 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีข้อมูลภาวะโภชนาการนักเรียนก่อนเข้าร่วมโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมเชิงปฏิบัติการการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับเด็กวัยเรียน

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับเด็กวัยเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร 3 ชั่วโมง x 600 บาท = 1,800 บาท
  • ค่าเชือกกระโดด 50 อัน x 200 บาท = 10,000 บาท
  • ค่าสมุดคู่มือจดบันทึกการออกกำลังกาย 20 บาท x 100 เล่ม = 2,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 35 บาท x 100 x 1 มื้อ = 3,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
19 มิถุนายน 2567 ถึง 19 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • นักเรียนมีทักษะการออกกำลังกายและมีทางเลือกในการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับเด็กวัยเรียน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17300.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมออกกำลังกายด้วยการกระโดดเชือก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมออกกำลังกายด้วยการกระโดดเชือก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ส่งเสริมให้นักเรียนออกกำลังกายด้วยการกระโดดเชือกทุกสัปดาห์

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 มิถุนายน 2567 ถึง 31 ตุลาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • นักเรียนมีการออกกำลังกายด้วยการกระโดดเชือก
  • นักเรียนมีภาวะโภชนาการดีขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 ติดตามประเมินผลสุขภาพนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผลสุขภาพนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประเมินภาวะสุขภาพ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง นักเรียนเปรียบเทียบผลก่อน-หลังเข้าร่วมโครงการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2567 ถึง 15 พฤศจิกายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีภาวะโภชนาการดีขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ร้อยละ 75 ของนักเรียนโรงเรียนบ้านนาวง มีภาวะโภชนาการสมส่วน


>